Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45297
Title: | การพัฒนาตัวบ่งชี้ความกล้าหาญทางจริยธรรมของครู : การทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของการวัดตามภูมิหลังของครู |
Other Titles: | Development of moral courage indicators for teachers : testing measurement invariance by teachers’ backgrounds |
Authors: | พักตร์วิภา หน่อสุวรรณ |
Advisors: | สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | จริยธรรมในการทำงาน จริยธรรม ครู -- แง่ศีลธรรมจรรยา Work ethic Teachers -- Moral and ethical aspects |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้ความกล้าหาญทางจริยธรรมของครู เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความกล้าหาญทางจริยธรรมที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และเพื่อทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของการวัดความกล้าหาญทางจริยธรรมของครูระหว่างภูมิหลังของครูที่แตกต่างกัน วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือการวิเคราะห์เอกสาร การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ครู และการเก็บข้อมูลเชิงสำรวจด้วยแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูที่สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 778 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบวัดความกล้าหาญทางจริยธรรมของครู วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง และวิเคราะห์โความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลเมื่อจำแนกครูตามเพศ และขนาดโรงเรียน ด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยพบว่า 1) ตัวบ่งชี้ความกล้าหาญทางจริยธรรมของครูประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบการยึดมั่นในหลักการ องค์ประกอบการรับรู้สถานการณ์ทางจริยธรรม องค์ประกอบด้านพฤติกรรมในการแสดงออกทางจริยธรรมและ องค์ประกอบด้านความอดทนต่อการคุกคาม มีตัวบ่งชี้ทั้งหมด 11 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ความซื่อสัตย์ ความเคารพ ความเห็นอกเห็นใจ ความรับผิดชอบ ความยุติธรรม การประเมินสถานการณ์ การตรวจสอบคุณค่า การไตร่ตรองถึงอันตราย พฤติกรรมการแสดงออกทางการวาจา พฤติกรรมการแสดงออกทางการกระทำ และการยอมเผชิญกับความลำบาก 2) โมเดลตัวบ่งชี้ความกล้าหาญทางจริยธรรมของครูมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า χ² = 13.129, df = 20, p = 0.872, GFI = 0.997, AGFI = 0.990 และRMSEA = 0.000 3) โมเดลตัวบ่งชี้ความกล้าหาญทางจริยธรรมของครู มีความไม่แปรเปลี่ยนของรูปแบบโมเดลระหว่างเพศและระหว่างกลุ่มครูในขนาดโรงเรียนที่แตกต่างกัน แต่มีความแปรเปลี่ยนของค่าน้ำหนักองค์ประกอบของแต่ละตัวบ่งชี้และค่าน้ำหนักองค์ประกอบขององค์ประกอบหลักด้านการยึดมั่นในหลักการ ด้านการรับรู้สถานการณ์ทางจริยธรรม ด้านพฤติกรรมในการแสดงออกทางจริยธรรม และด้านความอดทนต่อการคุกคาม |
Other Abstract: | The purposes of this research were; 1) to develop moral courage indicators of teachers, 2) to investigate the correspondence of indicators of moral courage for teacher model, and 3) to test measurement invariance of the model of moral courage indicators of teachers across backgroups. Methodology was divided into three phases; 1) document analysis, 2) collection of qualitative data from interviewing teachers, and 3) data collection by questionnaires. The participants of this research were 778 teachers under The Basic Education Commission. The research instruments were moral courage’s interview form and teacher’s moral courage questionnaires. The collected data was analyzed through descriptive statistics, second order confirmatory analysis, and multi-group structural equation analysis by LISREL program. The research findings were: 1) Moral courage indicators of teachers consisted of four factors, namely moral principle, moral situation, moral behavior and endurance of threats. The factors consisted of 11 indicators: honesty, respect, responsibility, fairness, compassion, assess situation, scan values, contemplate dangers, talking, action and endure. 2) The model of moral courage indicators for teachers found that the model fit the empirical data. ( χ² = 13.129, df = 20, p = 0.872, GFI = 0.997, AGFI = 0.990 and RMSEA = 0.000) 3) The model of moral courage indicators for teachers indicated invariance of model form between male and female teachers and between size of school, but the model indicated variance of the factor loading of each indicators and factor loading of moral principle moral situation moral behavior and endurance of threats to research factors. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45297 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1324 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2012.1324 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pakwipar_no.pdf | 4.57 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.