Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45736
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วีรพันธุ์ โขวิฑูรกิจ | en_US |
dc.contributor.advisor | พัชญา บุญชยาอนันต์ | en_US |
dc.contributor.author | มงคลธิดา อัมพลเสถียร | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-09-17T04:04:51Z | - |
dc.date.available | 2015-09-17T04:04:51Z | - |
dc.date.issued | 2557 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45736 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 | en_US |
dc.description.abstract | ที่มา/วัตถุประสงค์ ผลจากการศึกษาต้นแบบแสดงให้เห็นว่า การจำกัดพลังงานในอาหารในคนไข้เบาหวานชนิดที่ 2 โดยการรับประทานอาหารพลังงานต่ำมากเพียงอย่างเดียว สามารถทำให้การทำงานของเบต้าเซลล์กลับสู่สภาวะปกติ คนไข้สามารถหยุดยารักษาโรคเบาหวานได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงประสิทธิภาพในทางคลินิกของการรักษาด้วยวิธีการโภชนะบำบัดโดยการจำกัดพลังงานในอาหาร ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เกี่ยวข้องของสมดุลของน้ำตาล การเปลี่ยนแปลงทางเมตาบอลิสมและคุณภาพชีวิต แบบผู้ป่วยนอก ประชากรและวิธีการศึกษา: บุคลากรของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 19 ราย มีอายุเฉลี่ย 48 ±7 ปี ดัชนีมวลกายเฉลี่ย 28 ± 0.8 กิโลกรัมต่อตารางเมตร มีค่ามัธยฐานของระยะเวลาการเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นเวลา 3 ปี ช่วงก่อนเริ่มการศึกษาจริง 2 สัปดาห์ ผู้เข้าร่วมการศึกษาได้รับการจำกัดพลังงานในอาหาร (600 กิโลแคลอรี่ต่อวัน) เป็นบางวัน ช่วงได้รับการจำกัดพลังงานในอาหารแบบผู้ป่วยนอกต่อเป็นเวลา 8 สัปดาห์ (สัปดาห์ที่ 1-8)และ ช่วงสัปดาห์ที่ 9-12 ผู้เข้าร่วมการศึกษารับประทานอาหารที่มีพลังงานเพิ่มขึ้นจนถึง 1500 กิโลแคลอรี่ต่อวัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ผู้เข้าร่วมการศึกษาได้รับการตรวจเลือดทางชีวเคมีเพื่อประเมินสมดุลของระดับน้ำตาล และเมตาบอลิคอื่นๆ รวมทั้งคุณภาพชีวิต ที่ 4 ,8 และ12 สัปดาห์ ผลการวิจัย : ผู้เข้าร่วมการวิจัยทุกราย สามารถหยุดยาเบาหวานได้ ตั้งแต่ช่วงก่อนเริ่มการศึกษาจริง พบการลดลงของระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารและน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด(HbA1c) หลัง 8 สัปดาห์ของการจำกัดพลังงานในอาหารเทียบกับสัปดาห์ที่ -2 (94±6 vs 183± 17 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ตามลำดับ, p = <0.001 และ 5.7±0.2 vs 7.5±0.4 %ตามลำดับ, p=0.001) เมื่อสิ้นสุดการศึกษาที่สัปดาห์ที่ 12 พบการลดลงของ ค่าเฉลี่ยของน้ำหนักตัวเทียบกับสัปดาห์ที่ -2 (62.1 ± 2.6 vs 71.6 ± 2.9 กิโลกรัมตามลำดับ, p = <0.001), ดัชนีมวลกาย (24.1 ± 0.7 vs 27.7 ± 0. ± 0.8 กิโลกรัมต่อตารางเมตรตามลำดับ, p <0.001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การจำกัดพลังงานในอาหารมีความสัมพันธ์ กับการดีขึ้นของความไวต่ออินซูลินและการหลั่งของอินซูลิน หลัง 8 สัปดาห์ของการจำกัดพลังงานในอาหารเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ -2 ดังแสดงจาก HOMA 1-IR (1.5 ± 0.2 vs 5.8 ± 0.9ตามลำดับ , p = 0.001) Matsuda Index (6.8 ± 0.9 vs 2.5 ± 0.3 ตามลำดับ, p = 0.012) และ Disposition index (2.3 ± 0.4 vs 0.5 ± 0.1ตามลำดับ, p = 0.001) ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้แก่ ภาวะท้องผูกและอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง และพบการเพิ่มขึ้นของคุณภาพชีวิต แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อสิ้นสุดการศึกษาไม่พบผู้เข้าร่วมการวิจัยต้องเริ่มยารักษาเบาหวานใหม่ สรุปผลการวิจัย อาหารพลังงานต่ำมากสามารถทำให้เกิดการควบคุมของเบาหวานได้ มีการควบคุมของน้ำหนักตัว มีความไวต่ออินซูลินและการหลั่งของอินซูลินที่ดีขึ้น การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการจำกัดพลังงานในอาหารเป็นทางเลือกที่ดีอีกทางเลือกและน่าสนใจในการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 | en_US |
