Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46242
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชุติมา หรุ่มเรืองวงษ์en_US
dc.contributor.advisorทัศน์วรรณ รังรักษ์ศิริวรen_US
dc.contributor.authorอรวรรณ เหมียดไธสงen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-18T04:23:26Z-
dc.date.available2015-09-18T04:23:26Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46242-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง เพื่อศึกษาการเห็นคุณค่าในตนเองและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยหญิงที่มารับการรักษา ณ คลินิกมีบุตรยาก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยหญิงที่มารับการรักษา ณ คลินิกมีบุตรยากจำนวน 113 ราย โดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบประเมินด้วยตนเองทั้งหมด 4 ชุด ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามข้อมูลของภาวะมีบุตรยาก 3) แบบประเมินการเห็นคุณค่าในตนเอง The Rosenberg’s Self Esteem Scale (RSE) ฉบับภาษาไทย และ 4) แบบประเมินพฤติกรรมการเผชิญปัญหาของ Jalowiec Coping Scale ฉบับภาษาไทย สถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา Univariate analysis (ได้แก่ t-test และ Chi-Square) เพื่อทดสอบปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเห็นคุณค่าในตนเอง และ Multivariate Analysis เพื่อหาปัจจัยทำนายการเห็นคุณค่าในตนเองในผู้ป่วยหญิงกลุ่มนี้ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีค่าคะแนนเฉลี่ยของการเห็นคุณค่าในตนเองเท่ากับ 31.87 (S.D. = 4.09) ซึ่งเมื่อใช้ค่าจุดตัดคะแนนที่ Mean - 1 S.D. จะพบว่ามีกลุ่มตัวอย่างที่มีการเห็นคุณค่าในตนเองในระดับต่ำจำนวน 13 ราย (ร้อยละ11.5) ซึ่งเมื่อวิเคราะห์โดยสถิติ Univariate analysis พบว่ามี 7 ปัจจัย ที่อาจเกี่ยวข้องกับการเห็นคุณค่าในตนเองในระดับต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ รายได้ส่วนตัวต่อเดือนน้อยกว่า 15,000 บาท การพักอาศัยอยู่กับครอบครัวฝ่ายสามี ส่วนสูงน้อยกว่า 160 เซนติเมตร อายุที่เริ่มมีรอบเดือนครั้งแรกมากกว่า 14 ปี จำนวนวันที่มีรอบเดือนน้อยกว่า 4 วัน ประวัติเคยตรวจรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยการฉีดสีเอ็กซเรย์เพื่อดูท่อนำไข่ (Hysterosalpingography) และการใช้พฤติกรรมการเผชิญปัญหาแบบการจัดการกับอารมณ์ในระดับสูง และเมื่อทำการวิเคราะห์แบบ Logistic Regression Analysis พบว่าเหลือเพียง 3 ปัจจัย ที่อาจมีความเกี่ยวข้องกับการเห็นคุณค่าในตนเอง ได้แก่ อายุที่เริ่มมีรอบเดือนครั้งแรกมากกว่า 14 ปี จำนวนวันที่มีรอบเดือนน้อยกว่า 4 วัน และการใช้พฤติกรรมการเผชิญปัญหาแบบการจัดการกับอารมณ์ในระดับสูงen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this cross-sectional descriptive study was to examine self-esteem as well as associated factors among female patients in Infertility Clinic at King Chulalongkorn Memorial Hospital. The data were collected from 113 female patients in Infertility Clinic. Participants were asked to complete 4 sets of self-report questionnaires including : 1) personal information questionnaire 2) infertility information questionnaire 3) the Rosenberg’s Self Esteem Scale (RSE) - Thai version 4) Jalowiec Coping Scale - Thai version. Descriptive statistics were used to demonstrate a self-esteem level, univariate analysis was used to identify factors associated with low self-esteem (e.g. t-test and Chi-Square), and multivariate analysis was used to determine predictors of self-esteem among this group of female. The results revealed that the mean self-esteem score in this group of female infertile patients is 31.87 (S.D. = 4.09). When using mean -1 S.D. as a cut-off point, there were 13 participants (11.5%) categorized as a “low self-esteem” group. There were 7 factors that might significantly be associated with a low self-esteem including personal monthly income < 15,000 THB, living with the in-law family, < 160 cm height, > 14 years of age at menarche, < 4 days duration of menstruation, history of hysterosalpingography, and using high level of emotional-focused coping. The logistic regression analysis revealed 3 factors namely : > 14 years of age at menarche, < 4 days duration of menstruation, and using high level of emotional-focused coping which might significantly be associated with a low self-esteem.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1118-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectความนับถือตนเอง
dc.subjectการเป็นหมันในหญิง -- ผู้ป่วย -- ไทย -- กรุงเทพฯ -- โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
dc.subjectSelf-esteem
dc.subjectInfertility, Female -- Patients -- Thailand -- Bangkok -- King Chulalongkorn Memorial Hospital
dc.titleการเห็นคุณค่าในตนเองและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยหญิงที่มารับการรักษา ณ คลินิกมีบุตรยาก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์en_US
dc.title.alternativeSELF ESTEEM AND ASSOCIATED FACTORS AMONG FEMALE PATIENTS IN INFERTILITY CLINIC AT KING CHULALONGKORN MEMORIAL HOSPITALen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineสุขภาพจิตen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor[email protected],[email protected]en_US
dc.email.advisor[email protected]en_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.1118-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5674092930.pdf3.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.