Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43461
Title: อัตราการสลายตัวของโปรตีนในผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต
Other Titles: PROTEIN CATABOLIC RATE IN PATIENTS WITH ACUTE KIDNEY INJURY REQUIRING RENAL SUPPORT
Authors: กิตติ์รวี กฤษฏิ์เมธาภาคย์
Advisors: ณัฐชัย ศรีสวัสดิ์
สมชาย เอี่ยมอ่อง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: ไตวายเฉียบพลัน
ไซโตไคน
ฮอร์โมน
Acute renal failure
Cytokines
Hormones
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา: ผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเฉียบพลันและได้รับการบำบัดทดแทนไตอย่างต่อเนื่องมีอัตราแคแทบอลิซึมที่สูง เนื่องจากมีการหลั่งสารไซโตไคน์และแคแทบอลิกฮอร์โมนต่างๆ ออกมาเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการให้สารอาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรตีนที่ไม่เพียงพออาจทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหาร ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มความเจ็บป่วย ระยะเวลาในการอยู่รักษาในโรงพยาบาล อัตราการเสียชีวิต รวมถึงอาจจะทำให้การฟื้นตัวของการทำงานของไตช้าลง พบว่าการศึกษาเรื่องความต้องการของโปรตีนในผู้ป่วยดังกล่าวยังมีอยู่จำกัด วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบสังเกตเชิงวิเคราะห์ไปข้างหน้าในผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเฉียบพลันซึ่งได้รับการบำบัดทดแทนไตอย่างต่อเนื่องในหอผู้ป่วยวิกฤติอายุรกรรมและศัลยกรรมของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 70 ราย ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ถึง พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 โดยวัดระดับยูเรียในเลือด น้ำยาฟอกเลือด และปัสสาวะเพื่อนำไปคำนวณหาอัตราการสลายตัวของโปรตีน รวมทั้งวัดระดับอัลบูมิน, C-reactive protein (CRP), copper, selenium และ zinc ในเลือด โดยเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่รอดชีวิตและเสียชีวิต ผลการศึกษา: ค่าเฉลี่ยของอัตราการสลายตัวของโปรตีนในผู้ร่วมวิจัยมีค่า 2.1 + 0.7 กรัม/กก./วัน อัตราการรอดชีวิตในวันที่ 28 หลังจากเริ่มได้รับการบำบัดทดแทนไต คิดเป็นร้อยละ 38.6 ผู้ป่วยร้อยละ 21.4 มีการฟื้นตัวของการทำงานของไต ผู้ป่วยที่รอดชีวิตได้รับโปรตีนโดยเฉลี่ยต่อวันปริมาณมากกว่า (0.8 + 0.2 vs. 0.5 + 0.3 กรัม/กก./วัน, p <0.001) และมีระดับซีรั่มอัลบูมินสูงกว่าผู้ป่วยที่เสียชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (3.2 + 0.5 กรัม/ดล. vs. 2.9 + 0.5 กรัม/ดล., p = 0.03) ผู้ป่วยที่มีการฟื้นตัวของการทำงานของไตมีระดับซีรั่มอัลบูมินสูงกว่าผู้ป่วยที่ไม่มีการฟื้นตัวของการทำงานของไตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (3.3 + 2.9 กรัม/ดล. vs. 2.9 + 0.4 กรัม/ดล., p = 0.01) แต่เมื่อใช้สถิติการวิเคราะห์พหุตัวแปรพบว่าปริมาณโปรตีนที่ผู้ป่วยได้รับเป็นปัจจัยทางด้านโภชนาการเพียงปัจจัยเดียวที่มีผลต่ออัตราการรอดชีวิต (p = 0.024; odds ratio, 395.78; 95% confidence interval, 2.20, 71278.13) โดยเมื่อพิจารณาร่วมกับซีรั่มอัลบูมิน, สมดุลของไนโตรเจน, nPCR และ C-Reactive Protein จะมีอำนาจในการทำนายโอกาสในการรอดชีวิตโดยมีค่าพื้นที่ใต้โค้ง ROC เท่ากับ 0.78 ในขณะที่การใช้ซีรั่มอัลบูมินร่วมกับตัวชี้วัดทางด้านโภชนาการอื่นๆ จะมีอำนาจในการทำนายโอกาสในการฟื้นตัวของการทำงานของไตโดยมีค่าพื้นที่ใต้โค้ง ROC เท่ากับ 0.77 สรุป: ผู้ป่วยวิกฤติที่มีภาวะไตวายเฉียบพลันและได้รับการบำบัดทดแทนไตอย่างต่อเนื่องมีอัตราแคแทบอลิซึมที่สูงมากซึ่งแสดงให้เห็นโดยอัตราการสลายตัวของโปรตีนในการศึกษานี้ที่สูงกว่าในอดีต ปริมาณโปรตีนที่ผู้ป่วยได้รับเป็นปัจจัยทางโภชนาการซึ่งช่วยทำนายโอกาสในการรอดชีวิตได้
Other Abstract: Background: Critically ill patients with acute kidney injury (AKI) requiring continuous renal replacement therapy (CRRT) are highly catabolic due to excessive release of pro-inflammatory cytokines and catabolic hormones. Conflicting data exists regarding protein needs of these patients. Inadequate nutritional support leads to malnutrition, increased mortality and, importantly, may delay the recovery of renal function. Methods: Prospective observational study in critically ill patients with AKI requiring CRRT in medical and surgical intensive care unit of King Chulalongkorn Memorial Hospital from November 2012 until November 2013. Urea nitrogen appearance rate, calculated from urea nitrogen mass removal from both the effluent and urine, using Garred mass balance equations, allowed normalized protein catabolic rate (nPCR) to be derived. We also identify nutritional factors associated with death and renal recovery. Results: Seventy patients with AKI requiring CRRT were included in the study. The mean nPCR is 2.1+0.7 gm/kg/day. Regarding AKI outcome, 28-day survival rate was 38.6% and 21.4% of patients presented renal function recovery. Mean protein intake per body weight and baseline serum albumin (0.8+0.2 vs. 0.5+0.3 gm/kg/day, p <0.001 and 3.2+0.5 vs. 2.9+0.5 gm/dL, p = 0.03) are significantly higher in survivor group. Multivariate analysis [after adjusting for clinical severity score (APACHEII and SOFA score), serum albumin and serum creatinine at initiation of CRRT] showed that protein intake per body weight still independently predicted survival (odds ratio 395.8, p = 0.024). The protein intake alone predicted patient survival from severe AKI with AUC of 0.69. A clinical model using protein intake, albumin, nitrogen balance, nPCR, and C-Reactive Protein predicted survival with AUC of 0.78. Regarding renal recovery, only serum albumin of renal recovery group was significantly higher than non-recovery group (3.3±0.5 vs. 2.9±0.5, p = 0.001). Serum albumin alone predicted renal recovery with AUC 0.73. A combining clinical model of nutritional markers for predicting renal recovery slightly increased AUC to 0.77. Serum albumin in the adjusted model for differences in clinical severity did not predict renal recovery. Conclusion: Critically ill patients requiring CRRT have very high catabolism according to the high nPCR. Protein intake is a good predictor of patient survival while serum albumin is a useful prognosticator for renal recovery.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43461
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.929
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.929
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5574106030.pdf3.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.