Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43643
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อรัญญา ตุ้ยคำภีร์ | en_US |
dc.contributor.advisor | สุภาพรรณ โคตรจรัส | en_US |
dc.contributor.author | ตะวัน วาทกิจ | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-06-24T06:43:34Z | |
dc.date.available | 2015-06-24T06:43:34Z | |
dc.date.issued | 2556 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43643 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบมโนทัศน์ของความทุกข์และศึกษาประสบการณ์ความทุกข์ใจในบริบทพุทธธรรมของนิสิตนักศึกษาไทย 2) พัฒนาและตรวจสอบคุณสมบัติทางจิตมิติของมาตรวัดความทุกข์ 3) ศึกษาค่าเกณฑ์ปกติในระดับประเทศของมาตรวัดความทุกข์ในนิสิตนักศึกษา โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยผสานวิธี โดยมีรูปแบบการวิจัยสำรวจเป็นลำดับขั้นตอน การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการศึกษากรอบมโนทัศน์ของความทุกข์ในบริบททางพุทธธรรมด้วยการสังเคราะห์เอกสารและการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ในระยะนี้มีการศึกษาประสบการณ์ความทุกข์ใจในนิสิตนักศึกษา ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์รายบุคคลในนิสิตนักศึกษาในระดับปริญญาตรี จำนวน 21 คน การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการจัดกลุ่มข้อมูลด้วยโปรแกรม Atlas.ti ระยะที่ 2 เป็นการพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพมาตรวัดที่พัฒนาขึ้นจากนิสิตนักศึกษา จำนวน 1,049 คน และระยะที่ 3 เป็นการศึกษาค่าเกณฑ์ปกติในนิสิตนักศึกษาปริญญาตรีจากทั่วประเทศ จำนวน 1,817 คน ผลจากการศึกษาระยะที่ 1 พบว่า กิเลสและอกุศลเจตสิกเป็นสาเหตุของความทุกข์ใจ สำหรับผลการศึกษาประสบการณ์ความทุกข์ใจของนิสิตนักศึกษา พบ 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) ความทุกข์ใจที่นิสิตนักศึกษาประสบ (2) ภาวะใจเมื่อประสบกับความทุกข์ (3) มูลเหตุแห่งความทุกข์ใจ (4) สิ่งที่ทำให้ความทุกข์ใจคลี่คลาย ระยะที่2 มาตรวัดความทุกข์พัฒนาขึ้นจากข้อมูลที่ได้จากการศึกษาระยะที่ 1 โดยมาตรวัดนี้ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก คือ (1) ความทุกข์ใจจากความยึดมั่น (2) ความทุกข์ใจจากความทะยานอยาก และ (3) ความทุกข์ใจจากความขัดเคืองและความกังวลใจ ผลของการตรวจสอบและพัฒนามาตรวัดความทุกข์ในนิสิตนักศึกษาพบว่า มาตรวัดนี้มีความตรงตามเนื้อหาจากการตรวจสอบของผู้ทรงคุณวุฒิ 9 ท่าน โดยมีค่าความสอดคล้องตั้งแต่ .70 มีความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์กับความวิตกกังวลต่อสถานการณ์เฉพาะ (r = .62) ความวิตกกังวลของตนเองโดยทั่วไป (r = .57) แบบคัดกรองความซึมเศร้าในวัยรุ่น (r = .60) และแบบวัดภาวะอุเบกขา (r = -.68) มีความตรงเชิงภาวะสันนิษฐานจากกลุ่มรู้ชัด (t = 10.16, P < .001) และจากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่หนึ่งโดยพบว่าโมเดลการวัดมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square = 2.076 ; df = 1 ; p =.150 ; CFI = .988 ; GFI = .998 ; AGFI = .990 ; RMSEA = .036; Chi-square/df = 2.076) และมีค่าความเที่ยงจากสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคของมาตรวัดทั้งฉบับเท่ากับ .92 ระยะที่ 3 ผลจากการพัฒนาเกณฑ์ปกติ พบว่า คะแนนความทุกข์ในภาพรวม ของมาตรวัดความทุกข์ในนิสิตนักศึกษา มีคะแนนทีปกติอยู่ในช่วง T22 ถึง T82 โดย T50 ตรงกับคะแนนดิบที่ 165 คะแนน ผลสรุปจากการวิจัยครั้งนี้ทำให้ได้เครื่องมือที่สามารถใช้ในการคัดกรองและประเมินนิสิตนักศึกษา และเป็นการพัฒนาเครื่องมือวัดที่สอดคล้องกับสภาพสังคมและวัฒนธรรมไทยโดยตรง และมีการพัฒนาเกณฑ์ปกติในกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศทำให้สามารถนำไปใช้ศึกษาความทุกข์ของนิสิตนักศึกษาในวงกว้างต่อไป | en_US |
