Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46047
Title: ปฏิกิริยาไฮโดรทรีตติ้งของปาล์มโอเลอินโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิลโมลิบดินัมฟอสฟอรัส
Other Titles: HYDROTREATING REACTION OF PALM OLEIN USING NICKEL MOLYBDENUM PHOSPHORUS CATALYSTS
Authors: พิชญ์สวัสดิ์ แก้วมรกต
Advisors: เจิดศักดิ์ ไชยคุนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: ไอโซเมอไรเซชัน
น้ำมันพืช
ไฮโดรจีเนชัน
ตัวเร่งปฏิกิริยา
Isomerization
Vegetable oils
Hydrogenation
Catalysts
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาการทำปฏิกิริยาไฮโดรทรีตติงของน้ำมันปาล์มโอเลอิน ปัจจัยที่ศึกษา ได้แก่ ตัวเร่งปฏิกิริยา (ตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิลโมลิบดินัมและตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิลโมลิบดินัมฟอสฟอรัส) อุณหภูมิ (300, 320, 340, 360 และ 380 องศาเซลเซียส) และความดันแก๊สไฮโดรเจน (450, 750 และ 1,050 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) การทดลองทำในเครื่องปฏิกรณ์แบบทริกเกิลเบด กำหนดความเร็วเชิงสเปซของของเหลวเท่ากับ 1.0 ต่อชั่วโมง และอัตราส่วนของแก๊สไฮโดรเจนต่อน้ำมันปาล์มโอเลอิน 500:1 โดยปริมาตร จากการศึกษาพบว่าผลิตภัณฑ์หลักที่เกิดขึ้น คือ สารประกอบนอร์มอลอัลเคน และผลิตภัณฑ์ข้างเคียง ได้แก่ น้ำ และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ร้อยละผลได้ของสารประกอบอัลเคนทั้งหมดเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิและความดันสูงขึ้น นอกจากนั้นอุณหภูมิและความดันยังส่งผลต่อการเลือกเกิดของปฏิกิริยาในการกำจัดออกซิเจน การเพิ่มอุณหภูมิส่งผลให้เกิดเส้นทางของปฏิกิริยาดีคาร์บอกซิเลชันและปฏิกิริยาดีคาร์บอนิลเลชัน ส่วนของการเพิ่มความดันส่งผลให้เกิดเส้นทางของปฏิกิริยาไฮโดรดีออกซิจิเนชัน การใช้ตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิลโมลิบดินัมและตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิลโมลิบดินัมฟอสฟอรัสพบว่าเกือบจะไม่มีความแตกต่างในการผลิตสารประกอบอัลเคนทั้งหมด อย่างไรก็ตามการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิลโมลิบดินัมฟอสฟอรัสให้ปริมาณสารประกอบไอโซอัลเคนสูงกว่าตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิลโมลิบดินัม จากงานวิจัยนี้ ตัวเร่งปฏิกิริยาและภาวะที่เหมาะสมในการทำปฏิกิริยาไฮโดรทรีตติงและปฏิกิริยาไอโซเมอไรเซชันของน้ำมันปาล์มโอเลอิน คือ ตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิลโมลิบดินัมฟอสฟอรัส อุณหภูมิ 380 องศาเซลเซียส และความดันแก๊สไฮโดรเจน 450 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว
Other Abstract: This research studies the hydrotreating reaction of palm olein. The following parameters were investigated: catalyst (NiMo and NiMoP catalysts), temperature (300, 320, 340, 360 and 380 oC) and H2 pressure (450, 750 and 1,050 psig). The experiments were carried out in a trickle-bed reactor at constant LHSV of 1 h-1 and H2/oil ratio of 500:1 by volume. The experimental results showed that main product was n-alkanes and by-products were water and carbondioxide gas. The yield of total alkanes increased with the increase in temperature and pressure. Moreover, temperature and pressure affected the selectivity of deoxygenation reaction. Increasing the temperature enhanced decarboxylation and decarbonylation pathways. Increasing the pressure increased hydrodeoxygenation pathway. NiMo and NiMoP catalysts showed almost no difference in producing total alkanes in product yield. However, NiMoP catalyst gave a higher amount of iso-alkanes than NiMo catalyst. Based on this research, the catalyst and conditions suggested for hydrotreating reaction and isomerization reaction of palm olein were NiMoP catalyst at 380 oC and 450 psig H2 pressure.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46047
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.798
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.798
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5570316721.pdf3.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.