Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44706
Title: ผลของการดื่มนมช็อคโกแลตที่มีต่อคาร์โบไฮเดรตออกซิเดชั่น และระยะเวลาการออกกำลังกายจนเหนื่อยหมดแรงในเยาวชนชาย
Other Titles: Effects of chocolate milk drinking upon carbohydrate oxidation and time of exercise to exhaustion in male youth
Authors: ณธีรา เฮงเจริญ
Advisors: ดรุณวรรณ สุขสม
สุวิมล ทรัพย์วโรบล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: [email protected]
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การออกกำลังกาย
การออกกำลังกายสำหรับเยาวชน
คาร์โบไฮเดรต -- การเผาผลาญ
คาร์โบไฮเดรต -- ออกซิเดชัน
Exercise
Exercise for youth
Carbohydrates -- Metabolism
Carbohydrates -- Oxidation
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการดื่มนมช็อคโกแลตก่อนการออกกำลังกายกับเครื่องดื่มกลูโคสที่มีต่อคาร์โบไฮเดรตออกซิเดชั่น และระยะเวลาการออกกำลังกายจนเหนื่อยหมดแรงในเยาวชนชาย โดยมี กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพศชายที่มีอายุระหว่าง 18 – 23 ปี จำนวน 14 คน ทำการทดลองเป็นรูปแบบไขว้ (Crossover Design) โดยกลุ่มตัวอย่างทุกคนได้รับเครื่องดื่ม 3 ชนิดก่อนการออกกำลังกาย ได้แก่ เครื่องดื่มหลอกที่มีส่วนผสมของสารให้ความหวานกับกลิ่นผลไม้ เครื่องดื่มกลูโคส และนมช็อคโกแลต ในระดับครั้งละ 5 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ทำการออกกำลังกายหลังจากดื่มเครื่องดื่มต่าง ๆ 1 ชั่วโมงด้วยการเดินหรือวิ่งบนลู่กลด้วยความหนัก 70% ของสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุดจนเหนื่อยหมดแรง วัดตัวแปรต่าง ๆ ดังนี้ อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว ความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว ตัวแปรด้านการออกซิเดชั่น ได้แก่ การออกซิเดชั่นของคาร์โบไฮเดรต การออกซิเดชั่นของไขมัน ระดับน้ำตาลในเลือด ระดับกรดแลคติกในเลือด และระยะเวลาในการออกกำลังกายจนเหนื่อยหมดแรง ผลการวิจัยพบว่า 1. ไม่พบความแตกต่างของอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว และความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัวหลังการดื่มเครื่องดื่มทั้ง 3 ชนิด 2. ไม่พบความแตกต่างของการออกซิเดชั่นของไขมัน และเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงของระดับกรดแลคติกในเลือดระหว่างกลุ่มในทุกช่วงเวลา อย่างไรก็ตาม พบว่าขณะออกกำลังกายจนเหนื่อยหมดแรงกลุ่มนมช็อคโกแลตมีการออกซิเดชั่นของคาร์โบไฮเดรตที่สูงกว่า และมีการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลในเลือดที่ต่ำกว่ากลุ่มเครื่องดื่มหลอก และกลุ่มเครื่องดื่มกลูโคสอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. กลุ่มนมช็อคโกแลตมีระยะเวลาของการออกกำลังกายยาวนานกว่ากลุ่มเครื่องดื่มหลอก และกลุ่มเครื่องดื่มกลูโคสอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า การดื่มนมช็อคโกแลตช่วยทำให้ออกกำลังกายได้ระยะเวลานานขึ้น โดยการดื่มนมช็อคโกแลตช่วยเพิ่มการออกซิเดชันของคาร์โบไฮเดรต และชะลอการลดลงของระดับน้ำตาลในเลือดขณะออกกำลังกายที่ยาวนาน
Other Abstract: The purposes of this study were to study and compare the effects between chocolate milk and glucose drinking upon carbohydrate oxidation and time of exercise to exhaustion in male youth. Fourteen male students of the faculty of Sports Science, Chulalongkorn University, ages 18 – 23 years were recruited. A crossover study was designed in this study. All subjects were received 3 kinds of drinks including placebo beverage, glucose beverage and chocolate milk (5 ml / kgBW). After drinking for 1 hour, the subjects were asked to walk - run on a treadmill with 70% of VO2max until they were exhausted. Before and after each exercise session, heart rate, systolic and diastolic blood pressure, carbohydrate oxidation, lipid oxidation, blood sugar and lactate levels as well as times to exhaustion were measured. The results are as follow: 1. There were no significant differences in heart rate, systolic, and diastolic blood pressure after taking all 3 kinds of drinks. 2. There were no significant differences in lipid oxidation and percentage of change in blood lactate level among groups at all times. However, chocolate milk group had significantly higher in carbohydrate oxidation and lower in percentage of change in blood glucose level at exhaustion when compared with the placebo and glucose beverage groups (p<.05). 3. Chocolate milk group had significantly longer in time to exhaustion than the placebo and glucose beverage groups (p<.05). In conclusion, chocolate milk drinking is more likely to exercise for a longer time. It maintains the carbohydrate oxidation and glucose concentration during prolonged exercise.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44706
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.594
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.594
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
natheera_he.pdf6.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.