Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45745
Title: ความชุก และปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวล และซึมเศร้าในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่มีทวารเทียมทางหน้าท้องในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
Other Titles: Prevalence and Associated Factors of Anxiety and Depression in Colorectal Cancer Colostomy Patients at King Chulalongkorn Memorial Hospital.
Authors: วิลาสินี พิพัฒน์ผล
Advisors: โสฬพัทธ์ เหมรัญช์โรจน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ความวิตกกังวล -- ไทย -- กรุงเทพฯ
ความซึมเศร้า -- ไทย -- กรุงเทพฯ
ความนับถือตนเอง -- ไทย -- กรุงเทพฯ
โคลอน (ลำไส้ใหญ่) -- ศัลยกรรม -- ผู้ป่วย -- ไทย -- กรุงเทพฯ
ทวารหนัก -- มะเร็ง -- ผู้ป่วย -- ไทย -- กรุงเทพฯ
Anxiety -- Thailand -- Bangkok
Depression -- Thailand -- Bangkok
Self-esteem -- Thailand -- Bangkok
Colon (Anatomy) -- Surgery -- Patients -- Thailand -- Bangkok
Colon (Anatomy) -- Cancer -- Patients -- Thailand -- Bangkok
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ.จุดเวลาใด เวลาหนึ่ง (Cross-Sectional Descriptive study) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุก (Prevalence) และปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ที่มีทวารเทียมทางหน้าท้อง ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ที่ได้รับการผ่าตัดเปิดทวารเทียมทางหน้าท้อง ที่มารับบริการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก คลินิกศัลยกรรม ตึก ภปร.ชั้น 6 จำนวน 80 ราย ตั้งแต่ เดือนพฤษภาคม จนถึง เดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 โดยให้ผู้ป่วยตอบแบบสอบถามทั้งหมด 4 ส่วน ด้วยตนเอง ได้แก่ 1) ข้อมูลทั่วไปและข้อมูลด้านการรักษา 2) แบบสอบถามความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง 3) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม 4) แบบวัดภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า Thai-HADS การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ Chi-Square test สหสัมพันธ์ของเพียรสัน (Pearson Correlation) และใช้สถิติ Multivariate Logistic Regression analysis เพื่อหาปัจจัยทำนายภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าโดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ มีความชุกของภาวะวิตกกังวล ร้อยละ 35 และความชุกของภาวะซึมเศร้าร้อยละ 10 และพบว่าปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ อายุ ระยะเวลาในการเจ็บป่วย ระยะเวลาที่มีทวารเทียม ภาวะแทรกซ้อนที่ผู้ป่วยหรือกลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญในเรื่อง การเข้าสังคม ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และการสนับสนุนทางสังคม และปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และการสนับสนุนทางสังคม และมีปัจจัยที่ทำนายภาวะวิตกกังวล ได้แก่ อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป (OR=5.07; 95%CI=1.57-16.42) ระยะเวลาในการเจ็บป่วยน้อยกว่า 6 เดือน (OR=5.19; 95%CI=1.14-23.64) และระยะเวลาที่มีทวารเทียมน้อยกว่า 3 เดือน (OR=4.96, 95%CI=1.58-15.58) แต่ไม่สามารถหาปัจจัยทำนายของภาวะซึมเศร้าได้เนื่องจากไม่ตรงตามเงื่อนไขที่มีผู้ป่วยแค่ 8 case เท่านั้น ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และการสนับสนุนทางสังคมเป็นปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่มีทวารเทียมทางหน้าท้อง ดังนั้นการส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และการสนับสนุนทางสังคม อาจจะช่วยลดภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ได้รับการผ่าตัดเปิดทวารเทียมทางหน้าท้องได้
Other Abstract: The purpose of this cross-sectional descriptive study was to estimate the prevalence and associated factors of anxiety and depression in colorectal cancer patients after colostomy surgery at King Chulalongkorn Memorial Hospital. Data were collected from 80 patients with colorectal cancer after colostomy surgery at Out-Patient Department of Surgery, King Chulalongkorn Memorial Hospital from May to October 2014. Self-report included:1) Demographic data and medical history; 2) Self-esteem questionnaire; 3) The Personal Resource Questionnaire; 4) Thai Hospital anxiety and depression scale (Thai-HADS) All these were complete by the patients. The data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, Chi-Square test, Pearson’s correlation and multivariate logistic regression analysis to predict associated factors with anxiety and depression in colorectal cancer colostomy patients. A p-value of less than 0.05 was considered statistically significant. The results showed that the prevalence of anxiety in colorectal cancer colostomy patients were 35 percent and the prevalence of depression in colorectal cancer colostomy patients were 10 percent. The statistically significant factors associated with anxiety were age, duration of illness, duration of colostomy surgery, socialization, self-esteem and social support. Self-esteem and social support were significantly associated with depression. In multivariate regression analysis, statistically significant factors associated with anxiety were aged 60 years or more (OR=5.07; 95%CI=1.57-16.42), duration of illness less than 6 months (OR=5.19; 95%CI=1.14-23.64) and duration of colostomy surgery less than 3 months (OR=4.96, 95%CI=1.58-15.58), but can’t do regression analysis to find factors associated with depression because limited assumption of study was found 8 patients with depression. Self-esteem and social support were associated with anxiety and depression in colorectal cancer colostomy patients. Self-esteem should be respected and social support given for post colostomy surgery colorectal cancer patients in order to decrease anxiety and depression.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45745
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.572
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.572
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5674075230.pdf3.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.