Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43441
Title: การติดตามผลการดำเนินงานโครงการแบ่งปันที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์: กรณีศึกษา โครงการพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร
Other Titles: MONITORING A LAND SHARING PROJECT OF THE CROWN PROPERTY BUREAU:A CASE STUDY OF THE PUBPLA PROJECT, WANGTHONGLANG DISTRICT,BANGKOK
Authors: ทิตยา พึ่งสุจริต
Advisors: กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
การพัฒนาที่ดิน -- ไทย -- กรุงเทพฯ
การพัฒนาที่อยู่อาศัย
Housing development
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มีที่ดินในความดูแลที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยจำนวนมาก โดยสำนักงานทรัพย์สินฯ มีการกำหนดโยบายในการพัฒนาพื้นที่คือ เพื่อสร้างที่อยู่อาศัย(ดูแลผู้เช่าเดิม) และเพื่อใช้ประโยชน์สูงสุดจากการพัฒนาที่ดิน การวิจัยครั้งนี้ เลือกศึกษาโครงการพลับพลา ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ชุมชนหมู่บ้านพลับพลา และชุมชนคลองพลับพลา ซึ่งโครงการนี้เป็นโครงการที่อยู่อาศัยแนวราบแห่งแรกที่นำแนวคิดการแบ่งปันที่ดิน (Land Sharing) มาใช้ในการพัฒนาพื้นที่ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการติดตามผลความเป็นมา นโยบาย การดำเนินงาน และผลการดำเนินงาน รวมทั้งวิเคราะห์ข้อดี ข้อเสียจากการดำเนินโครงการ เพื่อสรุปบทเรียนและนำไปเป็นแนวทางในการดำเนินโครงการในอนาคต วิธีการศึกษาประกอบด้วย การวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง การสำรวจภาคสนาม การสังเกต และการสัมภาษณ์ผู้อยู่อาศัยในชุมชนหมู่บ้านพลับพลา และชุมชนคลองพลับพลา จำนวน 32 ครัวเรือน และ49 ครัวเรือน ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่า เมื่อปี 2531 มีการสร้างทางด่วนยกระดับรามอินทรา-อาจณรงค์ ทำให้สำนักงานทรัพย์สินฯ มีแนวคิดเรื่องการพัฒนาศักยภาพพื้นที่บริเวณชุมชนพลับพลา จำนวน 288 ไร่ โดยการนำแนวคิดการแบ่งปันที่ดินมาใช้ ซึ่งหลังการพัฒนาสามารถแบ่งที่ดินเป็น 2 ส่วนหลัก คือ พื้นที่เพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัยให้ผู้เช่าเดิม (ร้อยละ 29) และพื้นที่เพื่อการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (ร้อยละ71) โดยเปิดโอกาสให้ทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามาพัฒนา สำหรับพื้นที่เพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัยให้ผู้เช่าเดิม ได้พัฒนาเป็นโครงการพลับพลา ซึ่งเดิมมีสภาพความเป็นอยู่แบบชาวชนบท อาศัยอยู่ร่วมกันแบบเครือญาติ สภาพบ้านเรือนเป็นอาคารไม้ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ทำสวน เมื่อมีการดำเนินงานโครงการแบ่งปันที่ดิน พ.ศ. 2533 แต่มีความขัดแย้งเกิดขึ้นในระหว่างดำเนินการ ดังนั้นในปี พ.ศ. 2536 สำนักงานทรัพย์สินฯ จึงได้นำ “แนวคิดการมีส่วนร่วม” มาใช้ร่วมกับกระบวนการแบ่งปันที่ดิน และสามารถดำเนินการพัฒนาที่อยู่อาศัยได้สำเร็จ ผลการดำเนินงานด้านผู้อยู่อาศัยในชุมชนหมู่บ้านพลับพลา และชุมชนคลองพลับพลา พบว่า ผู้อยู่อาศัยที่มีสิทธิเดิมสามารถอยู่อาศัยในพื้นที่โครงการพลับพลาได้ทั้งหมด รวมถึงมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งทางด้านกายภาพ เช่น ความพึงพอใจด้านความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและมั่นแข็งแรงมากขึ้น ทางด้านสังคม เช่น ระดับความสัมพันธ์ของผู้อยู่อาศัยยังคงมีความสัมพันธ์ที่ดี ทางด้านเศรษฐกิจ เช่น ผู้อยู่อาศัยมีรายได้เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามผู้อยู่อาศัยในชุมชนหมู่บ้านพลับพลา และชุมชนคลองพลับพลามีความพึงพอใจด้านกายภาพต่างกัน โดยผู้อยู่อาศัยในชุมชนคลองพลับพลา มีความพึงพอใจทางด้านกายภาพมากกว่าชุมชนหมู่บ้านพลับพลา เนื่องจากผู้อยู่อาศัยในชุมชนคลองพลับพลามีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาสิทธิ และการออกแบบอาคารพักอาศัย โดยปัจจัยที่ส่งผลให้การดำเนินงานได้รับความสำเร็จ คือ การมีส่วนร่วมระหว่างเจ้าของที่ดินและผู้อยู่อาศัยในชุมชนภายหลังเกิดความขัดแย้ง ส่วนปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการดำเนินงานได้แก่ การขาดประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่ของสำนักงานทรัพย์สินฯ ในเรื่องกระบวนการแบ่งปันที่ดิน ทำให้เกิดความขัดแย้งและปัญหาในการดำเนินงานช่วงต้น ผลการศึกษานำไปสู่ข้อเสนอแนะว่า เนื่องจากพบว่าปัจจัยสำคัญที่ทำให้โครงการมีผลการดำเนินงานเป็นที่พอใจของผู้อยู่อาศัยและประสบความสำเร็จคือ การมีส่วนร่วมจึงเสนอแนะว่า (1) การดำเนินงานโครงการแบ่งปันที่ดิน ควรใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตั้งแต่การเริ่มต้นโครงการ (2) ควรมีการวางแผนและติดตามผลการดำเนินงานเพื่อ ปรับปรุงกระบวนการอย่างเป็นระบบ (3) สำนักงานทรัพย์สินฯควรมีการบันทึกบทเรียนการดำเนินโครงการอย่างเป็นระบบเพื่อถ่ายทอดไปยังโครงการที่จะดำเนินการต่อไป
