Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4557
Title: การศึกษาเปรียบเทียบการวัดความดันเลือดแดงโดยทางตรงและทางอ้อมด้วยวิธี Oscillometric ในเสือขณะสลบ
Other Titles: Comparative studies of direct and indirect arterial blood pressure measurements by oscillometric method in anesthetized tigers
Authors: สุนทร เกียรติมานะกุล
Advisors: อติชาต พรหมาสา
มาริษศักร์ กัลล์ประวิทธ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: ความดันเลือด -- การวัด
การวางยาสลบสัตว์
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาเปรียบเทียบการวัดความดันเลือดแดงโดยตรงและโดยทางอ้อมด้วยวิธี oscillometric ในเสือขณะสลบ โดยใช้เสือโคร่งสุขภาพดีจำนวน 12 ตัว เป็นเพศผู้ 7 ตัว และเพศเมีย 5 ตัว อายุเฉลี่ย 4+-1.39 เดือน น้ำหนักเฉลี่ย 18+-10.65 กก. วางยาสลบโดยใช้ ketamine, xylazine และ atropine sulphate รวมเข็มเดียวกัน บริหารเข้ากล้ามเนื้อ จดบันทึกอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันเลือดแดง systolic, diastolic และความดันเลือดแดงเฉลี่ย โดยวัดความดันเลือดแดงโดยตรงที่บริเวณข้อเท้าขาหลังซ้าย และวัดความดันเลือดแดงโดยทางอ้อมด้วยวิธี oscillometric ที่ข้อเท้าขาหลังขวา และที่โคนหาง ผลการศึกษาพบว่า เสือขณะสลบมีอัตราการเต้นของหัวใจ 109+-16.27 ความดันเลือดแดงที่วัดโดยตรงมีค่าเฉลี่ยของความดันเลือดแดง systolic เท่ากับ 111+-30.63 มม.ปรอท ของความดันเลือดแดง diastolic เท่ากับ 62+-28.86 มม.ปรอท และของความดันเลือดแดงเฉลี่ยเท่ากับ 81+-30.32 มม.ปรอท ความดันเลือดแดง systolic, diastolic และความดันเลือดแดงเฉลี่ยที่วัดโดยตรงแตกต่างจากที่วัดโดยทางอ้อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่มีสหสัมพันธ์ต่อกัน ความดันเลือดแดง systolic ที่วัดโดยตรงกับที่วัดโดยทางอ้อมที่ข้อเท้าขาหลังมีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.80 ในขณะที่ความดันเลือดแดงเฉลี่ยที่วัดโดยตรงกับที่วัดโดยทางอ้อมที่ข้อเท้าขาหลัง มีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.77 และพบว่า ส่วนใหญ่ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างการวัดโดยตรงกับโดยทางอ้อมที่ข้อเท้าขาหลังมีค่าสูงกว่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างการวัดโดยตรงกับการวัดโดยทางอ้อมที่โคนหาง และวิธีการวัดโดยทางอ้อมที่ข้อเท้าให้ค่าใกล้เคียงกับค่าที่วัดโดยตรงมากกว่าวิธีการวัดโดยทางอ้อมที่โคนหาง แต่ความดันที่วัดโดยทางอ้อมที่ 2 ตำแหน่งดังกล่าวไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ในกลุ่มความดันเลือดแดงเฉลี่ยต่ำกว่า 60 มม.ปรอท ความดันเลือดแดงเฉลี่ยที่วัดโดยทางอ้อมที่ข้อเท้าขาหลังมีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.87 ส่วนในกลุ่มความดันเลือดแดง systolic ต่ำกว่า 100 มม.ปรอทความดันเลือดแดง systolic ที่วัดโดยตรงกับที่วัดโดยทางอ้อมที่ข้อเท้าขาหลังมีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.79 และความดันเลือดแดงเฉลี่ยที่วัดโดยตรงกับที่วัดโดยทางอ้อมที่ข้อเท้าขาหลังมีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.87 จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการวัดความดันเลือดแดงเฉลี่ยโดยทางอ้อมด้วยวิธี oscillometric ที่ข้อเท้าขาหลังให้ค่าประมาณที่สัมพันธ์กันมากกับความดันเลือดแดงเฉลี่ยที่วัดโดยตรงในเสือ และสามารถวัดได้ถึงแม้ว่าจะมีความดันเลือดแดงเฉลี่ยต่ำกว่า 60 มม.ปรอทหรือมีความดันเลือดแดง systolic ต่ำกว่า 100 มม.ปรอท
Other Abstract: Direct and indirect arterial blood pressure measurements by oscillometric method were comparatively studied in twelve anesthetized healthy tigers of seven males and five females aging 4+-1.39 months and weighing 18+-10.65 kg. Tigers were anesthetized with ketamine, xylazine and atropine sulphate. Heart rate, systolic, diastolic and mean arterial pressures were recorded. Direct arterial blood pressures were measured at the dorsal metatarsal artery of the left hock while indirect blood pressure measurements by oscillometric method were made at the right hock and tail base. Means (+-SD) of heart rates, systolic, diastolic and mean arterial blood pressures were 109+-16.27, 111+-30.63, 62+-28.86 and 81+-30.32 mm.Hg respectively. Direct systolic, diastolic and mean arterial blood pressures were significantly different (p<0.05) from those of indirect blood pressure measurements. However, they were correlated. High correlation was observed between direct and indirect systolic blood pressures measured at the right hock with r = 0.80, while moderate correlation was found between direct and indirect mean arterial blood pressures measured at the right hock with r = 0.77. Most of the correlation coefficients between direct and indirect blood pressures measured at the right hock were higher than the correlation coefficients between direct and indirect arterial blood pressures measured at the tail base. The results indicated that the indirect arterial blood pressure measurement at the right hock provided better estimates of systolic, diastolic and mean arterial blood pressures than the indirect blood pressure measurement at the tail base. However, there was no significant difference (p>0.05) between the indirect arterial blood pressures measured at the two sites. In group of mean arterial blood pressures below 60 mm.Hg, high correlation was observed between direct and indirect mean arterial blood pressures measured at the right hock with r = 0.87. In group of systolic pressures below 100 mm.Hg, moderate correlation was observed between direct and indirect systolic blood pressures measured at the right hock with r = 0.79 while high correlation was evident between direct and indirect mean arterial blood pressures with r = 0.87. The results indicated that the indirect blood pressure measurement by oscillometric method at the right hock of tigers gave better estimates of mean arterial blood pressure though the animal had mean arterial blood pressure lower than 60 mm.Hg or systolic arterial blood pressure lower than 100 mm.Hg.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศัลยศาสตร์ทางสัตวแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4557
ISBN: 9741309929
Type: Thesis
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SoontornKiart.pdf2.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.