Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44714
Title: | ความชุกของโปรตีนเรติโนบลาสโตมาในมะเร็งศีรษะและลำคอชนิดสความัสเซลล์ที่ไม่ใช่มะเร็งหลังโพรงจมูกและไม่พบการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีในผู้ป่วยที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ |
Other Titles: | Prevalence of retinoblastoma protein in negative human papilloma virus in non nasopharyngeal head and neck squamous cell carcinomas in patients at King Chulalongkorn Memorial Hospital |
Authors: | ภานุณัฏฐ์ ม่วงน้อย |
Advisors: | วิโรจน์ ศรีอุฬารพงศ์ สมบูรณ์ คีลาวัฒน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | โปรตีนเรติโนบลาสโตมา แปปิลโลมาไวรัส สความัสเซลล์คาร์ซิโนมา ศีรษะ -- มะเร็ง -- การวินิจฉัยโรค คอ -- มะเร็ง -- การวินิจฉัยโรค Retinoblastoma protein Papillomaviruses Squamous cell carcinoma Head -- Cancer -- Diagnosis Neck -- Cancer -- Diagnosis |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ที่มามะเร็งศีรษะและลำคอชนิดสความัสเซลล์ที่ไม่ใช่มะเร็งหลังโพรงจมูกมีอุบัติการณ์สูงโดยเฉพาะในกลุ่มที่ไม่พบการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีเมื่อเทียบกับกลุ่มที่พบการติดเชื้อซึ่งพบว่ากลไกการเกิดโรคส่วนหนึ่งเกิดจากการกลายพันธ์ของยีนเรติโนบลาสโตมาอย่างไรก็ตามความชุกของโปรตีนเรติโนบลาสโตมาในประชากรกลุ่มดังกล่าวยังไม่ได้มีการศึกษาที่ชัดเจน วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของโปรตีนเรติโนบลาสโตมาในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอที่ไม่ใช่มะเร็งหลังโพรงจมูกและไม่พบการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีและหาความสัมพันธ์ของสถานะโปรตีนเรติโนบลาสโตมากับพยากรณ์และการดำเนินโรค ประชากรและวิธีการผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอชนิดสความัสเซลล์ที่ไม่ใช่มะเร็งหลังโพรงจมูกและไม่พบการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีที่ได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทยระหว่างปีพ.ศ.2543-2554โดยตรวจหาโปรตีน เรติโนบลาสโตมาด้วยเทคนิคไมโครแอเรย์และอิมมูโนพยาธิวิทยาในชิ้นเนื้อพาราฟินของผู้ป่วยจำนวน53รายและเปรียบเทียบผลการตรวจกับการดำเนินโรค ผลการวิจัยพบผลบวกต่อโปรตีนเรติโนบลาสโตมาจำนวน24รายคิดเป็นร้อยละ45โดยเมื่อแบ่งตามตำแหน่งรอยโรคพบผลบวกร้อยละ33ในมะเร็งช่องปาก, ร้อยละ38ในมะเร็งคอหอยช่องปาก, ร้อยละ29ในมะเร็งกล่องเสียงทั้งนี้ไม่พบความแตกต่างของลักษณะพื้นฐานทางคลินิกและการรักษาเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ให้ผลบวกและผลลบต่อโปรตีนเรติโนบลาสโตมานอกจากนี้พบว่าระยะของก้อนมะเร็ง (ระยะที่1หรือ2) มีผลต่อการพยากรณ์โรคที่ดีกว่าโดยที่ไม่พบความสัมพันธ์ของโปรตีนเรติโนบลาสโตมากับพยากรณ์โรค สรุปผลการวิจัยพบความชุกของโปรตีนเรติโนบลาสโตมาในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอที่ไม่ใช่มะเร็งหลังโพรงจมูกและไม่พบการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีคิดเป็นร้อยละ45ผลดังกล่าวไม่มีความสัมพันธ์กับพยากรณ์โรคแต่มีแนวโน้มการพยากรณ์โรคที่ไม่มีในกลุ่มที่ตรวจไม่พบสถานะโปรตีนเรติโนบลาสโตมา |
Other Abstract: | Background: Previous studies of human papilloma virus (HPV) associated head and neck squamous cell carcinoma (HNSCCs) have shown that the frequent loss of retinoblastoma protein (pRb) implicates in prognosis and response to treatment. Limited data regarding the pRb expression in HPV negative HNSCCs are available. In this study we characterized the expression rate of pRb in HPV negative HNSCCs at King Chulalongkorn Memorial hospital. Objectives: The aim of this study is to determine the prevalence of expression of retinoblastoma protein (pRb) in non-nasopharyngeal HNSCC tumor tissue. The secondary objective is to find an association between the expression of pRb and clinical outcomes. Patients and methods: Non-nasopharyngeal HNSCCs patients who had been treated at the King Chulalongkorn Memorial Hospital during 2000-2011 were enrolled. Tumor tissue from 53 patients confirmed HPV negative were collected to manually construct tissue microarray (TMA). Expression of pRb was performed by IHC on TMA with anti-Rb monoclonal antibody clone 1F8. All clinical parameters were reviewed and collected from available medical records. Results: Twenty-four (45%) of the 53 HNSCCs samples exhibited retinoblastoma protein (pRb) by IHC. Among cancer sites, 9 of 24 (38%) of oropharynx, 8 of 24 (33%) of oral cavity and 7 of 24 (29%) of larynx displayed pRb in tumor tissues. There was no major difference in demographic data, tumor characteristic, and treatment modalities between pRb-positive and pRb-negative samples HNSCCs. There was a trend toward a better survival in tumor expressing pRb than the tumor with absence of pRB but this did not reach a statistical significance. However in T-stage (T1/T2), was associated with better median overall survival. Conclusion: The prevalence of pRb in our study was 45%. Absence of pRB tumors have a trend toward poorer prognosis. Further study in a larger population is warranted. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อายุรศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44714 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.599 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2012.599 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
panunat_mu.pdf | 3.47 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.