Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43444
Title: | เหตุผลการฝากขายบ้านและรูปแบบบ้านใหม่ของผู้อยู่อาศัยบ้านเดี่ยว: กรณีศึกษาผู้ฝากขายบ้านมือสองผ่านบริษัท บี.ซี.พี. เฮ้าส์ซิ่ง จำกัด |
Other Titles: | REASONS FOR HOUSE CONSIGNMENT AND NEW TYPES OF RESIDENCE FOR EX-DETACHED HOUSE OWNER: CASE STUDY OF SECOND HAND HOUSES OF B.C.P. HOUSING CO., LTD. |
Authors: | เษกศิริ ยางเดิม |
Advisors: | ยุวดี ศิริ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | การย้ายที่อยู่อาศัย ที่อยู่อาศัย -- แง่สังคม Relocation (Housing) Dwellings -- Social aspects |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยแต่ละชนชาติมีความแตกต่างกัน เช่นในสังคมตะวันตกการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยจะเปลี่ยนไปตามลักษณะของครอบครัว โดยในช่วงชีวิตที่ครอบครัวมีขนาดเล็ก เช่น อยู่อาศัยตัวคนเดียวหรือสองคน รูปแบบที่อยู่อาศัยที่เลือกอาศัยจะเป็นรูปแบบหอพัก อพาร์ทเม้นต์ แต่เมื่อสมาชิกในครอบครัวมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นก็จะมีความต้องการที่อยู่อาศัยที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เช่น บ้านเดี่ยว ซึ่งแตกต่างกับการเปลี่ยนแปลงที่พบในสังคมตะวันออกเช่นในเมืองไทยที่จะเลือกอยู่อาศัยโดยติดทำเลและภูมิลำเนาเพราะลักษณะครอบครัวไทยที่เป็นครอบครัวขยายมีการพึ่งพาอาศัยกันในระบบเครือญาติ ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการศึกษาเบื้องต้นพบว่าในตลาดบ้านมือสองนั้น บ้านเดี่ยวเป็นสินค้าที่มีจำนวนฝากขายมากที่สุดสะท้อนให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยในสังคมไทย ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยของผู้อยู่อาศัยบ้านเดี่ยว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลุ่มผู้เป็นเจ้าของบ้านเดี่ยวที่มีระดับราคาตั้งแต่ 4 ล้านบาทขึ้นไปในโครงการของบริษัทแลนด์แอนเฮ้าส์และควอลิตี้เฮ้าส์ โดยจะศึกษาเหตุผลขายบ้าน ประเภทที่อยู่ใหม่ที่เลือก และเหตุผลที่ใช้ในการเลือกที่อยู่อาศัยแห่งใหม่ เพื่อหาแนวโน้มสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ผลการศึกษาพบว่าเหตุผลการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ที่พบมากที่สุดคือ ปัญหาด้านกายภาพที่อยู่อาศัยและปัญหาด้านการเดินทางที่ 52% โดยพบว่าผู้ที่ต้องการที่อยู่ใหญ่ขึ้นส่วนมากเป็นครอบครัวขยาย จึงย้ายไปอยู่บ้านเดี่ยวที่มีพื้นที่และบริเวณกว้างขึ้น ขณะที่กลุ่มที่ต้องการที่อยู่เล็กลงนั้นมีผู้อยู่อาศัยไม่เกิน 3 คน และมีข้อจำกัดด้านเศรษฐกิจทั้งจากการหย่าร้างและค่าใช้จ่ายบุตรที่เพิ่มขึ้นจึงย้ายไปอยู่ที่อยู่ขนาดเล็กลงทั้งบ้านเดี่ยว คอนโดมิเนียมและราคาถูกลงกว่าครึ่งของที่เคยอาศัยอยู่ ส่วนปัญหาการเดินทางนั้นมีผลมาจากการอยู่อาศัยชานเมืองที่ขณะนั้นการคมนาคมยังไม่สะดวกอีกทั้งการจราจรติดขัดมากขึ้นโดยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมากถึง50%ใช้เวลาในการเดินทางมากกว่า 1ชั่วโมง ซึ่งส่งผลกระทบต่อบุตรที่อยู่ในวัยเรียนจึงทำให้เกิดการย้ายที่อยู่เข้าไปทำเลใกล้เมืองมากขึ้นแต่จะย้ายไปทำเลที่ใกล้กัน พบน้อยที่ย้ายข้ามทำเล อีกทั้งยังคงเลือกที่จะอาศัยบ้านเดี่ยวเช่นเคย นอกจากนี้พบว่าที่อยู่อาศัยใหม่ที่คนกลุ่มนี้เลือกนั้นอยู่ในระดับราคาใกล้เคียงที่อยู่เดิมหรือราคาสูงขึ้น ซึ่งที่อยู่เดิมก็อยู่ที่ระดับราคาสูง (6-9.99ล้านบาทขึ้นไป) อยู่แล้ว ข้อค้นพบในการศึกษาครั้งนี้พบว่า การเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยของผู้อยู่อาศัยบ้านเดี่ยวช่วงนี้80%เป็นการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยของกลุ่มคนที่อยู่ในวัยทำงานที่บุตรยังเล็กและอยู่ไม่เกินมัธยม นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่าง 35%มีลักษณะการย้ายไปอยู่ใกล้กับบิดา มารดา ภูมิลำเนาเดิมของตนเอง และส่วนมากใช้ระยะทางไปมาหากันไม่เกิน 5 กิโลเมตร โดยส่วนมากยังคงเป็นครอบครัวเดี่ยวแต่ต้องการอยู่ใกล้กันเพื่อสะดวกในการไปมาหาสู่ ดูแลกันโดยเฉพาะการช่วยดูแลบุตร นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มผู้ต้องการที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่ขึ้นส่วนมากเป็นครอบครัวขยายที่มีผู้สูงอายุมาอยู่ด้วยซึ่งต้องการพื้นที่ใช้สอยบ้านมากกว่า 250 ตารางเมตรขึ้นไปและมีพื้นที่สำหรับต่อเติม ขณะเดียวกันผู้ที่ต้องการที่อยู่เล็กลงเป็นกลุ่มคนวัยไม่เกิน 40 ปีมีสมาชิกอยู่อาศัยไม่เกิน 3 คน ต้องการทั้งบ้านเดี่ยวขนาดเล็ก 150 – 200 ตารางเมตร ราคา 4 – 6 ล้านบาทหรือคอนโดมิเนียมที่ราคา 2 – 3 ล้านบาท เนื่องจากรายได้น้อยกว่า 150,000 บาทต่อเดือนและต้องรับภาระบุตรมากขึ้น |