dc.description.abstractalternative | This research study aimed to (1) examine conceptual framework of Dukkha and psychological distress in the Buddhist Context among Thai undergraduate students, (2) develop and examine psychometric properties of the Dukkha Scale, and 3) study normative data of the Dukkha Scale among undergraduate students on the nationwide level. An exploratory sequential mixed methods research design was employed. There were three phases of the study. The first phase was to study conceptual framework of Dukkha in the Buddhist context by reviewing literature and having expert panel examine it. In this phase, qualitative study of psychological distress experience was conducted. Twenty-one university students were individually interviewed. Data analysis was conducted and categorized using Atlas.ti program. The second phase was to develop and validate Dukkha Scale using quantitative method among 1,049 undergraduate students. The third phase was to study the normative data among 1,817 undergraduate students nationwide. The findings from the first phase revealed that Kilesas and mental defilements were the root of Dukkha. There were four main themes of psychological distress experienced by undergraduate students; namely, (1) The Experience of Dukkha or Psychological Distress. (2) The State of Mind when Experiencing Dukkha (3) The Causes of Dukkha (4) Factors that Help to Relieve Dukkha. In the second phase, the Dukkha scale was achieved. The scale development was based on findings from the first phase. The scale consisted of three main Dukkha components; namely, (1) Dukkha from holding on, (2) Dukkha from greed, and (3) Dukkha from irritation and anxiety. The result of the examination on the development of the Dukkha Scale revealed a sound content validity with index of consistency (IOC) at .70 and above. The scale demonstrated its acceptable criterion validity: its correlation with STAI from Y-1 (State-Anxiety) (r=.62), STAI from Y-2 (Trait-Anxiety) (r=.57), CES-D (r=.60), and Equanimity scale (r= -.68). The scale construct validity was confirmed by the known groups technique (t = 10.16, P < .001) and the first order of confirmatory factor analysis revealed that the model fitted with the empirical data (Chi-square= 2.076; df = 1; p =.150; CFI = .988; GFI = .998; AGFI = .990; RMSEA = .036; Chi-square/df = 2.076) and overall Cronbach’s alpha coefficient was at .92. In the third phase, normative data of the scale was studied and achieved the Normalized T-score for overall Dukkha ranged between T22 to T82, of which T50 was equal to the raw score of 165 points. Findings from this study have brought about an instrument to be used for screening and assessing Dukkha in undergraduate students, as well as Thai society and culture. The national normative data of the scale has also enabled the use of the scale with undergraduate students nationwide. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1077 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ความทุกข์ | |
dc.subject | จิตวิทยา | |
dc.subject | Suffering | |
dc.subject | Psychology | |
dc.subject | ปริญญาดุษฎีบัณฑิต | |
dc.title | การพัฒนากรอบมโนทัศน์และมาตรวัดความทุกข์ในนิสิตนักศึกษา | en_US |
dc.title.alternative | DEVELOPMENT OF CONCEPTUAL FRAMEWORK AND SCALE OF DUKKHA IN UNIVERSITY STUDENTS | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.degree.discipline | จิตวิทยา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | [email protected] | en_US |
dc.email.advisor | [email protected] | |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2013.1077 | - |
Appears in Collections: | Psy - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5278451938.pdf | 15.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.