Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43618
Title: การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับนักศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี
Other Titles: THE DEVELOPMENT OF A CAUSAL MODEL OF LIFELONG LEARNING FOR STUDENTS IN DUAL VOCATIONAL TRAINING SYSTEMS
Authors: ณัฐวุฒิ ประทุมชาติ
Advisors: วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา
อังศินันท์ อินทรกำแหง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: หลักสูตร
การเรียนรู้แบบเปิด
การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
Education -- Curricula
Open learning
Inquiry-based learning
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยผสานวิธีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้านสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ ด้านคุณลักษณะผู้เรียนอาชีวศึกษา ด้านการจัดหลักสูตรการเรียนรู้ และด้านการประเมินการเรียนรู้ที่มีต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับนักศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี 2) เปรียบเทียบเส้นทางอิทธิพลระหว่างตัวแปรแฝงในรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามความคิดเห็นระหว่างกลุ่มที่แตกต่างกัน 3) ค้นหาสาเหตุสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับนักศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี พร้อมกำหนดแนวทางเชิงนโยบายการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับนักศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิแบบโควต้า ประกอบด้วย ครูในสถานประกอบการ ผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา และหัวหน้างานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี กลุ่มละ 250 คน รวมจำนวน 750 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลเชิงลึก จำนวน 12 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติลิสเรลและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1. รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้านสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ ด้านคุณลักษณะผู้เรียนอาชีวศึกษา ด้านการจัดหลักสูตรการเรียนรู้ และด้านการประเมินการเรียนรู้มีความสอดคล้องกับข้อมูลความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง สามารถอธิบายความแปรปรวนการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับนักศึกษาอาชีวศึกษาระบบ ทวิภาคีได้ร้อยละ 90 ด้วยค่าสถิติ Chi-square = 212.81, SRMR = .031, RMSEA = .047, GFI = .96, NFI = .99, CFI = .99, TLI = .99, AGFI = .93, PNFI = .62, Chi-square / 2 = 2.216 2. ผลการเปรียบเทียบเส้นทางอิทธิพลระหว่างตัวแปรแฝงในรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับนักศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี พบว่า 1) กลุ่มผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา พบว่าปัจจัยด้านการจัดหลักสูตรการเรียนรู้และปัจจัยการประเมินการเรียนรู้ มีอิทธิพลทางตรงต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2) กลุ่มหัวหน้างานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี พบว่า ปัจจัยด้านคุณลักษณะผู้เรียนอาชีวศึกษาและปัจจัยการประเมินการเรียนรู้ มีอิทธิพลทางตรงต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และ 3) กลุ่มครูในสถานประกอบการ พบว่า ปัจจัยการประเมินการเรียนรู้ มีอิทธิพลทางตรงต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต 3. ผลการค้นหาสาเหตุสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับนักศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี พบว่า สภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้และคุณลักษณะผู้เรียนอาชีวศึกษาเป็นปัจจัยสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้เรียน สำหรับการจัดหลักสูตรการเรียนรู้และการประเมินการเรียนรู้เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาผู้เรียนให้เรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต 4. แนวทางเชิงนโยบายการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับนักศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ประกอบด้วย 1) การพัฒนาสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ 2) การพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียนอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี 3) การพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี และ 4) การพัฒนาระบบประเมินการเรียนรู้
Other Abstract: This study was conducted with four objective : To development of a casual model of learning environment, learner characteristics, curriculum management and learning evaluation toward lifelong learning for dual vocational and training students; To compare the influences among latent variable of a casual model of lifelong learning for dual vocational and training students perceived by different groups and; To explore in-depth information concerning the lifelong learning of dual vocational and training students and provide the guideline for policy-related management of lifelong learning of dual vocational and training students. By applying, the quota random sampling, the sample group was made of a total number of 750 teachers, executive of vocational institutions and chief of dual vocational training or 250 members per group. The purposive sampling selected 12 people to provide in-depth information, with the use of LISREL and content analysis for data analysis. The study revealed that: 1. The pattern of casual model of learning environment, learner characteristics, curriculum management and learning evaluation agreed with the perception of the sample group, by showing the 90 percent variance of lifelong learning of dual vocational and training students (Chi-square = 212.81, SRMR = .031, RMSEA = .047, GFI = .96, NFI = .99, CFI = .99, TLI = .99, AGFI = .93, PNFI = .62, Chi-square / 2 = 2.216) 2. Findings from the comparison of influences among latent variable of a casual relationship model for vocational training students revealed factors directly influencing lifelong learning. In the group of executives of institutions, the curriculum management and evaluation posed such direct influence over lifelong learning. Learner characteristics and the evaluation directly influenced the same in the chief group, and so did the evaluation in the teacher group. 3. The results of the important cause related to the lifelong learning for dual vocational and training student found that learning environment and features as a vocational learning evaluation is an important factor in the development of the students to learn continuously throughout life. 4. Guidelines for lifelong learning policy management for dual vocational and training student consisted of 1) Environment development learning. 2) Characteristics development of dual vocational and training student. 3) Curriculum Development of dual vocational and 4) The development of the learning evaluation system.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การศึกษานอกระบบโรงเรียน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43618
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1086
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1086
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5184216627.pdf3.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.