Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45007
Title: การศึกษาเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงปริมาตรเลือดที่สูบฉีดออกจากหัวใจขณะฟอกเลือดในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ระหว่างการฟอกด้วยน้ำยาที่ไม่มีอะซิเตตและน้ำยาที่มีอะซิเตตเป็นส่วนประกอบด้วยวิธีออนไลน์ฮีโมไดอะฟิลเตรชั่น
Other Titles: The comparison of cardiac index and cardiac output effect during maintenance hemodialysis between acetate-free and acetate- based online-hemodiafiltration
Authors: กมลวรรณ ตั้งวรพงศ์ชัย
Advisors: ขจร ตีรณธนากุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การฟอกเลือด
ไดอะไลซิส
อะซิเตท
ไตวายเรื้อรัง -- การรักษา
Dialysis
Acetates
Chronic renal failure -- Treatment
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา : อะซิเตตที่ใช้เป็นส่วนประกอบของน้ำยาฟอกเลือดสามารถกดการบีบตัวของหัวใจและการตีบตัวของหลอดเลือด นำมาสู่ภาวะความดันโลหิตตกระหว่างการฟอกเลือดแบบธรรมดาได้ ปัจจุบันการฟอกเลือดด้วยวิธีออนไลน์ฮีโมไดอะฟิลเตรชั่นเป็นวิธีการฟอกเลือดที่ดีที่สุดซึ่งสามารถลดปัญหาภาวะความดันโลหิตตกระหว่างการฟอกเลือดได้ ยังไม่มีการศึกษาถึงผลรวมของการฟอกเลือดด้วยวิธีออนไลน์ฮีโมไดอะฟิลเตรชั่นร่วมกับการการใช้น้ำยาฟอกเลือดปราศจากอะซิเตตซึ่งมีราคาสูงกว่าน้ำยาฟอกเลือดทั่วไปว่าสามารถรักษาความคงตัวของระบบไหลเวียนโลหิตได้ดียิ่งขึ้นหรือไม่ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาผลของน้ำยาฟอกเลือดปราศจากอะซิเตตต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาตรเลือดที่สูบฉีดออกจากหัวใจขณะฟอกเลือดด้วยวิธีออนไลน์ฮีโมไดอะฟิลเตรชั่น วิธีการศึกษา : การศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่มทางคลินิกในผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือด 22 ราย สลับระหว่างการฟอกเลือดด้วยน้ำยาปราศจากอะซิเตตและน้ำยาที่มีอะซิเตตเป็นส่วนประกอบในช่วงระยะเวลาห่างกัน 1 สัปดาห์ เปรียบเทียบผลของน้ำยาฟอกเลือดทั้งสองชนิดต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาตรเลือดที่สูบฉีดออกจากหัวใจต่อนาที การเปลี่ยนแปลงปริมาตรเลือดที่สูบฉีดออกจากหัวใจต่อนาทีต่อพื้นที่ผิว และการเปลี่ยนแปลงของความต้านทานหลอดเลือดส่วนปลายทุกชั่วโมงระหว่างการฟอกเลือดด้วยวิธีออนไลน์ฮีโมไดอะฟิลเตรชั่น ผลการศึกษา : ลักษณะพื้นฐานทางคลินิกและพารามิเตอร์ของระบบหัวใจและหลอดเลือดรวมถึง NT-proBNP (1,993±3,335 vs. 2,484±9,698 pg/mL, p = 0.21) และ troponin-T (0.052±0.046 กับ 0.056±0.035 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร, p = 0.92) ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างการฟอกเลือดด้วยน้ำยาปราศจากอะซิเตตและน้ำยาที่มีอะซิเตตเป็นส่วนประกอบ และไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของความดันโลหิตซิสโตลิก ความดันไดแอสโตลิกและความดันเฉลี่ยระหว่างน้ำยาฟอกเลือดทั้งสองชนิด (p = 0.979, 0.770, and 0.861 ตามลำดับ) อุบัติการณ์ของภาวะความดันโลหิตตกหรืออาการของภาวะความดันโลหิตตกระหว่างการฟอกเลือดไม่มีความแตกต่างกันระหว่างสองกลุ่ม ค่าเริ่มต้นและการเปลี่ยนแปลงของปริมาตรเลือดที่สูบฉีดออกจากหัวใจต่อนาที การเปลี่ยนแปลงปริมาตรเลือดที่สูบฉีดออกจากหัวใจต่อนาทีต่อพื้นที่ผิว และการเปลี่ยนแปลงของความต้านทานหลอดเลือดส่วนปลายไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างน้ำยาฟอกเลือดทั้งสองชนิด (p = 0.199, 0.534 และ 0.641 ตามลำดับ) การลดลงของ NT-proBNP และ troponin-T เมื่อคิดเป็นร้อยละไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (72.6±12.3 กับ 72.6±12.8 , p= 0.99 และ 35.2±12.8 กับ. 36.7±12.0, p = 0.51) สรุป : ผู้ป่วยที่มีอาการทางคลินิกคงที่และได้รับการฟอกเลือดด้วยวิธีออนไลน์ฮีโมไดอะฟิลเตรชั่นสามารถใช้น้ำยาฟอกเลือดมาตรฐานที่มีส่วนประกอบของอะซิเตตได้โดยไม่มีผลเสียต่อหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งน่าจะเป็นผลจากการช่วยรักษาเสถียรภาพของระบบหัวใจและหลอดเลือดด้วยวิธีการออนไลน์ฮีโมไดอะฟิลเตรชั่นเอง ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้น้ำยาฟอกเลือดปราศจากอะซิเตตซึ่งเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายให้สูงขึ้น และควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้น้ำยาฟอกเลือดปราศจากอะซิเตตในกลุ่มผู้ป่วยที่มีปัญหาของระบบหัวใจและหลอดเลือด
Other Abstract: Background : Acetate in standard dialysis fluid could suppress myocardial contractility and arterial constriction, resulting in intradialytic hypotension in conventional hemodialysis (HD) patients. Online hemodiafiltration (HDF), the best HD mode, provides superior intradialytic hemodynamic stability over conventional HD. The potential additive hemodynamic benefits of the novel but expensive acetate-free dialysis fluid in online HDF have never been explored before. The present study was aimed to investigate the impacts of acetate-free dialysis fluid on cardiac index and cardiac output in online HDF. Method : A randomized, double-blind, crossover clinical trial was conducted in 22 stable online HDF patients. The patients were randomly assigned to firstly receive either acetate-free or acetate online HDF and then were switched to the other mode after one-week of wash-out period. Clinical parameters as well as cardiac index, cardiac output and peripheral vascular resistance were hourly assessed in each session. Result : The baseline clinical and cardiac parameters including NT-proBNP (1,993±3,335 vs. 2,484±9,698 pg/mL, p=0.21) and troponin-T (0.052±0.046 vs. 0.056±0.035 ng/mL, p=0.92) were similar between acetate-free and acetate online HDF groups. There were comparable changes of systolic, diastolic and mean arterial pressure between both groups (p=0.979, 0.770, and 0.861 respectively). During the study periods, the incidences of composite intradialytic hypotension and other adverse events were comparable. The baseline and changes of cardiac indexes, cardiac outputs, and peripheral vascular resistances during dialysis were comparable between both groups (p = 0.534, 0.199, and 0.641, respectively). The percent reductions of NT-proBNP and troponin-T were not significantly different (72.6±12.3 vs. 72.6±12.8 %, p=0.99 and 35.2±12.8 vs. 36.7±12.0 %, p=0.51). Conclusion : In stable online HDF patients; acetate in the standard dialysis fluid did not adversely affect clinical and cardiac parameters. The hemodynamic stability provided by online HDF might protect the adverse effects of acetate. Therefore, utilization of the costly acetate-free dialysis solution did not offer additional cardiac benefits for stable online HDF patients. Further studies are required to examine the potential benefits of this novel acetate-free dialysis solution in specific high-risk cardiovascular disease patients.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) --จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45007
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1730
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1730
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kamonwan_ta.pdf3.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.