Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44537
Title: การวิเคราะห์แบบไร้เชิงเส้นทางวัสดุของโครงข้อแข็งในระนาบ
Other Titles: MATERIAL NONLINER ANALYSIS OF PLANAR FRAMES
Authors: ธิติ จุติวิโรจน์
Advisors: วัฒนชัย สมิทธากร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
Subjects: สภาพพลาสติก
การวิเคราะห์โครงสร้าง (วิศวกรรมศาสตร์)
แบบจำลองทางวิศวกรรม
Plasticity
Structural analysis (Engineering)
Engineering models
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในกรณีที่โครงสร้างต้องแบกรับน้ำหนักบรรทุกที่มีค่ามากกว่าที่ได้ออกแบบไว้ แรงภายในชิ้นส่วนอาจสูงเกินจุดครากของวัสดุ ทำให้เกิดพฤติกรรมแบบไร้เชิงเส้น ซึ่งจะส่งผลต่อเสถียรภาพและลักษณะการวิบัติของโครงสร้าง งานวิจัยนี้นำเสนอการวิเคราะห์โครงข้อแข็งในระนาบ โดยพิจารณาพฤติกรรมแบบไร้เชิงเส้นทางวัสดุ และทำการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยอาศัยแบบจำลองไฟเบอร์ร่วมกับการกระจายหน้าตัดพลาสติกในการพัฒนาชิ้นส่วนโครงสร้าง แรงที่กระทำต่อโครงสร้างเป็นแบบสถิตและกระทำที่บริเวณจุดต่อของโครงสร้าง การแก้ปัญหาแบบไร้เชิงเส้นใช้วิธีการควบคุมการเปลี่ยนตำแหน่งและวิธีการควบคุมน้ำหนักบรรทุก เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างแรงที่กระทำและการเสียรูปของโครงสร้าง ผลการวิเคราะห์โครงสร้างกรณีศึกษาพบว่า การวิเคราะห์โครงสร้างแบบไร้เชิงเส้นทางวัสดุด้วยโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น ทั้งวิธีสติฟเนสและวิธีเฟลกซิบิลิตี้ ให้ผลลัพธ์ที่มีความถูกต้องมากกว่าร้อยละ 99 เมื่อเทียบกับผลเฉลยแบบแม่นตรง การวิเคราะห์วิธีสติฟเนสจะอาศัยการสมมติฟังก์ชั่นรูปร่างของชิ้นส่วนคาน จำเป็นต้องแบ่งเอลิเมต์เป็นจำนวนมาก จึงจะทำนายพฤติกรรมของโครงสร้างได้ดี แตกต่างจากการวิเคราะห์วิธีเฟลกซิบิลิตี้ ที่อาศัยการสมมติฟังก์ชั่นของแรงภายในที่สอดคล้องกับสมการสมดุล จึงไม่จำเป็นต้องแบ่งเอลิเมต์เป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามการพิจารณาการกระจายหน้าตัดพลาสติกจะช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น โดยพบว่าหากใช้การกระจายหน้าตัดพลาสติก 7 จุด จะสามารถจำลองโครงสร้างโดยใช้เพียง 1 เอลิเมนต์ต่อชิ้นส่วน ก็จะให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องอยู่ในเกณฑ์ดี และสามารถประหยัดเวลาในการคำนวณได้มาก
Other Abstract: When structures are subjected to loads larger than desired, internal forces may exceed the yield strength of materials. Consequently, nonlinear behavior occurs and induces structural stability and failure characteristics. This research presents an analysis method of planar frames considering materially nonlinear behavior. A computer program is developed by applying the fiber model and spread plasticity to construct the structural element. Static monotonic loading is applied at structural nodes. Solutions to the nonlinear problems are carried out by a displacement control method and a load control method to obtain the load and displacement relationship. Results from case studies are shown that the computer program developed in this research, both stiffness and flexibility method, can predict the materially nonlinear behavior and yields the results with accuracy more than 99% when compared with the exact solution. The stiffness method, which is based on assumed shape functions, needs to refine meshes in order to yield a good result. On the other hand, the flexibility method, which is based on exact force interpolation functions, does not require a large number of elements. However, considering spread plasticity along the element can help improve the accuracy. Applying 7 integration points in each element, each structural member can be modeled using only 1 finite element. Consequently, a remarkable result can be obtained within a short computer time.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44537
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.551
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.551
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5570233221.pdf2.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.