Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4539
Title: | การเพาะเลี้ยงเชื้อมาลาเรียไก่ระยะที่อยู่ในเม็ดเลือดแดง และการเก็บถนอมเชื้อแช่แข็ง |
Other Titles: | In vitro cultivation and cryopreservation of blood stages of malarial parasite of poultry |
Authors: | ปิยนันท์ ทวีถาวรสวัสดิ์ |
Advisors: | สุวรรณี นิธิอุทัย มานพ ม่วงใหญ่ จิโรจ ศศิปรียจันทร์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล [email protected] [email protected] |
Subjects: | ไก่ -- โรค มาลาเรีย |
Issue Date: | 2542 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ทดลองหาวิธีการและน้ำยาเลี้ยงเชื้อที่เหมาะสม ต่อการเพาะเลี้ยงเชื้อ P.gallinaceum ระยะที่ไม่มีเพศในเม็ดเลือดแดงของไก่ในห้องทดลอง และเพื่อศึกษาวิธีการเก็บและถนอมเชื้อ P.gallinaceum ที่อุณหภูมิ -196 ํ ซ การศึกษาในครั้งนี้แบ่งเป็น 5 การทดลองคือ การทดลองที่หนึ่ง ศึกษารูปร่างลักษณะของเชื้อ P.gallinaceum ที่พบในเลือดไก่ซึ่งมี 4 ระยะ คือ trophozoite, schizont, merozoite และ gametocyte จากแผ่นฟิล์มเลือดบางย้อมสียิมซ่า การทดลองที่สอง ศึกษาระดับการติดเชื้อในกระแสเลือด อัตราการติดโรคและการก่อโรค ที่ฉีดเชื้อ P.gallinaceum โดยมีปริมาณเม็ดเลือดแดงที่ติดเชื้อจำนวน 5x10x10x10x10 เซลล์ เข้าใต้ผิวหนังลูกไก่ไข่เพศผู้อายุ 2 สัปดาห์ จำนวน 30 ตัว ผลการศึกษาพบว่า เชื้อเริ่มปรากฏในกระแสเลือดในวันที่ 4 และพบมีระดับสูงสุดในวันที่ 14 หลังจากได้รับเชื้อ ไก่มีอัตราการติดโรค ร้อยละ 100 และอัตราการตาย ร้อยละ 66.67 อาการทางคลินิกปรากฏชัดเจนในวันที่ 13 ได้แก่ ซึมขี้เขียว เลือดจาง ร้อยละ 100, 67 และ 100 ตามลำดับ ผลการผ่าซากในวันที่ 0, 4, 8, 12 และ 16 ปรากฏรอยโรคชัดเจนในวันที่ 16 ตับมีสีดำคล้ำ ม้ามขยายใหญ่และมีสีดำคล้ำ ถุงหุ้มหัวใจมีของเหลว และไตบวมน้ำ ลักษณะเด่นทางจุลพยาธิวิทยา คือ malarial pigment จำนวนมากที่ตับ และม้าม แต่พบประปรายที่ สมอง หัวใจและไต การทดลองที่สาม เพาะเลี้ยงเชื้อ P.gallinaceum ระยะไม่มีเพศที่อยู่ในเม็ดเลือดแดงของไก่ ในถาดเพาะเลี้ยงขนาด 24 หลุม ด้วยอาหารเลี้ยงเชื้อ RPMI 1640 ที่มีส่วนผสมของ HEPES และโซเดียมไบคาร์บอเนต ในปริมาณของซีรั่มไก่ที่แตกต่างกัน และบ่ม (incubate) ในสภาวะบรรยากาศที่แตกต่างกันของ CO2:O2:N2 ที่อุณหภูมิ 37 ํซ เป็นเวลา 7 วัน ผลการศึกษาพบว่า การเพาะเลี้ยงของเชื้อ P.gallinaceum ระยะไม่มีเพศที่อยู่ในเม็ดเลือดแดงยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร การทดลองที่สี่ ศึกษาการเก็บถนอมเชื้อเพื่อการแช่แข็งที่อุณหภูมิ -196 ํซ ด้วยวิธี 2-step cooling method โดยน้ำยาถนอมเชื้อ 3 ชนิด คือ glycerol-sorbitol, glycerol-lactate buffer และ polyvinyl pyrolidone เป็นระยะเวลา 1 และ 3 เดือน ผบการศึกษาพบว่า glycerol-lactate buffer มีความเหมาะสมมากกว่าอย่างอื่นในการใช้เก็บถนอมเชื้อ P.gallinaceum โดยมีอัตราการติดโรคในไก่สูงถึงร้อยละ 100 และ 60 ตามลำดับ เมื่อทดสอบโดยการฉีดเลือดเข้าไก่ การทดลองที่ห้า ศึกษาเอนไซม์ lactate dehydrogenase (LDH) ของเชื้อ P.gallinaceum ที่อยู่ในเม็ดเลือดแดงไก่ที่มีปริมาณเชื้อต่างๆ กัน โดยวัดค่า OD ที่ 650 nm ผลปรากฏว่าระดับของ เอนไซม์ LDH มีความสัมพันธ์ที่เป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณของเชื้อ โดยที่ค่าเอนไซม์จะแปรผันตามปริมาณเชื้อในเม็ดเลือดแดง |
