Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43478
Title: | การศึกษาความไวของการส่องกล้องคลื่นเสียงความถี่สูงร่วมกับการวัดความยืดหยุ่นด้วยวิธีวัดอัตราส่วนความแข็งที่ค่ามากกว่า 6.04 เพื่อวินิจฉัยแยกโรคผู้ป่วยที่ไม่ได้เป็นมะเร็งตับอ่อนออกไปในผู้ป่วยที่มาด้วยก้อนที่ตับอ่อน |
Other Titles: | THE STUDY OF THE SENSITIVITY OF ENDOSCOPIC ULTRASOUND ELASTOGRAPHY BY STRAIN RATIO METHOD AT ABOVE 6.04 FOR RULE OUT BENIGN PANCREATIC MASS IN PATIENTS WITH SOLID PANCREATIC MASS |
Authors: | นริศร ลักขณานุรักษ์ |
Advisors: | ประเดิมชัย คงคำ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | มะเร็ง การวินิจฉัยโรค การส่องกล้อง Cancer Diagnosis Endoscopy |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ความสำคัญและที่มาของปัญหางานวิจัย การทำ EUS-FNA มีค่าความไว(sensitivity) ในการวินิจฉัยมะเร็งตับอ่อนที่ร้อยละ 85 จะเห็นได้ว่ายังมีข้อบกพร่องในการเกิดผลลบลวง (false negative) ถึงร้อยละ 15 โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีภาวะตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง การทำ EUS elastography ถือเป็นหัตถการที่ปลอดภัย และมีการศึกษาก่อนหน้าพบว่ามีค่า sensitivity ดี อย่างไรก็ตามยังมีการศึกษาน้อยโดยเฉพาะการศึกษาแบบไปข้างหน้าในภูมิภาคเอเชีย วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาค่า sensitivity ของการทำ EUS elastography โดยวิธี strain ratio ตัดที่ค่ามากกว่า 6.04 เพื่อแยกก้อนที่ไม่ใช่มะเร็งในคนไข้ที่มาด้วยก้อนที่ตับอ่อน ระเบียบวิธีการวิจัย ผู้ป่วยที่มาด้วยก้อนที่ตับอ่อนจากการทำ CT หรือ MRI โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จะได้รับการทำ EUS elastography โดยแพทย์ผู้ส่องกล้อง คือ ผศ.นพ.ประเดิมชัย คงคำ ซึ่งไม่รู้อาการและผลทางรังสีวิทยาของผู้ป่วย EUS elastography จะวัดในรูปของ qualitative score และ strain ratio method ซึ่งผลที่ได้จะนำมาคำนวณค่า sensitivity, specificity, PPV, NPV และ accuracy เทียบกับ gold standard ผลการวิจัย ผู้ป่วยทั้งหมด 38 ราย ได้รับการคัดเลือกเข้าทำการศึกษา การวินิจฉัยก้อนมะเร็งทำได้โดยผลทางชิ้นเนื้อจากการผ่าตัดหรือการเจาะชิ้นเนื้อส่งด้วยวิธีต่างๆ (14 ราย) หรือในกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดได้จะได้รับการวินิจฉัยโดยผล cytology เป็น malignant หรือ suspicious และการตรวจติดตามทางรังสีวิทยามีการเพิ่มขึ้นของตัวโรค (12 ราย) และก้อนไม่ใช่มะเร็งได้รับการวินิจฉัยจากผลชิ้นเนื้อจากการผ่าตัดหรือการเจาะชิ้นเนื้อด้วยวิธีต่างๆ (6 ราย) หรือผล cytology เป็น benign ร่วมกับการตรวจติดตามทางรังสีวิทยาไม่พบการเพิ่มขึ้นของตัวโรคที่ 6 เดือน (6 ราย) ผลพบก้อนมะเร็ง 26 ราย โดยเป็น adenocarcinoma (23 ราย), malignant NET (2 ราย) และ metastasis (1 ราย) ส่วนก้อนไม่ใช่มะเร็ง 12 ราย เป็น benign NET (4 ราย), mass forming chronic pancreatitis (2 ราย), autoimmune pancreatitis (2 ราย) และก้อน benign อื่นๆ (3 ราย) ผลจากวิธี strain ratio ที่ค่ามากกว่า 6.04 พบว่ามีค่า sensitivity, specificity, PPV, NPV และ accuracy ร้อยละ 84.6, ร้อยละ 83.3, ร้อยละ 91.7, ร้อยละ 71.4 และร้อยละ 84.2 ตามลำดับ ส่วนค่า sensitivity, specificity, PPV, NPV และ accuracy โดยวิธี qualitative score พบว่ามีค่าเท่ากับร้อยละ 100, ร้อยละ 70, ร้อยละ 89.28, ร้อยละ 100 และร้อยละ 84.21 ตามลำดับ เมื่อใช้ผล EUS-FNA ในคนไข้ 28 รายร่วมกับผล strain ratio ที่ค่ามากกว่า 6.04 พบว่ามี sensitivity และ NPV 100% สรุป ค่า sensitivity ในการแยกก้อนที่ไม่ใช่มะเร็งในคนไข้ที่มาด้วยก้อนที่ตับอ่อนด้วยวิธี strain ratio ที่ค่ามากกว่า 6.04 มีค่าร้อยละ 84.6 ซึ่งไม่เหนือกว่า EUS-FNA แต่เมื่อใช้ผล EUS-FNA ร่วมด้วย พบว่ามีค่า sensitivity และ NPV 100% |