Other Abstract: | Relocations and Housing in each country differ: for example in Western societies residence relocations vary according to characteristics of the family. Small size families living alone or just a couple live in apartments or condominiums. As the number of family members increase the demand for large sized accommodation as well as detached houses which is different from Eastern society. For example, Thais would rather to stay close to their hometown or their parents due to the reliance on the family system. Researcher basically studied the secondhand home market in Thailand and found that the detached house is the product that most sells out in the secondhand home market, therefore, the researcher takes an interest in the variation of detached-home relocation by focusing on a case study of and over 4 million baht detached house by the Land and House Public Company Limited. The objective is to ascertain the reason of moving house, the new residence trading and the reason behind selecting a new place of residence to further identify the tendencies and the subsequent change in society. Concerning the finding behind moving house, 52% were because of physical problems and transportation in response to demands to move into a bigger detached house for the wider space needed for an extended family. Families asking for smaller sized home for no more than three members typically related to economic limitations including divorce and the higher costs of children due to detached house and condominium cut half of the prices. Next, transportation problems caused by poverty and worse traffic jams meant 50% of the sample spent more than 1 hour commuting which effected children of studying age, and so their parents moved them closer to the city but still near the previous location. Less move far away. Still, detached home was the most popularly selected type. In addition, prices of the new residences chosen were close to previous homes or higher at around 6-9.99 million baht. According to the result, 80% of those relocating to detached houses were of age stage 3-4. which is the working age with a baby and not educated beyond high school. Besides, 35% of the sample moved closer to their parents or primary hometown. Most did not move over 5 km transport to the new residence, and single families demanded the most convenience sociality, especially, child care. Furthermore, it was found that some who preferred residences on larger areas, were mainly big size families with their elderly who required over 250 sqm. in area. For those wanting smaller sized residences, they were not over 40 years old with no more than three family members and sought detached homes of between 150-250 sqm. And priced between 4-6 million baht or a condominium priced between 2-3 million baht as their incomes were less than 150,000 baht and they had more responsibilities for their children. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43444 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.908 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.908 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5573354025.pdf | 10.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.