Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43852
Title: การเปรียบเทียบปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคนิ่วไตระหว่างบุตรของผู้ป่วยโรคนิ่วไต บุตรของคนปกติ และบิดามารดา
Other Titles: COMPARISON OF KIDNEY STONE RISK FACTORS AMONG DESCENDANTS OF STONE FORMERS, DESCENDANTS OF NON-STONE FORMERS AND THEIR PARENTS
Authors: จักรพันธ์ รัตนพันธุ์
Advisors: ฐสิณัส ดิษยบุตร
ชาญชัย บุญหล้า
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: นิ่วไต
การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
Kidneys -- Calculi
Genetic transformation
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โรคนิ่วไต เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญพบได้บ่อยในผู้ใหญ่ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย และมีอุบัติการณ์เพิ่มสูงขึ้นในประเทศไทย แม้จะเป็นที่ทราบเป็นอย่างดีว่าญาติใกล้ชิดของผู้ป่วยโรคนิ่วไตมีความเสี่ยงทางเมแทบอลิกที่สำคัญของการเกิดนิ่วสูงกว่าประชากรปกติ แต่ยังไม่มีหลักฐานชี้ให้เห็นความผิดปกติทางชีวเคมีที่พบในญาติของผู้ป่วย ดังนั้นการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพิสูจน์ปัจจัยเสี่ยงทางเมแทบอลิกในปัสสาวะของลูกผู้ป่วยโรคนิ่วไต ผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งสิ้น 148 ราย แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 ผู้ป่วยโรคนิ่วไต จำนวน 28 ราย กลุ่มที่ 2 บุตรของผู้ป่วยโรคนิ่วไต จำนวน 46 ราย กลุ่มที่ 3 ประชากรปกติ จำนวน 40 ราย และบุตรของประชากรปกติ จำนวน 34 ราย โดยเก็บข้อมูลพื้นฐานทั่วไป และเก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมง เพื่อวัดปริมาณของปัสสาวะ ค่าความเป็นกรด-ด่าง และวัดสารอิเล็กโทรไลท์ต่างๆ ในปัสสาวะ ได้แก่โปรตีน แคลเซียม ออกซาเลต ซิเตรท แมกนีเซียม โซเดียม โพแทสเซียม และไกลโคสะมิโนกลัยแคนที่มีซัลเฟตเป็นองค์ประกอบ รวมถึงการศึกษาภาวะเครียดจากออกซิเดชั่น (Oxidative stress) จากการวัดระดับ protein carbonyl ในพลาสมา และระดับสารต้านอนุมูลอิสระโดยรวม (TAS) ในปัสสาวะ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยโรคนิ่วไตมีระดับโปรตีนในปัสสาวะ (436.56 และ 34.52 มก.ต่อวัน, p<0.001) และปริมาณออกซาเลตในปัสสาวะ (46.13 และ 12.59 มก.ต่อวัน, p<0.001) สูงกว่าประชากรปกติ ขณะที่ปริมาณซิเทรตในปัสสาวะ (74.35 และ 178.68 มก.ต่อวัน, p=0.002) และไกลโคสะมิโนกลัยแคน (6.27 และ 46.17 มก.ต่อวัน, p<0.001) ต่ำกว่าประชากรปกติ เช่นเดียวกับบุตรของผู้ป่วยโรคนิ่วไตมีระดับโปรตีนในปัสสาวะ (65.97 และ 25.87 มก.ต่อวัน, p<0.001) สูงกว่าบุตรของประชากรปกติ ขณะที่ปริมาณซิเทรตในปัสสาวะ (112.08 และ 194.17 มก.ต่อวัน, p=0.003) และไกลโคสะมิโนกลัยแคน (24.35 และ 43.77 มก.ต่อวัน, p<0.001) ต่ำกว่าบุตรของประชากรปกติ อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบระหว่างผู้ป่วยโรคนิ่วไตและบุตร พบว่า บุตรของผู้ป่วยโรคนิ่วไตมีระดับโปรตีนในปัสสาวะ (65.97 และ 436.56 มก.ต่อวัน, p<0.001), ระดับแคลเซียมในปัสสาวะ (59.15 และ 119.87 มก.ต่อวัน, p<0.001) และระดับออกซาเลตในปัสสาวะ (14.70 และ 46.13 มก.ต่อวัน, p<0.001) ต่ำกว่าผู้ป่วยโรคนิ่วไต แต่มีระดับซิเทรตในปัสสาวะ (112.08 และ 74.35 มก.ต่อวัน, p=0.023) และไกลโคสะมิโนกลัยแคน (24.35 และ 6.27 มก.