Other Abstract: | Background: Sensitivity of endoscopic ultrasound-guided fine needle aspiration (EUS-FNA) for solid pancreatic masses (SPMs) were approximately around 85%. This seems not enough for such aggressive disease like pancreatic cancer especially 15% false negative rate. EUS elastography is one of non-invasive tools used for distinguishing malignant and benign SPMs with high sensitivity. But only a few studies were prospective ones. Objective: To prospectively study sensitivity of EUS elastography by strain ratio (SR) method at above 6.04. Methods: Patients with SPMs diagnosed by either CT or MRI in King Chulalongkorn Memorial Hospital, Bangkok, Thailand were prospectively enrolled. EUS elastography was performed by the only endosonographer (P.K.) who was blinded to any relevant clinical information. Qualitative score and SR were determined. EUS-FNA was also performed in some patients. Diagnoses of SPMs obtained by elastography were compared with final diagnoses as a gold standard. Results: 38 patients (18M, 20F) were recruited. Final diagnoses of malignant SPMs were made by surgical or radiological guided-biopsy pathology (n=14), positive or suspicious cells from FNA with progressive imaging during follow-up time (n=12). Benign SPMs were diagnosed with surgical or guided-biopsy pathology (n=6) and benign cells from FNA with stable disease during follow-up time (n=6). Malignant SPMs in 26 patients included adenocarcinoma (n=23), malignant neuroendocrine tumor (NET) (n=2), and metastasis (n=1). 12 benign SPMs were benign NET (n=4), mass forming chronic pancreatitis (n=2), autoimmune pancreatitis (n=3), and benign lesions (n=3). Using SR at 6.04 as a cut-off value; sensitivity, specificity, PPV, NPV and accuracy rate were at 84.6%, 83.3%, 91.7%, 71.4%, and 84.2%, respectively. Sensitivity, specificity, PPV, NPV, and accuracy rate of EUS elastography determined by qualitative score method were 100%, 70%, 89.28%, 100%, and 84.21%, respectively. When combined EUS-FNA results in 28 patients with elastography by SR at above 6.04, sensitivity and NPV were 100%. Conclusions: In this prospective study, sensitivity of EUS elastography by SR at above 6.04 was not superior to EUS-FNA. But when combined with EUS-FNA results, the sensitivity and NPV for rule out benign mass were 100%. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อายุรศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43478 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.944 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.944 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5574134530.pdf | 2.36 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.