Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46119
Title: การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองด้านอาชีพ การรับรู้ความสามารถของตนด้านอาชีพ และความสอดคล้องในตนด้านเป้าหมายการเลือกเส้นทางอาชีพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
Other Titles: PARENTAL CAREER-SPECIFIC INVOLVEMENT, CAREER SELF-EFFICACY, AND SELF-CONCORDANCE IN CAREER-RELATED GOALS AMONG HIGH SCHOOL STUDENT
Authors: กัญญาภัทร เสนีวงศ์ ณ อยุธยา
Advisors: อรัญญา ตุ้ยคำภีร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
Subjects: ความสนใจทางอาชีพ
การแนะแนวอาชีพ
การรับรู้ตนเอง
จิตวิทยาการปรึกษา
Vocational interests
Vocational guidance
Self-perception
Counseling psychology
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาโมเดลเชิงสาเหตุความสอดคล้องในตนด้านแรงจูงใจและการมีเป้าหมายสู่เส้นทางอาชีพของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองด้านอาชีพ (แบบสนับสนุน แบบก้าวก่าย และแบบขาดการมีส่วนร่วม) เป็นตัวแปรต้น และมีการรับรู้ความสามารถของตนในการตัดสินใจเลือกเส้นทางอาชีพเป็นตัวแปรส่งผ่าน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 594 คน (ชาย 302 คน หญิง 292 คน) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1)มาตรวัดการรับรู้พฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองด้านอาชีพ (2)มาตรวัดการรับรู้ความสามารถของตนด้านอาชีพ (3)มาตรวัดความสอดคล้องในตนด้านแรงจูงใจสู่เป้าหมายอาชีพ และ(4)มาตรวัดความสอดคล้องในตนด้านการมีเป้าหมายสู่เส้นทางอาชีพ เก็บข้อมูลโดยให้นักเรียนตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสมการโครงสร้างโดยใช้โปรแกรมลิสเรล (LISREL) ผลการวิจัยพบว่า โมเดลเชิงสาเหตุความสอดคล้องในตนด้านแรงจูงใจและการมีเป้าหมายสู่เส้นทางอาชีพของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองด้านอาชีพ (แบบสนับสนุน แบบก้าวก่าย และแบบขาดการมีส่วนร่วม) เป็นตัวแปรต้น และมีการรับรู้ความสามารถของตนในการตัดสินใจเลือกเส้นทางอาชีพเป็นตัวแปรส่งผ่านโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2=5.31 df = 4, p =.257 , GFI = 1.00, AGFI = .98, RMSEA = .023, CFI = 1.00) ตัวแปรทั้งหมดในสมการอธิบาย ความสอดคล้องในตนด้านแรงจูงใจ และด้านการมีเป้าหมายสู่เส้นทางอาชีพร้อยละ32 และ35 (R2 = .32 และ .35, p< .01) ตามลำดับ การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองด้านอาชีพแบบสนับสนุน เป็นด้านเดียวที่มีทั้งอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมต่อความสอดคล้องในตนด้านแรงจูงใจ (อิทธิพลตรงทางลบ) และการมีเป้าหมายสู่เส้นทางอาชีพ (อิทธิพลตรงทางบวก) โดยอิทธิพลทางอ้อมผ่านการรับรู้ความสามารถของตนด้านอาชีพ สำหรับการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองด้านอาชีพ แบบก้าวก่าย และแบบขาดการมีส่วนร่วม มีเฉพาะอิทธิพลทางอ้อมผ่านการรับรู้ความสามารถของตนด้านอาชีพต่อ ต่อความสอดคล้องในตนด้านแรงจูงใจและการมีเป้าหมายสู่เส้นทางอาชีพ
Other Abstract: The purpose of this research was to investigate the relationship between 3 styles of parental career-specific involvement (support style, interfere style and lack of engagement style), career self-efficacy and self-concordance in career related motivation and goals among high school students. Participants were 594 grade 12 students (consisted of 302 Male and , 292 Female). Instruments used in this research were (1)Parental Career Involvement Scale, (2)Career Self-Efficacy Scale, (3)Self-Concordance Scale and (4)Personal Project Scale. Data was collected via sets of questionnaires and subsequently analysed using the structural equation modelling through LISREL. The finding revealed that the causal model where 3 styles of parental career involvement were used to predict self-concordance in career-related goal in high school students with career self-efficacy being a mediator, fits the empirical data (χ2 = 5.31, df = 4, p = .257, GFI = 1.00, AGFI = .98 and RMSEA = .023). The model accounted for 32 Percent of the variance of self-concordance in goal-motivation and 35 Percent of the variance of the career-related goal attainment. Parental career-specific Involvement in support style had both direct effect (negative) and indirect effect to self-condordance in career related motivation and goal. The indirect effect was through career self-efficacy. Parental career-specific involvement in interfere and lack of engagement style had only indirect effect through career self-efficacy.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46119
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.840
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.840
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5577613338.pdf4.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.