ต่อวัน, p<0.001) สูงกว่า ในส่วนของความเครียดทางออกซิเดชัน พบว่า บุตรของผู้ป่วยมีระดับพลาสมา protein carbonyl (0.039 และ0.065 nmol/mg-Protein, p = 0.006) ต่ำกว่าผู้ป่วย ส่วนปัจจัยอื่นๆ รวมไปถึง urinary TAS ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ การศึกษานี้สรุปได้ว่า บุตรของผู้ป่วยโรคนิ่วไตมีความผิดปกติทางเมแทบอลิกในปัสสาวะที่เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคนิ่วไตสูงกว่าเด็กปกติที่มีเพศและอายุใกล้เคียงกัน แม้ความผิดปกตินั้นจะมีความรุนแรงน้อยกว่าผู้ป่วยที่เป็นบิดาหรือมารดาก็ตาม ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการเฝ้าระวังการเกิดโรคนิ่วไตในทายาทของผู้ป่วย อีกทั้งเป็นแนวทางในการศึกษาว่าความผิดปกติเหล่านี้เป็นผลทางพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม หรือทั้งสองประการร่วมกัน
Other Abstract: Kidney stone disease (KSD) is a common urologic disease in adults worldwide. Although it is well-recognized that the relatives of KSD patients have higher risks of lithogenesis than general population, there was no clear evidence indicated the abnormalities in the relatives. This study aimed to verify the urinary lithogenic risk factors in KSD first-degree descendants. One-hundred and forty-eight participants, including KSD patients (n=28), KSD descendants (n=46), healthy adults (n=40) and their descendants (n=34) were enrolled. Baseline data and 24-hours urine were measured for volume, pH, protein, calcium, oxalate, citrate, magnesium, potassium, sodium, sulfated glycosaminoglycans (sGAGs), and oxidative stress level; including plasma protein carbonyl and urinary total antioxidant status (TAS). KSD patients had higher urinary protein (436.56 vs. 34.52 mg/day, p<0.001) and oxalate (46.13 vs. 12.59 mg/day, p<0.001) compared to healthy adults, while urinary citrate (74.35 vs. 178.68 mg/day, p=0.002) and sGAGs (6.27 vs. 46.17 mg/day, p<0.001) were lowered. Similarly, KSD descendants had higher urinary protein (65.97 vs. 25.87 mg/day, p<0.001) compared to healthy descendants, while urinary citrate (112.08 vs. 194.17 mg/day, p=0.003) and sGAGs (24.35 vs. 43.77 mg/day, p<0.001) were lowered. However, comparing to their own parents, KSD descendants had lower urinary protein (65.97 vs. 436.56 mg/day, p<0.001), calcium (59.15 vs. 119.87 mg/day, p<0.001) and oxalate (14.70 vs. 46.13 mg/day, p<0.001), but higher urinary citrate (112.08 vs. 74.35 mg/day, p=0.023) and sGAGs (24.35 vs. 6.27 mg/day, p<0.001). In the aspect of oxidative stress, KSD descendants had lower plasma protein carbonyl than their parents (0.039 and 0.065 nmol/mg-Protein, p = 0.006). Other factors including urinary TAS were not different. Our results could imply that KSD descendants had higher lithogenic abnormalities than general population, but the lower in severity than their own parents. We suggest that the surveillance of the urinary risks for stone formation in KSD close-relatives should be done, and elucidate the nature of these anomalies to manage and provide the proper prophylaxis.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ชีวเคมีทางการแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43852
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1309
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1309
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5474180230.pdf4.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.