Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45411
Title: | แนวทางการสืบสานคุณค่าของอัตลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย |
Other Titles: | TRANSMISSION GUIDELINES OF THE VALUE OF THAI ARCHITECTURAL IDENTITY |
Authors: | อัธยานันท์ จิตรโรจนรักษ์ |
Advisors: | หทัยรัตน์ ทับพร อัควิทย์ เรืองรอง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected] [email protected] |
Subjects: | สถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมไทย อัตลักษณ์ วัฒนธรรม คุณวิทยา Architecture Architecture, Thai Identity (Philosophical concept) Culture Values |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์อัตลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย 2) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าของอัตลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการสืบสานคุณค่าของอัตลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย วิธีการดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) การวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) จากผู้เชี่ยวชาญในสาขาสถาปัตยกรรม เพื่อวิเคราะห์อัตลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย 2) การวิจัยเอกสาร และจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) โดยผู้ให้ข้อมูลจากหลากหลายสาขา เพื่อวิเคราะห์คุณค่าของอัตลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย 3) การวิจัยเอกสาร การศึกษาภาคสนาม และจัดการสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) เพื่อนำเสนอแนวทางการสืบสานคุณค่าของอัตลักษณ์สถาปัตยกรรมไทยและผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ และ 4) สรุปและประมวลผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่าอัตลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย: เรือนไทย ปรากฏเป็น 2 ลักษณะด้วยกันคืออัตลักษณ์เรือนไทยที่เป็นรูปธรรม และอัตลักษณ์เรือนไทยที่เป็นนามธรรม อัตลักษณ์เรือนไทยที่เป็นรูปธรรมมีความสอดคล้องกับสภาพที่ตั้ง สภาพภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่น เป็นอัตลักษณ์ที่สรรสร้างมาจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ตลอดจนสอดคล้องกับสภาพสังคมและวัฒนธรรม ปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรม อันได้แก่ เรือนไทยยกใต้ถุน มีหลังคาทรงจั่วมีปั้นลม(ป้านลม) โค้งอ่อนช้อย ประกอบสร้างขึ้นด้วยไม้เป็นวัสดุหลัก มีเสาสอบเข้าหาเรือน ตัวเรือนสามารถถอดประกอบได้ และมีชานเรือนเชื่อมต่อกัน ส่วนอัตลักษณ์เรือนไทยที่เป็นนามธรรมได้แฝงอยู่ภายใต้งานสถาปัตยกรรมที่ไม่อาจจับต้องได้แต่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากความรู้สึกรับรู้ได้จากการเข้าอยู่ ใช้สอย และงานการสัมผัสเรือนไทย ทั้งนี้การปลูกเรือนไทยมีความสัมพันธ์กับสิ่งที่เหนือธรรมชาติ อันได้แก่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ศาสนา และความเชื่อปรากฏให้เห็นผ่านเรื่องฤกษ์ยาม การตั้งชื่อ การคำนวณสัดส่วนของตัวเรือนที่กลายมาเป็นขนาดของเรือน ในคติความเชื่อต่างๆ ในการปลูกเรือนจึงได้สะท้อนให้เห็นทั้งส่วนที่เป็นพิธีกรรม ความเชื่อถือด้านโชคลางและฤกษ์ยาม คุณค่าของอัตลักษณ์สถาปัตยกรรม: เรือนไทย สามารถแยกได้เป็น 3 ประเด็นหลัก ประเด็นแรกคุณค่าของอัตลักษณ์เรือนไทยต่อตน จะประกอบด้วยคุณค่าด้านประโยชน์ใช้สอยผ่านอัตลักษณ์ที่เป็นรูปธรรมของตัวเรือน คุณค่าด้านสุนทรียศาสตร์ต่อผู้พบเห็น คุณค่าด้านสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้อยู่อาศัย คุณค่าส่งเสริมความดีงามแก่ผู้ใช้สอยภายในครอบครัว และคุณค่าด้านความตระหนักรู้และสำนึกรักแผ่นดิน ประเด็นที่สองคุณค่าของอัตลักษณ์เรือนไทยต่อสังคม ประกอบด้วย คุณค่าแฝงหลักธรรมพุทธศาสนา คุณค่าส่งเสริมความผูกผันของคนในครอบครัว คุณค่าก่อเกิดความสามัคคี ความเกื้อกูลและสร้างความเข้าใจอันดีในชุมชนและคุณค่าในการแสดงออกซึ่งสถานะทางสังคม และประเด็นสุดท้ายคือคุณค่าของอัตลักษณ์เรือนไทยต่อประเทศชาติ ด้วยเรือนไทยคือมรดกทางภูมิปัญญาของชาติไทย และนำชาติสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน แนวทางการสืบสานคุณค่าของอัตลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย ที่ผู้วิจัยเสนอนี้สามารถนำไปปรับใช้ได้กับทุกกลุ่มคน เพื่อจะได้เป็นการเผยแพร่ภูมิปัญญาที่สำคัญของชาติและสืบสานคุณค่าให้อยู่คู่กับสังคมไทยสืบไป โดยมีแนวทางการสืบสานดังนี้ 1) การเน้นย้ำให้เห็นความสำคัญและคุณค่าของอัตลักษณ์เรือนไทย 2) การปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ถึงภูมิปัญญา 3) การปรับประยุกต์ภูมิปัญญาที่มีอยู่เดิมให้เข้ากับสมัยปัจจุบัน 4) การปลูกฝังให้เกิดอุปนิสัยแห่งความเพียรพยายาม 5) การถ่ายทอดองค์ความรู้ทั้งรูปแบบและจิตวิญญาณของความเป็นเรือนไทยและคนไทยผ่านสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา ตลอดจนภาครัฐที่เกี่ยวข้อง 6) การส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายและกระจายองค์ความรู้สู่ชุมชน 7) การบูรณาการเข้าสู่การเรียนรู้ในลักษณะของการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community Based Learning) 8) การต่อยอดเพื่อเข้าสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ และ 9) การเผยแพร่คุณค่าของอัตลักษณ์สถาปัตยกรรมไทยผ่านสื่อในรูปแบบต่างๆ ซึ่งแนวทางดังกล่าวนี้คือรากฐานของการพัฒนาคนผ่านฐานวัฒนธรรมของไทยในการพัฒนาจิตใจและจิตสำนึกให้ตระหนักในคุณค่าของอัตลักษณ์สถาปัตยกรรมไทยตามวิถีไทยเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในสังคมไทยต่อไป |