dc.description.abstractalternative | Aim/hypothesis: Recent studies have demonstrated that acute negative caloric balance alone can reverse type 2 diabetes. This pilot study was designed to determine the effect of an outpatient dietary restriction of energy intake on the glycemic control , quality of life and other metabolic parameters in personnel of King Chulalongkorn Memorial Hospital with type 2 diabetes. Method: Nineteen hospital personnel (mean age = 48 ± 7 years, BMI = 28.0 ± 0.8 kg/m2) with type 2 diabetes (median duration of diabetes = 3 [IQR 5.8] years) were enrolled. In the run-in period (week -2 to 0), participants were tried on a very low caloric diet (VLCD: 600 kcal/day). In a caloric restriction phase (weeks 1-8), participants received VLCD as an outpatient basis. In the transition period (weeks 9-12), participants received higher caloric intake in a stepwise fashion from 600 kcal/day to 1500 kcal/day. Glycemic control, other metabolic parameters and Quality of life were evaluated at weeks 4, 8 and 12. Results: All anti-diabetic medications were successfully withdrawn during the run-in period. There were significant decreases in FPG and HbA1c at week 8 compared with week -2 (FPG 94±6 vs 183±17 mg/dL, respectively, p <0.001, and HbA1C 5.7±0.2 vs 7.5±0.4 %, respectively, p=0.001). At the end of week 12, there were significant decreases in body weight and BMI compared with week -2(Body weight 62.1 ±2.6 vs 71.6 ± 2.9 kg, respectively, p <0.001and BMI 24.1 ± 0.7 vs 27.7 ± 0.8 kg/m2, respectively, p <0.001). Dietary caloric restriction was associated with marked improvement in insulin sensitivity and insulin secretion at week 8 compared with week -2, as reflected in HOMA 1-IR (1.5 ± 0.2 vs 5.8 ± 0.9 , respectively p = 0.001), Matsuda index (6.8 ± 0.9 vs 2.5 ± 0.3 respectively, p = 0.012 ) and Disposition index (2.3 ± 0.4 vs 0.5 ± 0.1 respectively, p = 0.001) . The most common adverse events were constipation and myalgia. No serious adverse events were observed. QOL was not significantly different. No patients required reinstitution of anti-diabetic medication at the end of study. Conclusions: VLCD was highly effective in rapidly achieving normal glycemic control without serious adverse events. Improvement in body weight, insulin sensitivity and insulin secretion was also observed, suggesting that this modality of treatment may be an interesting option for certain patients with type 2 diabetes. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.564 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | คุณภาพชีวิต | |
dc.subject | เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน | |
dc.subject | Quality of life | |
dc.subject | Non-insulin-dependent diabetes | |
dc.subject | Low-cholesterol diet | |
dc.title | การดำเนินโรคของเบาหวาน และคุณภาพชีวิต หลังการจำกัดพลังงานในอาหารของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 | en_US |
dc.title.alternative | QUALITY OF LIFE AFTER VERY LOW CALORIC DIET TYPE 2 DIABETIC PERSONNELOF KING CHULALONGKORN MEMORIAL HOSPITAL. | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | อายุรศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | [email protected],[email protected],[email protected] | en_US |
dc.email.advisor | [email protected] | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2014.564 | - |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5674060830.pdf | 3.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.