Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45404
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorโชติกา ภาษีผลen_US
dc.contributor.advisorกมลวรรณ ตังธนกานนท์en_US
dc.contributor.authorสุปราณี บุระen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-17T04:01:38Z-
dc.date.available2015-09-17T04:01:38Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45404-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบสอบเชิงวินิจฉัยทางพุทธิปัญญาเรื่องการดำเนินการเลขคณิตพื้นฐาน ตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบ และพัฒนาเป็นโปรแกรมการทดสอบ โดยประยุกต์ใช้โมเดลดีไอเอ็นเอ แบ่งวิธีดำเนินการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการสร้างแบบสอบ ด้วยการกำหนดโมเดลพุทธิปัญญาเรื่องการดำเนินการเลขคณิตพื้นฐาน และตรวจสอบความถูกต้องและเหมาะสมด้วยผู้เชี่ยวชาญ จากนั้นสร้างแบบสอบตามแผนผังการออกข้อสอบจากโมเดลพุทธิปัญญาที่กำหนดขึ้น ระยะที่ 2 เป็นการตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบ ด้วยการนำแบบสอบที่พัฒนาขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาและทดลองใช้กับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 – 6 เพื่อตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบรายข้อด้วยโมเดลดีไอเอ็นเอ และตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบทั้งฉบับ ประกอบด้วย ความเที่ยง (Reliability) ความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) และความตรงตามสภาพ (Concurrent Validity) และระยะที่ 3 เป็นการพัฒนาโปรแกรมการทดสอบ โดยวิเคราะห์ผลการวินิจฉัยด้วยโมเดลดีไอเอ็นเอ และตรวจสอบความถูกต้องและเหมาะสมของโปรแกรมการทดสอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ จากนั้นทดลองใช้โปรแกรมการทดสอบกับครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาและนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 – 6 เพื่อสอบถามความคิดเห็นต่อการใช้งาน และปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. แบบสอบเชิงวินิจฉัยทางพุทธิปัญญาเรื่องการดำเนินการเลขคณิตพื้นฐาน ประกอบด้วยแบบสอบทั้งสิ้น 8 ฉบับ ได้แก่ แบบสอบเชิงวินิจฉัยทางพุทธิปัญญาเรื่องการบวก การลบ การคูณ และการหารจำนวนนับ ระดับที่ 1 และระดับที่ 2 ที่พัฒนาจากโมเดลพุทธิปัญญา ซึ่งเป็นโครงสร้างคุณลักษณะของความรู้และทักษะที่นักเรียนใช้ในการแก้ปัญหาโจทย์คณิตศาสตร์เรื่องการดำเนินการเลขคณิตพื้นฐานได้อย่างถูกต้อง โดยจัดเรียงตามลักษณะความสัมพันธ์เชิงลำดับขั้นการเรียนรู้ จากคุณลักษณะขั้นพื้นฐานไปยังคุณลักษณะที่สูงกว่า เป็นข้อสอบแบบเติมคำตอบหลายคำตอบในแต่ละข้อ ถ้าตอบถูกทุกคำตอบในแต่ละข้อได้ 1 คะแนน แต่ถ้าตอบผิดแม้คำตอบเดียวในแต่ละข้อได้ 0 คะแนน 2. การตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบรายข้อ มีค่าพารามิเตอร์การเดาข้อสอบถูก (gj) อยู่ระหว่าง 0.000 – 0.191 ค่าพารามิเตอร์ความสะเพร่า (sj) อยู่ระหว่าง 0.000 – 0.200 และดัชนีอำนาจจำแนกรายข้อ (Item Discrimination Index) อยู่ระหว่าง 0.631 – 1.000 ในส่วนของการตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบทั้งฉบับ มีค่าความเที่ยงด้วยการคำนวณจากวิธีของลิวิงตัน (Livingston Method) อยู่ระหว่าง 0.873 – 0.986 และวิธีของโลเวท (Lovett Method) อยู่ระหว่าง 0.816 – 0.985 ความตรงเชิงเนื้อหา แต่ละฉบับมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.80 – 1.00 และความตรงตามสภาพ แต่ละฉบับมีค่าสัดส่วนของความสอดคล้องและค่าสถิติแคปปา (K) ระหว่างผลการวินิจฉัยคุณลักษณะทางพุทธิปัญญาด้วยโมเดลดีไอเอ็นเอและผลการวินิจฉัยด้วยเทคนิคการคิดออกเสียง อยู่ระหว่าง 0.758 – 0.882 และ 0.569 – 0.824 ตามลำดับ 3. โปรแกรมการทดสอบเชิงวินิจฉัยทางพุทธิปัญญาเรื่องการดำเนินการเลขคณิตพื้นฐาน สร้างด้วยโปรแกรม Microsoft Visual Studio.NET 2010 วิเคราะห์ผลการวินิจฉัยด้วยโมเดลดีไอเอ็นเอ ด้วยโปรแกรม R และออกรายงานผลการวินิจฉัยด้วยโปรแกรม Report Viewer 2010 ออกแบบให้มีการทำงาน 2 ส่วน คือ 1) โปรแกรมการทดสอบสำหรับครู เป็นโปรแกรมควบคุมการทดสอบและวิเคราะห์ผลการวินิจฉัย และ 2) โปรแกรมการทดสอบสำหรับนักเรียน เป็นโปรแกรมแบบสอบทั้ง 8 ฉบับ มีผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญโดยเฉลี่ยในเรื่องของการทำงาน การออกแบบ ลักษณะทั่วไป และคู่มือการใช้อยู่ในระดับดีมาก ในส่วนของการทดลองใช้ ครูและนักเรียนมีความคิดเห็นต่อการใช้โปรแกรม คู่มือการใช้ การออกแบบ และความรู้สึกต่อโปรแกรม อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุดen_US