Other Abstract: | The objectives of this research were 1) to analyze Thai architectural identity 2) to analyze the value of Thai architectural identity and 3) to present the transmission guideline of value of Thai architectural identity. The research operation contained 4 steps included 1) Documentary research and 2) In-depth interview from the architectural expert to analyze Thai architectural identity 3) Documentary research, field study and focus group to present the transmission guideline of value of Thai architectural identity and verified by expert and 4) Research conclusion and processing. The results found that Thai architectural identity of Thai house revealed 2 characteristics; concrete Thai house identity and abstract Thai house identity. Concrete Thai house identity corresponded to the location, weather, discoverable natural resource which were from the knowledge of ancestor as well as the social environment and culture. The concrete occurrences included risen Thai house with delicate gable which made by wood as main material and pillars which incline to each other. The body of house is able to do disassembly with the connection of balcony. The abstract Thai house was hidden under the untouchable architecture but appeared from the sense of living, using and touching. The building of Thai house related to the paranormal things included holy thing, religion and belief of auspicious occasion, naming, calculating the ratio of house to be the size of house. The belief of building the house resounded the ritual and belief of luck and the belief of auspicious. The value of architectural identity of Thai house can be identified to 3 main topics. The first one was the value of Thai house identity included the benefit of usage through the concrete identity of the house, the aesthetic value to whom may see, the value of mental engagement of resident, the value of merit for the resident and the value of the realizing and appreciating in the land. The second topic was the value of Thai house to the society included the value with principle of Buddhism, the value of family engagement, the value of harmoniousness, support and well understanding in the community and value of appearance of social status and the last topic was the value of Thai house identity to the nation because Thai house is the heritage of Thai wisdom and lead the country to the sustainable development. Transmission guideline of value of Thai architectural identity which researcher presented can be applied to everyone to distribute the crucial national knowledge and transmit the value to stay along with Thai society with following transmission guideline 1) Emphasizing the importance and value of Thai house identity 2) Cultivating the conscious mind in knowledge conservation 3) Applying the former knowledge to the current 4) Cultivating the behavior of perseverance 5) Relaying the knowledge in both pattern and soul of Thai house and Thai people through the family, school as well as the related government sector 6) The promotion of activity which associated with the network establishment and knowledge distribution to the community 7) The integration to the lesson in the term of community based learning 8) Building on to access the creative economy and 9) Propagating the value of Thai architectural identity through a variety of media. Such guideline would be the base of human development through the base of Thai culture in mental development and conscious mind to realize in the value of Thai architectural identity follow Thai path to provide the sustainable development in Thai society. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | พัฒนศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45411 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.905 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2014.905 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5384487527.pdf | 7.34 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.