Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4558
Title: การศึกษาเปรียบเทียบจำนวนตัวอสุจิในปีกมดลูกและท่อนำไข่ของสุกรสาว ในชั่วโมงที่ 3 และ 12 ภายหลังการผสมเทียม โดยแบ่งและไม่แบ่งส่วนน้ำเชื้อเจือจาง
Other Titles: A comparative study on the number of recovered spermatozoa in gilt uterine horns and oviducts 3 and 12 hours after artificial insemination of fractionated and not fractionated liquid
Authors: กฤษทศักดิ์ แสงกาศนีย์
Advisors: อรรณพ คุณาวงษ์กฤต
มงคล เตชะกำพุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: สุกร -- การผสมเทียม
อสุจิ
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาเปรียบเทียบจำนวนตัวอสุจิที่ไหลย้อนกลับ และปริมาณตัวอสุจิในปีกมดลูกและท่อนำไข่ของสุกรสาว ในการผสมเทียมโดยใช้น้ำเชื้อเจือจางและตามด้วยน้ำยาละลายน้ำเชื้อ และการผสมเทียมโดยใช้น้ำเชื้อเจือจางเพียงอย่างเดียว ซึ่งใช้สุกรสาวสามสายพันธุ์ทั้งสิ้น 30 ตัวแบ่งเป็น 3 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ 1 ผสมเทียมโดยใช้น้ำเชื้อเจือจางที่มีตัวอสุจิทั้งหมด 3x(10x10x10x10x10x10x10x10x10) ตัว/100 มิลลิลิตรเพียงอย่างเดียว กลุ่มที่ 2 ผสมเทียมโดยใช้น้ำเชื้อเจือจางที่มีตัวอสุจิทั้งหมด 3x(10x10x10x10x10x10x10x10x10) ตัว/50 มิลลิลิตรและตามด้วยน้ำยาละลายน้ำเชื้อ 50 มิลลิลิตรและในกลุ่มที่ 3 ผสมเทียมโดยใช้น้ำเชื้อเจือจางที่มีตัวอสุจิ ทั้งหมด 1.5x(10x10x10x10x10x10x10x10x10) ตัว/50 มิลลิลตรและตามด้วยน้ำยาละลายน้ำเชื้อ 50 มิลลิลิตร ในแต่ละกลุ่มจะผ่าตัดเพื่อนำเอามดลูก ปีกมดลูก ท่อนำไข่ และรังไข่ของสุกรทดลองภายหลังทำการผสมเทียม 3 ชั่วโมงจำนวน 5 ตัวและ 12 ชั่วโมงจำนวน 5 ตัวเพื่อชะล้างเอาตัวอสุจิมานับจากส่วนต่างๆ ผลการศึกษาค่าเฉลี่ยจำนวนตัวอสุจิทั้งหมดภายหลังการผสมเทียม 3 ชั่วโมง พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเฉพาะในส่วนต้นของ Isthmus โดยกลุ่มที่ 1 มีจำนวนอสุจิมากกว่ากลุ่มที่ 3 (223.9+-22.4 และ 1.0+-1.0; p<0.05) แต่กลุ่มที่ 2 ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกลุ่มที่ 1 และ 3(p>0.05) และในส่วน Ampulla, ส่วนปลายของ Isthmus, ส่วน Utero-tubal junction (UTJ) และในส่วนต้นและปลายของปีกมดลูกพบว่า ไม่พบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยจำนวนตัวอสุจิทั้งหมดทั้ง 3 กลุ่ม (p>0.05) ค่าเฉลี่ยจำนวนตัวอสุจิทั้งหมดภายหลังการผสมเทียม 12 ชั่วโมง ไม่พบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยจำนวนตัวอสุจิทั้งหมด ในส่วนของปีกมดลูกและท่อนำไข่ทั้ง 3 กลุ่มการทดลอง (p>0.05) จากการศึกษานี้สามารถสรุปได้ว่าวิธีการผสมเทียม กลุ่มที่ 1 ไม่มีความแตกต่างกับวิธีผสมเทียมในกลุ่มที่ 2 และพบว่าจำนวนตัวอสุจิในท่อนำไข่ในกลุ่มที่ 1 มากกว่า กลุ่มที่ 2 อย่างไรก็ตามไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนจำนวนตัวอสุจิในท่อนำไข่ในกลุ่มที่ 2 มีจำนวนมากกว่าในกลุ่มที่ 3 เนื่องจากการลดจำนวนตัวอสุจิที่ใช้ในการผสมในกลุ่มที่ 3 อย่างไรก็ตามไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract: To compare the back flow of spermatozoa with the number of spermatozoa in the uterine horns and oviducts of gilts using artificial insemination (A.I.) with liquid stored-semen and liquid stored-semen followed by diluent. Thirty, healthy gilts were allocated into 3 groups, group 1 gilts were inseminated with liquid stored-semen, 3x(10x10x10x10x10x10x10x10x10) spermatozoa/100 cc., group 2 gilts were inseminated with liquid stored-semen, 3x(10x10x10x10x10x10x10x10x10) spermatozoa/50 cc., followed by 50 cc. of diluent, and group 3, gilts were inseminated with liquid stored-semen, with a total spermatozoa count of 1.5x(10x10x10x10x10x10x10x10x10) spermatozoa/50 cc., followed by 50 cc. of diluent. The gilts were anesthetized for laparotomy, either 3 or 12 hours after A.I. Five of the gilts from each group were anesthetized for laparotomy at 3 hours after A.I. Nine hours later, or twelve hours after A.I., another five gilts from each group underwent the same procedure. Only in one segment of cranial isthmus was the mean count of spermatozoa number, 3 hours after A.I., significantly higher in group 1 compared to group 3(223.9+-22.4 and 1.0+-1.0; p<0.05), but there was no significant difference between group 2 and group 3. The mean of spermatozoa count in the segment of cranial and caudal uterine horns, ampulla, caudal isthmus and utero-tubal junction (UTJ) were not significantly different (p>0.05) in the three groups, three hours after A.I. for all segments, the mean of spermatozoa number, 12 hours after A.I., were not significantly different (p>0.05) between the three groups. The conclusion of this study was that A.I. method was not different in group 1 compared with group 2 and spermatozoa number in oviduct in group 1 was higher than group 2 (p>0.05). The spermatozoa number in oviduct in group 3 was fewer than group 2 (p>0.05) because the inseminated spermatozoa in group 3 was reduce.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาการสืบพันธุ์สัตว์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4558
ISBN: 9743470522
Type: Thesis
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kridtasakSang.pdf845.93 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.