Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4556
Title: | การจำแนกชนิดโดยใช้ลำดับเบสของยีน Small subunit ribosomal RNA (SSUrRNA) และการเพิ่มจำนวนยีน Rhoptry associated protein-1 (rap-1) ของเชื้อมาลาเรียไก่ที่ระบาดในประเทศไทย ด้วยเทคนิคโพลิเมอเรสเชนรีแอคชัน |
Other Titles: | Identification of avian malaria parasite transmitted in Thailand based on small subunit ribosomal RNA (SSUrRNA) and amplification of rhoptry ascociated protein-1 (rap-1) gene using polymerase chain reaction |
Authors: | ทวี สายวิชัย |
Advisors: | สุวรรณี นิธิอุทัย โกสุม จันทร์ศิริ พงชัย หาญยุทธนากร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | No information provided No information provided [email protected] |
Subjects: | มาลาเรีย ไก่ -- โรค ปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรส |
Issue Date: | 2542 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | จำแนกชนิดของเชื้อมาลาเรียไก่ 3 ไอโซเลท ที่พบในพื้นที่รอบนอกของกรุงเทพมหานครและจังหวัดข้างเคียง โดยการเพิ่มจำนวนดีเอ็นเอส่วนของยีนที่มีรหัสในการสร้าง small subunit ribosomal RNA(SSUrRNA) ช่วงลำดับเบสที่ 1,422 ถึง 1,702 ด้วยปฏิกิริยา polymerase chain reaction และเปรียบเทียบกับลำดับเบสที่ได้กับยีนที่มีรหัสในการสร้าง SSUrRNA ของเชื้อมาลาเรียที่พบในสัตว์ปีก 3 ชนิดอื่นในฐานข้อมูล GeneBank คือ Plasmodium gallinaceum, P.lophurae และ P.relictum จากการเปรียบเทียบลำดับเบสด้วยโปรแกรม DNASIS พบว่าลำดับเบสที่ได้มีความเหมือนกันกับยีน SSUrRNA ของเชื้อมาเลเรียชนิด P.gallinaceum ถึง 100% และมีความเหมือนกันกับยีน SSUrRNA เชื้อมาลาเรียชนิด P.lophurae และ P.relictum ที่ 56.2% และ 58.0% ตามลำดับ จากผลการทดลองนี้เป็นการยืนยันว่าเชื้อมาเลเรียในไก่ทั้ง 3 ไอโซเลทที่ระบาดในพื้นที่รอบนอกของกรุงเทพมหานคร และจังหวัดข้างเคียงเป็นเชื้อมาลาเรียชนิด P.gallinaceumเมื่อขยายจำนวนดีเอ็นเอจากยีน rhoptry associated protein-1 (rap-1) ของเชื้อ P.gallinaceum โดยใช้ primers ที่มีความจำเพาะต่อเชื้อมาลาเรียในคนชนิด P.falciparum ซึ่งมีความใกล้เคียงกันทางพันธุกรรม หลังการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ของปฏิกิริยาลูกโซ่โพลิเมอร์เรส ไม่ปรากฏแถบดีเอ็นเอของยีน rap-1 จากเชื้อ P.gallinaceum ในขณะที่เชื้อ P.falciparum มีแถบดีเอ็นเอปรากฏชัดเจน จากการทดลองดังกล่าวพบว่า primers ที่มีความจำเพาะต่อยีน rap-1 ของเชื้อ P.falciparum ไม่สามารถขยายจำนวนดีเอ็นเอจากยีน rap-1 ของเชื้อ P.gallinaceum ได้ ซึ่งอาจเป็นเพราะยีน rap-1 มีความแตกต่างจาก P.falciparum หรือไม่มียีนดังกล่าวอยู่ใน P.gallinaceum |
Other Abstract: | To identify 3 isolates of avian malarial parasite transmitted in Thailand using a part of small subunit ribosomal RNA (SSUrRNA) gene sequence. DNA are extracted from blood stage parasites and a part of SSUrRNA gene (1,422-1,702) is amplified by polymerase chain reaction. DNA sequence is analyzed and compared with 3 other species of avian malaria SSUrRNA gene sequence from GeneBank database (Plasmodium gallinaceum, P.lophurae and P.relictum). Computer analysis software DNASIS is used in this analysis. In the comparison, there are 100% similarity of SSUrRNA gene sequence between tested avain malaria parasite and P.gallinaceum. On the other hand, it shows 56.2% and 58.0% similarity to the SSUrRNA gene sequence of P.lophurae and P.relictum respectively. The result suggested that the avian malaria parasite transmitted in Thailand is P.gallinaceum. Polymerase chain reaction of P.gallinaceum DNA were performed using primers for rhoptry associated protein-1 (rap-1) from genetically related P.falciparum. No PCR product was found after several trial conditions while positive control (P.falciparum) DNA showed clear PCR product in all experiment. The result suggested that the P.falciparum rap-1 gene primers may not able to amplify rap-1 gene from P.gallinaceum. This may be because there are differences in rap-1 gene sequence between these two species or the absence of rap-1 gene in P.gallinaceum. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พยาธิชีววิทยาทางสัตวแพทย์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4556 |
ISBN: | 9743346694 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Vet - Theses |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.