dc.description.abstractalternativeThe objectives of research were to develop cognitive diagnostic test on basic arithmetic operations, validate the test, and to develop a program for testing by application of the DINA model. The methodology was divided into the following three phases: phase 1 creating the cognitive diagnostic test by designating the cognitive model for basic arithmetic operations, having the accuracy and suitability checked by experts. Then a chart was created for making q-matrix test questions from the designated cognitive model. Phase 2 involved validate of the test by submitting the test that had been developed to experts and trying the test out with grade 3 - 6 students to item analysis with the DINA model and test analysis composed of testing for reliability, content validity and concurrent validity. Lastly, phase 3 involved the development of computer-based cognitive diagnostic test by analyzing the diagnostic results with the DINA model and having the accuracy and suitability of the computer-based test checked by experts. Next, the computer-based test was tried out with elementary mathematics teachers and students in grade 3 - 6 in order to elicit ideas for use and revise/correct until complete. The research findings can be summarized as follows: 1. The cognitive diagnostic test on basic arithmetic operations was composed of eight sets, namely, level 1 and level 2 cognitive diagnostic tests on addition, subtraction, multiplication and division that were developed from the cognitive model with structure based on attributes, knowledge and skills used by the students in correctly solving mathematical problems involving basic arithmetic operations by organizing a learning hierarchy of correlated attributes from basic to higher attributes. Each of the items contained multiple answers to choose from. If every answer was correctly selected for an item, one point was given. If, even one of the answers was mistakenly selected, score of “0” was given. 2. The item analysis included guess parameters (gj) between 0.000 – 0.191, slip parameter (sj) between 0.000 – 0.200 and an item discrimination index (IDI) between 0.631 – 1.000. The reliability of the test was determined by calculating according to the Livingston method between 0.873 – 0.986 and the Lovett method between 0.816 – 0.985. The content validity of each test had an IOC value between 0.80 – 1.00 and concurrent validity for each test had a ratio of concurrence and Cohen' Kappa between the attributes of the cognitive diagnostic results obtained with the DINA and the diagnostic results obtained with the technique of thinking aloud were within a range of 0.758 – 0.882 and 0.569 – 0.824, respectively. 3. The computer-based cognitive diagnostic test on basic arithmetic operations created by the Microsoft Visual Studio.NET 2010 program. The diagnostic results obtained with the DINA model were analyzed by R program and a report was issued on the diagnostic results obtained with the Report Viewer 2010 program. The aforementioned computer-based test was designed for operations in the following two sections: 1) a computer-based testing for teachers, namely, a program for controlling tests and analyzing the diagnostic results obtained; 2) a computer-based test for students, namely, all eight computer-based tests obtained results that were evaluated by experts. On average in terms of operations, design, general attributes and users’ manuals, the results were very good. As for the trial testing, the teachers and students held the opinion that they would like to use the program, user’s manual, design and feeling about the program from a high to the highest degree.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการพัฒนาแบบสอบเชิงวินิจฉัยทางพุทธิปัญญาเรื่องการดำเนินการเลขคณิตพื้นฐานโดยใช้คอมพิวเตอร์: การประยุกต์โมเดลดีไอเอ็นเอen_US
dc.title.alternativeDEVELOPMENT OF A COMPUTER - BASED COGNITIVE DIAGNOSTIC TEST ON BASIC ARITHMETIC OPERATIONS: AN APPLICATION OF DINA MODELen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineการวัดและประเมินผลการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor[email protected],[email protected]en_US
dc.email.advisor[email protected]en_US
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5384267827.pdf9.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.