Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43795
Title: การศึกษานาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยของ นราพงษ์ จรัสศรี การแสดงชุด "CONTEMPORARY VISUALITY OF THAI PHILOSOPHY OF LIFE (ภาพลักษณ์ร่วมสมัยในปรัชญาของไทย)
Other Titles: THE STUDY OF NARAPHONG CHARASSRI'S CONTEMPORARY DANCE COMPOSITION : CONTEMPORARY VISUALITY OF THAI PHILOSOPHY OF LIFE
Authors: เอก อรุณพันธ์
Advisors: วิชชุตา วุธาทิตย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
Subjects: นาฏศิลป์ไทย
เอกลักษณ์ของชาติ
การรำ -- ไทย
Dramatic arts, Thai
Dance -- Thailand
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การศึกษานาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย การแสดงชุด “CONTEMPORARY VISUALITY OF THAI PHILOSOPHY OF LIFE” (ภาพลักษณ์ร่วมสมัยในปรัชญาของไทย) ของ ศ.ดร. นราพงษ์ จรัสศรี ด้วยวิธีการรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ และบุคคลที่เกี่ยวข้องในงานการแสดง เอกสารวิชาการ สูจิบัตร ฯลฯ และสรุปงานการวิเคราะห์เป็นลายลักษณ์อักษร การศึกษาวิเคราะห์งานการแสดงนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย “CONTEMPORARY VISUALITY OF THAI PHILOSOPHY OF LIFE” (ภาพลักษณ์ร่วมสมัยในปรัชญาของไทย) พบว่ากระบวนการท่าทางได้สื่อสารผ่านเรื่องราว ปรัชญา วิถีชีวิต สังคม ศาสนา วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี ในลักษณะของความเป็นไทย ซึ่งในอดีตผู้คนมีจิตใจ เอื้ออาทร ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แต่ขณะเดียวกันคนในสังคมก็มีการเอารัดเอาเปรียบ และแย่งชิงกัน แสดงออกถึงชีวิตที่สับสน และสุดท้ายผู้คนในสังคมก็ต่างหวนหาคืนวันเก่าๆ แสดงโดยการเต้นมีลีลานาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย โดยผู้แสดงจะถือดอกบัวที่เป็นสัญลักษณ์ในพุทธปรัชญาอัน หมายถึง ความดีงาม ความสงบสุข ความบริสุทธิ์ และศาสนาที่ผู้คนละทิ้งและเก็บรักษา เสมือนกิเลสตัณหา ที่เห็นเป็นสมบัติพากันแย่งชิง นอกจากนี้พบว่าการแสดงชุดนี้เป็นตัวอย่างของศิลปะการแสดงร่วมสมัยที่ทรงคุณค่าของสังคมไทยที่แสดงเอกลักษณ์ของชาติออกสู่สายตาของนานาชาติ การวิจัยครั้งนี้ยังพบว่า การสร้างสรรค์งานในบางอย่าง มีคุณค่าตามหลักปรัชญาสุนทรียศาสตร์เรื่องรูปแบบสุนทรียะ อย่างไรก็ตามการแสดงชุดนี้มีคุณค่าทางนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยตามหลักวิชาการ คือ เป็นศิลปะที่พัฒนาสร้างสรรค์ขึ้นใหม่อันมีวัฒนธรรมเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างสรรค์ กล่าวคือการแสดงชุดนี้ใช้รูปแบบการแสดงที่มีลีลาท่าทางของตะวันตกและลีลาท่าทางด้านนาฏยศิลป์ไทย
Other Abstract: This thesis aims at the analytic studies a work of contemporary Thai dance “CONTEMPORARY VISUALITY OF THAI PHILOSOPHY OF LIFE” composed by Prof.Dr. Naraphong Charassri. The research is conducted by gathering data by interviewing experts and people associated in the dance work, academic literature, leaflet etc.. The analytic study is concluded in writing as a paper work. The study has found that the dance gestures have communicated Thai characteristics of philosophy, ways of life, society, Buddhism, culture and traditions. The dance has portrayed that in the past Thai people were kind and generous by always helping each other, while at present people are selfish by taking advantage of other people. In this part, the dance portrays confusing lives of people while they are nostalgic for the past by presenting contemporary Thai dance gestures. Lotuses held by the dancers symbolizes goodness, peacefulness and purity in Buddhist philosophy. Abandoning the lotuses is creed while people are forgetting the religion. In addition, this dance work is an example of valuable contemporary Thai dance compositions for the international audiences. The study has also found that some work elements possess aesthetic forms, although the work has contemporary Thai dance art values as it developed new creativity based on Thai culture since the work has included Western and Thai performing gestures in its dance composition.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นาฏยศิลป์ไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43795
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1263
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1263
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5386619435.pdf5.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.