Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43653
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริเดช สุชีวะen_US
dc.contributor.advisorโชติกา ภาษีผลen_US
dc.contributor.authorสุกัญญา จันทวาลย์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:43:40Z
dc.date.available2015-06-24T06:43:40Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43653
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบวัดการตอบตามความปรารถนาของสังคมของนิสิต นักศึกษาไทย ตรวจสอบคุณภาพของแบบวัด และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพกับการตอบตามความปรารถนาของสังคมของนิสิตนักศึกษาไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ศึกษาอยู่ในสถาบันอุดมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,437 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for windows โปรแกรม LISREL โปรแกรม MULTILOG และโปรแกรม Microsoft Office Excel ผลการวิจัยพบว่า 1. แบบวัดการตอบตามความปรารถนาของสังคมของนิสิตนักศึกษาที่พัฒนาขึ้นมีจำนวน 40 ข้อ แบบมาตรประมาณค่า 7 ระดับ ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบย่อย คือ การหลอกลวงตนเอง จำนวน 20 ข้อ และการจัดการความประทับใจ จำนวน 20 ข้อ แบบวัดมีค่าอำนาจจำแนกโดยใช้สถิติ t-test โดยพิจารณาข้อที่มีค่า t แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 มีค่า t อยู่ระหว่าง 0.47 ถึง 14.70 ค่าอำนาจจำแนกจากการหาค่า corrected item-total correlation มีค่าอยู่ระหว่าง 0.20 ถึง 0.62 และค่าอำนาจจำแนกตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ มีค่าอยู่ระหว่าง 1.35 ถึง 3.01 2. ผลการวิเคราะห์คุณภาพของแบบวัดการตอบตามความปรารถนาของสังคม พบว่า มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.89 และแบบวัดมีความตรงเชิงโครงสร้างจากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง มีค่าไค-สแควร์เท่ากับ 2.899.30, df=644, p=0.71, GFI=0.91, AGFI=0.88 และ RMSEA=0.049 3. ผลการสร้างเกณฑ์ปกติในการแปลความหมายคะแนนโดยการแปลงเป็นคะแนนมาตรฐานทีเป็น 5 ระดับ พบว่า แบบวัดการตอบตามความปรารถนาของสังคมของนิสิตนักศึกษาไทย มีคะแนนทีปกติระหว่าง T16 – T84 4. ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพกับการตอบตามความปรารถนาของสังคมของนิสิตนักศึกษาไทย พบว่า บุคลิกภาพด้านความไม่มั่นคงทางอารมณ์ (r=.08) และบุคลิกภาพด้านการเปิดรับประสบการณ์(r=.09) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการตอบตามความปรารถนาของสังคมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 บุคลิกภาพด้านความเป็นมิตร (r=-.11) มีความสัมพันธ์ทางลบกับการตอบตามความปรารถนาของสังคมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ส่วนบุคลิกภาพด้านการเปิดตัว (r=.04) และบุคลิกภาพด้านการมีจิตสานึก (r=.03) ไม่มีความสัมพันธ์กับการตอบตามความปรารถนาของสังคม อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01en_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research were to develop the socially desirable responding scale of Thai undergraduate students, verify the quality of scale and analyze the relationships between personality and socially desirable responding of Thai undergraduate students. The sample were 1,437 undergraduate students who studying in higher education institution under the Office of the Higher Education Commission in Bangkok metropolis. Data were analyzed by the SPSS for windows, LISREL, MULTILOG and the Microsoft Office Excel.Findings were as follows : 1. The socially desirable responding scale of Thai undergraduate students consists of 40 items using 7-point ratings. The 20 items were on self-deception scale and 20 items were on impression management scale. The item discriminations of the scale by using t-test and considering all the different t values significant at .05 level, t values are between 0.47 to 14.70. The discriminations based corrected item-total correlation varied from 0.20 to 0.62. According to the item response theory, the discriminations ranged from 0.35 to 3.01.2. According to the results of the analysis of socially desirable responding scale’s quality, the Cronbach's alpha reliability was 0.89. The second order confirmatory factor analysis of SDR measurement model fit quite well with empirical data set (chi-square=2.899.30, df=644, p=0.71, GFI=0.91, AGFI=0.88 and RMSEA=0.049).3. The development of norms for score translation based on T-score conversion unveiled that the scale had T-score in the range of T16 – T84.4. The results of the analysis of relationships between personality and socially desirable responding of Thai undergraduate students found that neuroticism (r=.08) and openness to experience (r=.09) were positively and significantly related to socially desirable responding at p<.01. Extraversion (r=.04) and conscientiousness (r=.03) were not related to socially desirable responding at p<.01.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1116-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการประเมินผลทางการศึกษา
dc.subjectแบบสอบถาม
dc.subjectEducational evaluation
dc.subjectQuestionnaires
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิต
dc.titleการพัฒนาแบบวัดการตอบตามความปรารถนาของสังคมของนิสิตนักศึกษาไทยen_US
dc.title.alternativeDEVELOPMENT OF A SOCIALLY DESIRABLE RESPONDING SCALE OF THAI UNDERGRADUATE STUDENTSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineการวัดและประเมินผลการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor[email protected]en_US
dc.email.advisor[email protected]
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.1116-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5284259727.pdf10.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.