Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46233
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิโรจน์ เจียมจรัสรังษีen_US
dc.contributor.authorจุฑารัตน์ จิโนen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-18T04:23:22Z
dc.date.available2015-09-18T04:23:22Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46233
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดใดจุดหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราอุบัติการณ์และลักษณะของการบาดเจ็บจากการทำงาน ลักษณะสภาพหน้างานของชาวนาและความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บจากการทำงานของชาวนาในอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ของประเทศไทยโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม ถึง ธันวาคม 2557 โดยใช้แบบสอบสัมภาษณ์จำนวน 4 ชุดร่วมกับการประเมินสภาพการทำงานโดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมการทำนาและสำรวจสภาพหน้างานของชาวนาจำนวน 1 ชุด จากชาวนาที่ได้รับการสุ่มเลือกโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายทั้งหมด 440 คนและมีชาวนาจำนวน 427 คนสามารถเข้าร่วมในการวิจัยครั้งนี้ คิดอัตราการตอบรับร้อยละ 97.05 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานที่เหมาะสม ผลการศึกษาพบว่า อัตราอุบัติการณ์ของการบาดเจ็บจากการทำนาของชาวนาในกรณีการบาดเจ็บรุนแรงและไม่รุนแรงเท่ากับ 2.1 และ 45.4 ครั้งต่อ 100 คนต่อปี ตามลำดับ โดยการบาดเจ็บที่พบมากที่สุดคือบาดแผลเปิดที่ผิวหนังภายนอกบริเวณตั้งแต่ข้อเท้าลงไป จากผลการวิเคราะห์พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบาดเจ็บจากการทำงานของชาวนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การรับรู้ว่าการทำนาต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล [อัตราเสี่ยงเท่ากับ7.83 (95%CI เท่ากับ 1.92 ถึง 31.88)] และการไม่ได้ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลขณะทำนาหรือใช้เพียงบางครั้งเท่านั้น[อัตราเสี่ยงเท่ากับ21.66 (95%CI เท่ากับ 11.19 ถึง 40.04)] ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการมีความรู้เรื่องความปลอดภัยแต่ไม่ได้ปฏิบัติตามหลักการของความปลอดภัยในการทำงานเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บจากการทำนา จากผลการศึกษานี้จึงสรุปได้ว่า ประเด็นด้านการรับรู้และพฤติกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบาดเจ็บจากการทำนามากที่สุด จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้นำชุมชนต้องทำให้เกิดการตระหนักรู้และสร้างให้เกิดจิตสำนึกและวินัยเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน อันจะนำไปสู่การลดลงของอุบัติการณ์การบาดเจ็บจากการทำนาและการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของชาวนาในที่สุดen_US
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this cross-sectional descriptive study were to determine: (a) the incidence of occupational injuries; (b) work characteristics of the farmers and (c) factors associated with injuries among farmers in Sankamphaeng district, Chiangmai, Thailand. The data were collected between October to December 2014 by using 4 main sets of interview questionnaires and 1 set of farming observation and farm survey form. Total of 440 subjects were selected by random sampling and 427 agreed to participate, yielding the response rate of 97.05 percent. The data were analyzed by appropriate descriptive and inferential statistics. The results showed that the incidences of occupational injuries in the study population were 2.1 and 45.4 cases per 100 person-years for severe and non-severe injuries respectively. Open wounds on ankles and below were the most common injuries. Factors significantly associated with occupational injuries among the farmers were perception of personal protective equipment usage [Adjusted OR=7.83; 95%CI=1.92-31.88)] but not using personal protective equipment [Adjusted OR=21.66; 95%CI=11.19-40.04)]. The study result implied that safety perception and work safety behaviors had influence on occupational injuries of the farmers. In conclusion, authoritative officials and the community leaders should thus emphasize on work safety awareness and safety discipline in order to lessen the incidence of occupational injuries and improve quality of life of the farmers.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1110-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectอุบัติเหตุในงานอุตสาหกรรม
dc.subjectเกษตรกร -- ไทย -- เชียงใหม่ -- สันกำแพง
dc.subjectIndustrial accidents
dc.subjectFarmers -- Thailand -- Chiang Mai -- Sankamphaeng district
dc.titleการศึกษาลักษณะและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บจากการทำงานของชาวนาในอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeThe study of characteristic and related factors of occupational injuries of farmers in Sankamphaeng district, Chiangmai, Thailanden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor[email protected],[email protected]en_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.1110-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5674016230.pdf3.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.