Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46097
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรุ้งระวี นาวีเจริญen_US
dc.contributor.authorวิมลรัตน์ เดชะen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-18T04:22:11Z-
dc.date.available2015-09-18T04:22:11Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46097-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยสหสัมพันธ์เชิงทำนายมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิต ความสัมพันธ์และอำนาจในการทำนายของปัจจัยได้แก่ ประสบการณ์การมีอาการ ความร่วมมือในการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดและการสนับสนุนทางสังคม กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่มีทวารเทียมและได้รับเคมีบำบัด อายุ 18-59 ปี ที่มารับการรักษาที่หน่วยเคมีบำบัดของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และคณะแพทย์ศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช จำนวน 110 คน โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามคุณภาพชีวิตแบบสอบถามประสบการณ์การมีอาการ แบบสอบถามความร่วมมือในการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด และแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถามมีค่าความเที่ยงเท่ากับ.85, .97, .86 และ .93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคุณแบบแบบนำตัวแปรเข้าทั้งหมด ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่มีทวารเทียมและได้รับเคมีบำบัด มีคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับสูง (Mean=79.60, SD=9.59) 2. ประสบการณ์การมีอาการมีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตในระดับสูง (r =-.629, p< .01) การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตในระดับปานกลาง (r=.316, p< .01) ความร่วมมือในการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่มีทวารเทียมและได้รับเคมีบำบัด 3. ประสบการณ์การมีอาการ ความร่วมมือในการรักษาด้วยาเคมีบำบัดและการสนับสนุนทางสังคมมีประสิทธิภาพในการทำนายคุณภาพชีวิตของกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่มีทวารเทียมและได้รับเคมีบำบัดได้ร้อยละ 40 (R2 =.402) โดยสร้างสมการทำนายในรูปของคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้ Zy= -.646 Zประสบการณ์การมีอาการ*+ .114 Zความร่วมมือในการรักษาด้วยาเคมีบำบัด+.026 Zการสนับสนุนทางสังคมen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this predictive correlational research were to study quality of life and to examine the predictability of predicting factors; symptoms experience, adherence to chemotherapy and social support to the quality of life among colorectal cancer patients with colostomy receiving chemotherapy. One hundred and ten colorectal cancer patients with colostomy receiving chemotherapy were recruited from the chemotherapy unit of the National cancer institute, Siriraj Hospital, King Chulalongkorn Memorial Hospital and Faculty of Medicine Vajira Hospital University of Bangkok Metropolis by a multi-stage sampling strategy. Research instruments were consisted of five parts: (1) The Patients’ Demographic Data (2) The Quality of life index (3) The Memorial symptom assessment scale (4) The Adherence to chemotherapy and (5) The Social support assessment scale. Content validity was examined by five experts and reliability was tested by using Cronbach’s alpha coefficient obtained at.85, .97, .86 and .93 respectively. Descriptive and multiple regression were used in statistical analysis. The major findings were as follows 1. Colorectal cancer patients with colostomy receiving chemotherapy had high level ofquality of life (Mean=79.60, SD=9.59) 2. Symptoms experience was significantly negative related to quality of life at the high level (r=-.629, p<.01) and Social support was significantly positive related to quality of life at moderate level (r=.316, p<.01). There was no relationship of adherence to chemotherapy on quality of life in colorectal cancer patients with colostomy receiving chemotherapy 3. The result of enter regression analysis showed that Symptoms experience, adherence to chemotherapy and social support increase the explained variance in quality of life and variables accounted for 40% of total variance in quality of life. (R2 =.402, p < .05).en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.823-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectโคลอน (ลำไส้ใหญ่) -- มะเร็ง -- การพยาบาล
dc.subjectโคลอน (ลำไส้ใหญ่) -- มะเร็ง -- เคมีบำบัด
dc.subjectคุณภาพชีวิต
dc.subjectColon (Anatomy) -- Cancer -- Nursing
dc.subjectColon (Anatomy) -- Cancer -- Chemotherapy
dc.subjectQuality of life
dc.titleปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่มีทวารเทียมและได้รับเคมีบำบัดen_US
dc.title.alternativePREDICTING FACTORS OF QUALITY OF LIFE AMONG COLORECTAL CANCER PATIENTS WITH COLOSTOMY RECEIVING CHEMOTHERAPYen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor[email protected],[email protected]en_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.823-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5577198236.pdf9.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.