Other Abstract: Most of the land belonging to the Crown Property Bureau is designated for housing. The Bureau’s development plans are to build houses (for those who rent the land) and to gain maximum benefits from the plans. This study studied the Pubpla Project consisting of 2 studied areas: Pubpla village community and Klong Pubpla community. This project is the first residential area that incorporates the concept of land sharing into the development plans. This study aimed to monitor a land sharing project of the Crown Property Bureau including its rationale, operation and results and to analyze the advantages and the disadvantages of the project so that they could be used as guidelines for operating the future project. The methodologies were consisted of document review, interview with related officials, field survey, observation and interview with 32 households located in the former community and 49 households in the latter community. It was found that in 1988 the Ramintra-Atnarong Expressway was built; consequently, the Bureau mapped out plans to develop the Pubpla communities covering an area of 288 rai based on the concept of land sharing. With the introduction of the plans, the area could be divided into 2 main parts: one for the existing residents (29%) and one for real estate development (71%) that allows both the government and the private sectors to develop the land. The first part was developed into the Pubpla Project, which was originally underdeveloped. The residents treated one another as family members, living in a wooden house. Most of them were farmers or fruit growers. During the execution of the plan in 1990, the Bureau was faced with conflicts; as a result, the concept of participation was also included. After the implementation of those concepts, the residents in both communities could stay on their original land and their quality of life was better in every aspect. For example, in terms of the physical aspect, the communities were cleaner, more orderly and safer. As for the social aspect, the residents still maintained their family—like relationship. Regarding the economic aspect, they could earn more income. However, the residents’ level of satisfaction in both communities was different in that those in the Klong Pubpla community were more satisfied with the physical aspect than those in the Pubpla village community since the former took part in making decision and designing their houses. The key factor to this success was the participation of the Bureau and the residents. The main problem during the operation was that the Bureau officials lacked experience in land sharing. The project could be carried out due to participation. It is recommended, therefore, that (1) participation should be introduced at the beginning of the land sharing project, (2) a monitoring plan should be set up to adjust the project accordingly and (3) the Bureau should systematically record the operational steps so that they can be applied to the next project.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43441
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.905
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.905
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5573350525.pdf6.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.