Other Abstract: | To find the method and media that appropriate for the in vitro cultivation of asexual erythrocytic stages of Plasmodium gallinaceum and to find the method and cryoprotectant for the cryopreservation of infected red blood cells at -196 ํC. The study consists of five experiments: Experiment I, morphology of P.gallinaceum was studied by giemsa stained thin blood smears. Four stages of Plasmodium gallinaceum were found in the blood of chicken; trophozoite, schizont, merozoite and gametocyte. Experiment II, % parasitemia, infectivity rate and pathological findings of experimental infected chicken were studied. Thirty 2-week-old male chickens were injected with 5x10x10x10x10 P.gallinaceum subcutaneously. Early detection of parasitemia was on day 4 and peak of parasitemia was evident on day 14 after infection. As determined on day 16 after infection, there were 100% infectivity rate and 67% mortality rate. The clinical signs of infected chickens on day 13 were depression, greenish feces and anemia with the percentage of 100, 67 and 100 respectively. Postmortem of infected animals was performed on day 0, 4, 8, 12 and 16 after infection. Darkness of liver, spleenomegaly, hydropericardium and kidney swelling were seen on day 16 after infection by gross lesion. The abundant of malarial pigment in liver and spleen were the typical character of histopathological lesion, but scattered in brain, heart and kidney. Experiment III, In vitro cultivation of asexual blood stages of P.gallinaceum was performed in 24-well plates, various proportions of culture RPMI 1640 (supplemented with HEPES, bicarbonate buffer) mixed up with chick serum, incubate under the various condition of gaseous mixture, CO2:O2:N2 at 37 ํC for 7 days. However, the result was unsatisfied. Experiment IV, 3 cryoprotectants, glycerol-sorbitol, glycerol-lactate buffer and polyvinyl pyrolidone were used for cryopreservation of P.gallinaceum infected red blood cell at -196 ํC by 2-step cooling method. After 1 and 3 months the cryopreserved blood were evaluatedfor the survival rate by injection into chicken. The results revealed that glycerol-lactate buffer was the most appropriate cryoprotectant with the infectivity rate of 100% and 60% after 1 and 3 months preservation respectively. Experiment V, lactate dehydrogenase (LDH) of P.gallinaceum in red blood cells was performed. Various levels of infected red blood cells were assayed for LDH at OD 650 nm. The results showed a direct correlation of LDH levels and % parasitemia. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พยาธิชีววิทยาทางสัตวแพทย์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4539 |
ISBN: | 9743345744 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Vet - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
piyanan.pdf | 6.68 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.