Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44318
Title: | วิเคราะห์พระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟแลทางหลวง พระพุทธศักราช 2464 เพื่อการปรับปรุง |
Other Titles: | Analyze rail and hightway management act b.e.2464 for improvement |
Authors: | มิ่งขวัญ สิทธิมณฑล |
Advisors: | ชยันติ ไกรกาญจน์ จุฬา สุขมานพ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | การรถไฟ การขนส่ง -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ Railroads Transportation -- Law and legislation |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาพระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟแลทางหลวง พระพุทธศักราช 2464 มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบพระราชบัญญัติดังกล่าวกับกฎหมายการขนส่งในรูปแบบอื่น และกฎหมายต่างประเทศเช่น ประเทศสหราชอาณาจักร ประเทศแคนาดา และประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงพระราชบัญญัติดังกล่าวให้ทันสมัยและสอดคล้องกับกฎหมายการขนส่งในรูปแบบอื่นในปัจจุบัน และกฎหมายต่างประเทศ จากการศึกษาพบว่าการใช้ถ้อยคำในพระราชบัญญัติดังกล่าวมีความไม่สอดคล้องกับสภาพสังคมในปัจจุบัน เช่น คำว่า “เหตุพลาติศัย” และ ในส่วนที่ 1 ว่าด้วยการจัดวางการทั่วไป และส่วนที่ 2 ว่าด้วยการจัดหาอสังหาริมทรัพย์ ของพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่อาจใช้บังคับต่อไปได้ เนื่องจากมีเนื้อหาขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 มาตรา 16 วรรคแรก และในส่วนที่ 4 ว่าด้วยการบรรทุกส่ง ซึ่งมีการกำหนดในเรื่องอายุความ โดยกำหนดให้อายุความสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดสองวันซึ่งอายุความที่กำหนดไว้ดังกล่าวสั้นเกินไปจนผู้เสียหายไม่อาจตั้งหลักฐานเรียกร้องของตนได้ทันตามอายุความที่กำหนดไว้ และในส่วนที่ 5 ว่าด้วยความปราศภัย ซึ่งกำหนดในเรื่องมาตรการรักษาความปลอดภัยในกิจการรถไฟ และมีการกำหนดโทษ ตามกฎหมายลักษณะอาญา ซึ่งปัจจุบันกฎหมายฉบับดังกล่าวได้ถูกยกเลิก ทำให้โทษที่มีการกำหนดไว้ไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันแต่อย่างใด และในภาคที่ 2 ว่าด้วยรถไฟราษฎร์ ได้กำหนดในเรื่องการอนุญาตหรือการให้สัมปทานกิจการรถไฟ ซึ่งการให้อนุญาตดังกล่าวนี้เป็นไปตามระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราช ซึ่งไม่อาจนำมาปรับใช้กับกิจการรถไฟของไทยได้ในปัจจุบัน ดังนั้นควรมีการยกเลิกพระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟแลทางหลวง พระพุทธศักราช 2464 เสียทั้งฉบับ เพื่อให้มีการชำระบทบัญญัติในพระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟแลทางหลวงพระพุทธศักราช 2464 เสียใหม่ทั้งฉบับ ดังนั้นบทบัญญัติที่ตราขึ้นใหม่ก็จะมีความสอดคล้องกับการพัฒนากิจการรถไฟในปัจจุบันและทำให้เนื้อหาบทบัญญัติของพระราชบัญญัติดังกล่าวมีความสอดคล้องและเกี่ยวเนื่องกันทั้งฉบับ |
Other Abstract: | This research on Rail and Highway Management Act, B.E. 2464 aims to compare the aforementioned legislation with other transportation laws and transportation laws of other jurisdictions, for instances, United Kingdom of Great Britain, Canada, and Vietnam as a method to improve the Rail and Highway Management Act, B.E. 2464 to the extent that the legislation is up to date and in compliance with other current transportation laws and transportation laws of other jurisdictions. The results of the research indicate that: (i) some terms in the aforesaid legislation are not in conformity with present state of society, for examples, the term “Hate-Pa-La-Ti-Sai (เหตุพลาติศัย)” in the Part 1, General Management; (ii) Part 2, Provision of Immovable Property, of the abovementioned legislation is not enforceable as they are contradictory to the provisions set forth in the first paragraph of Section 16 of the State Railway of Thailand, B.E. 2494; (iii) Part 4, Transportation, stipulated the prescription for claiming damages by the injured person at the period of 2 days, the period of which is not sufficient for the injured person to gather evidences for supporting their claims; (iv) Part 5, Public Safety, provided the security measures for the rail business together with penal sanctions, nevertheless, the previously mentioned legislation is abrogated which caused the sanction set forth thereof becomes inappropriate to the current state of economy and society; and (v) Chapter 2, Private Railway, set forth the provisions for approval or granting of concession with respect to rail business which must be in compliance with the absolute monarchy regime which cannot be applied to the current rail business in Thailand. Consequently, the Rail and Highway Management Act, B.E. 2464 should be wholly abrogated and revised by clearly and expressly stipulated provisions with respect to authorization for monitoring and management of the rail business together with other provisions by taking relevance and conformity of all provisions thereof into account. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44318 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.564 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2012.564 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Mingkwan_si.pdf | 2.52 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.