Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46086
Title: ประสิทธิภาพการกันความร้อนของแผงอลูมิเนียมฉลุลาย
Other Titles: THERMAL PERFORMANCE OF PERFORATED ALUMINIUM SCREEN DEVICES
Authors: ยงยุทธ อิ่มสงวน
Advisors: อรรจน์ เศรษฐบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
Subjects: อาคาร -- การออกแบบและการสร้าง
ความร้อน -- การถ่ายเท
วัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้าง
Buildings -- Design and construction
Heat -- Transmission
Building materials
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาประสิทธิภาพการกันความร้อนเข้าสู่ตัวอาคาร โดยใช้แผงกันแดดอลูมิเนียมฉลุลายที่มีขนาดความโปร่งต่างๆกัน และศึกษาถึงความสัมพันธ์ที่เหมาะสมระหว่างรูปแบบแผงกันแดดอลูมิเนียมกับพลังงานความร้อนที่เข้าสู่อาคาร นอกจากนี้เพื่อกำหนดแนวทางการเลือกใช้รูปแบบแผงกันแดดอลูมิเนียม ฉลุลายให้เหมาะสมกับประเภทของอาคาร โดยใช้ตัวแปรค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อน (U-value) และค่าสัมประสิทธิ์การบังแดด (Shading coefficient-SC) การศึกษาวิจัยและจำลองผล ขนาดความโปร่งของแผงกันแดดอลูมิเนียมฉลุลาย 4 ขนาดความโปร่ง ได้แก่ ขนาดความโปร่งที่ 20% 35% 50% และ 65% ตามลำดับ รวมถึงสีของแผงกันแดดอลูมิเนียมฉลุลาย 3 สี ได้แก่ สีขาว,สีเทา และสีดำ และอาคารอ้างอิง (Reference building) ได้แก่ ตึกแถว ซึ่งมีขนาด กว้าง 4 ม. ลึก 12 ม. สูง 18 ม. โดยขั้นตอนการดำเนินการวิจัยส่วนแรก ทำการวัดและบันทึกค่าอุณหภูมิจากกล่องทดลอง เพื่อนำมาคำนวณในสมการคณิตศาสตร์ให้ได้ค่าการถ่ายเทความร้อน (U-value) และสัมประสิทธิ์การบังเงา (SC) หลังจากนั้นแทนค่าตัวแปรดังกล่าวในขั้นตอนวิจัยส่วนที่สอง ซึ่งจำลองการใช้งานกับอาคารอ้างอิง ผลที่ได้จากการจำลองอาคารนำมาเปรียบเทียบการใช้พลังงานไฟฟ้าในแต่ละกรณี เพื่อสร้างแนวทางการปรับปรุงอาคารให้สามารถลดการใช้พลังงานได้อย่างเหมาะสม จากการทดลองสรุปได้ว่า อาคารที่ใช้แผงกันแดดอลูมิเนียมฉลุลายที่มีความโปร่ง 20% สามารถกันความร้อนเข้าสู่ตัวอาคารได้ดีกว่าอาคารที่ใช้แผงกันแดดอลูมิเนียมฉลุลายที่มีความโปร่ง 35% 50% 65% ตามลำดับ และอาคารที่ไม่ได้ใช้แผงกันแดดอลูมิเนียมฉลุลาย โดยบ้านพักอาศัยที่ติดตั้งแผงกันแดดอลูมิเนียมฉลุลาย สีขาว ที่ความโปร่ง 20% สามารถช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้มากที่สุด คือ 20.65% ทิศทางอาคารหันไปทางทิศใต้ และมีระยะเวลาในการคืนทุน 22 ปี 10 เดือน 24 วัน ส่วนสำนักงานที่ติดตั้งแผงกันแดดอลูมิเนียมฉลุลาย สีขาว ที่ความโปร่ง 20% สามารถช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้มากสุด คือ 9.89% ทิศทางอาคารหันไปทางทิศเหนือ และมีระยะเวลาในการคืนทุน 23 ปี 10 เดือน 24 วัน และ อาคารที่ใช้แผงกันแดดอลูมิเนียมฉลุลายสีขาวมีความโปร่งเดียวกันสามารถกันความร้อนเข้าสู่ตัวอาคารได้ดีกว่าอาคารที่ใช้แผงกันแดดอลูมิเนียมฉลุลายสีดำ
Other Abstract: The objective of this research was to study the performance of perforated aluminum shading on reducing indoor heat gain by comparing the shading screens that were different in perforation percentage. In addition, the research was conducted to study the relationship between shading pattern and heat transfer. The other purpose of this study was to determine the proper choice of aluminum shading pattern by considering the building type. Heat transfer coefficient (U-value) and Shading coefficient (SC) were calculated to find out the best solution in this stage. The thermal simulation was carried out by using four different perforation percentages that were 20%, 35%, 50% and 65% in three different colors, white, gray and black. A row-house building was used as a reference building. For the first stage of the experiment, the temperature data of the test box was measured and recorded in order to calculate U-value and Shading coefficient (SC) with mathematical method. U-value and SC from the test box were used as the variables in computer simulation of the reference building. The results of cooling energy consumption in the simulation were compared to establish guidelines for building energy retrofit. The results demonstrated that the building screen with 20% perforation percentage performed the best for reducing heat gain in building, followed by the building screen with 35%, 50%, 65% and non-shading device, respectively. The residential building using white aluminum shading with 20% perforation showed the highest percentage of energy saving that was 20.65%. However, the result performed most effectively on the South. This offered a payback period of 22 years 10 months and 24 days
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46086
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.816
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.816
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5573569725.pdf8.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.