Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44492
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิไล อโนมะศิริen_US
dc.contributor.authorศาศวัต สุนทรกิติen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-08-21T09:29:19Z-
dc.date.available2015-08-21T09:29:19Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44492-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้สารละลายโซเดียมซิเตรตต่อระดับแลคเตทและภาวะต้านอนุมูลอิสระในเลือดภายหลังจากการออกกำลังกายอย่างหนักจนหมดแรงโดยเปรียบเทียบกับสารควบคุม (สารละลายโซเดียมคลอไรด์) เป็นการศึกษาวิจัยเชิงทดลองแบบไขว้ โดยทำการศึกษาในอาสาสมัครเพศชายอายุ 18-30 ปี จำนวน 24 คน เปรียบเทียบระหว่างการดื่มสารละลายโซเดียมซิเตรต (จำนวน 0.5 กรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัว) และสารควบคุม (สารละลายโซเดียมคลอไรด์ จำนวน 0.045 กรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัว) ก่อนออกกำลังจนหมดแรงโดยทำการทดสอบด้วยการวิ่งบนลู่วิ่งตาม Bruce treadmill protocol และทำการวัดค่าพารามิเตอร์ในเลือด คือ ระดับแลคเตทในเลือด ระดับภาวะสารต้านอนุมูลอิสระ Frap และ Total plasma thiol ในเลือดที่เวลาก่อนดื่ม หลังดื่มสองชั่วโมง หลังการทดสอบ 5, 10, และ 30 นาที ผลการวิจัยพบว่า ระดับแลคเตทในเลือดมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ หลังการออกกำลังอย่างหนักจนหมดแรง และระหว่างทั้งสองกลุ่มการทดสอบ ที่จุดเวลาหลังการทดสอบนาทีที่ 5 และนาทีที่10 (p<0.05) ระดับภาวะต้านอนุมูลอิสระในเลือด (Frap และ Total plasma thiol) เมื่อเปรียบเทียบกันที่ทุกช่วงเวลา พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อวิเคราะห์เวลาที่สามารถออกกำลังกายได้จนหมดแรง (Time to exhaustion) พบว่า การทดสอบครั้งที่ได้รับสารทดลอง (สารละลายโซเดียมซิเตรท) มีแนวโน้มทำการทดสอบได้ยาวนานขึ้น คือ ทำเวลาได้นานขึ้น 6.70 &plusmn; 7.61 วินาที อย่างไรก็ตาม การประเมินค่า Vetilatory threshold พบว่ากลุ่มที่ได้รับสารละลายโซเดียมซิเตรตมีช่วงเวลาก่อนการเกิด Ventilatory threshold มากกว่ากลุ่มที่ได้รับสารละลายโซเดียมคลอไรด์ โดยมีค่านัยสำคัญทางสถิติที่ p=0.049 การศึกษานี้ไแสดงให้เห็นว่า สารละลายโซเดียมซิเตรตสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการออกกำลังได้โดยอาศัยคุณสมบัติของ alkalinizationen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to determine the effect of sodium citrate loading on blood lactate and antioxidant status after acute exhaustive exercise. The study was using an experimental study with cross-over design. Twenty four males age of 18-30 years old participated in this study. Subjects received sodium citrate drink (0.5 g/kg body weight) or placebo drink (0.045 g sodium chloride /kg body weight) in 2 trials before performing Bruce treadmill protocol exercise. Blood were collected for lactate, total plasma thiol and antioxidant status by ferric reducing antioxidant power (FRAP) assay. The results showed that sodium citrate group had significantly increased of blood lactate at time point 5 and 10 minutes after exhaustive exercise (p<0.05) than placebo group, but Frap and plasma total thiol activity had no statistically significant differences between two trials at any time Time to exhaustive was 6.70 &plusmn; 7.61 seconds longer in sodium citrate group although there was no statistically significant different between two groups. However, the ventilatory threshold of the sodium citrate group was significant longer than that was observed in the control group. Therefore, this study demonstrated the alkalinization effect of sodium citrate on improving the physical performanceen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.510-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectกรดแล็กติกในเลือด
dc.subjectภาวะเครียดออกซิเดชัน
dc.subjectการออกกำลังกาย
dc.subjectBlood lactate
dc.subjectOxidative stress
dc.subjectExercise
dc.titleผลของการใช้โซเดียมซิเตรตต่อระดับแลคเตทและภาวะต้านอนุมูลอิสระในเลือดภายหลังจากการออกกำลังกายอย่างหนักจนหมดแรงen_US
dc.title.alternativeEffect of sodium citrate loading on blood lactate and antioxidant status after acute exhaustive exerciseen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเวชศาสตร์การกีฬาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor[email protected],[email protected]en_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.510-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5474185430.pdf3.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.