Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46275
Title: การเปรียบเทียบคุณสมบัติทางจิตมิติของแบบสอบถูกผิดหลายตัวเลือกกับแบบสอบถูกผิดหลายตัวเลือกปรับปรุงใหม่ที่ใช้วิธีการตรวจให้คะแนนที่ต่างกัน
Other Titles: A COMPARISON OF THE PSYCHOMETRIC PROPERTIES BETWEEN MULTIPLE TRUE-FALSE AND MODIFIED MULTIPLE TRUE-FALSE TESTS WITH DIFFERENT SCORING PROCEDURES
Authors: อรพรรณ แก้วน้อย
Advisors: กมลวรรณ ตังธนกานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
Subjects: ข้อสอบแบบถูกผิด
การวัดทางจิตวิทยา
ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ
การสอบ -- การให้คะแนน
True-false examinations
Psychometrics
Item response theory
Examinations -- Scoring
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบคุณสมบัติทางจิตมิติของแบบสอบถูกผิดหลายตัวเลือก (MTF) กับแบบสอบถูกผิดหลายตัวเลือกปรับปรุงใหม่ (MMTF) ที่ใช้วิธีการตรวจให้คะแนนแบบ 0-1 กับวิธีการตรวจให้คะแนนแบบรายตัวเลือก กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 1,150 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถูกผิดหลายตัวเลือก ที่มี 4 ตัวเลือกและ 5 ตัวเลือก วิเคราะห์คุณสมบัติทางจิตมิติของข้อสอบและแบบสอบตามทฤษฏีการตอบสนองข้อสอบ (IRT) โมเดลโลจิสติก 3 พารามิเตอร์และโมเดลการตอบสนองข้อสอบแบบตรวจให้คะแนนมากกว่า 2 ค่า และวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง (two-way ANOVA) โดยใช้โปรแกรม MULTILOG และ SPSS ผลการวิจัยพบว่า: 1) ค่าพารามิเตอร์ของข้อสอบ ได้แก่ ค่าความยาก และค่าอำนาจจำแนก ของแบบสอบถูกผิดหลายตัวเลือกปรับปรุงใหม่ (MMTF) ที่ใช้วิธีการตรวจให้คะแนนแบบ 0-1 มีค่าสูงกว่าแบบสอบถูกผิดหลายตัวเลือก (MTF) ที่ใช้วิธีการตรวจให้คะแนนแบบ 0-1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนค่าโอกาสในการเดามีค่าต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และค่าฟังก์ชันสารสนเทศของข้อสอบของแบบสอบถูกผิดหลายตัวเลือกปรับปรุงใหม่ (MMTF) ที่ระดับความสามารถปานกลางและที่ระดับความสามารถสูง มีค่าสูงกว่าแบบสอบถูกผิดหลายตัวเลือก (MTF) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าพารามิเตอร์ของข้อสอบ ได้แก่ ค่าอำนาจจำแนกของแบบสอบถูกผิดหลายตัวเลือกปรับปรุงใหม่ (MMTF) ที่ใช้วิธีการตรวจให้คะแนนแบบรายตัวเลือก มีค่าสูงกว่า แบบสอบถูกผิดหลายตัวเลือก (MTF) ที่ใช้วิธีการตรวจให้คะแนนแบบรายตัวเลือก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าฟังก์ชันสารสนเทศของข้อสอบของแบบสอบถูกผิดหลายตัวเลือกปรับปรุงใหม่ (MMTF) ที่ระดับความสามารถต่ำและระดับความสามารถปานกลาง มีค่าสูงกว่าแบบสอบถูกผิดหลายตัวเลือก (MTF) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ค่าพารามิเตอร์ของข้อสอบ ได้แก่ ค่าอำนาจจำแนกของแบบสอบถูกผิดหลายตัวเลือก (MTF) ที่ใช้วิธีการตรวจให้คะแนนแบบ 0-1 มีค่าสูงแบบสอบถูกผิดหลายตัวเลือก (MTF) ที่ใช้วิธีการตรวจให้คะแนนแบบรายตัวเลือก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และค่าฟังก์ชันสารสนเทศของข้อสอบของแบบสอบถูกผิดหลายตัวเลือก (MTF) ที่ใช้วิธีการตรวจให้คะแนนแบบรายตัวเลือก ที่ระดับความสามารถต่ำและความสามารถปานกลางสูงกว่าแบบสอบถูกผิดหลายตัวเลือก (MTF) ที่ใช้วิธีการตรวจให้คะแนนแบบ 0-1อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนที่ระดับความสามารถสูง ค่าฟังก์ชันสารสนเทศของข้อสอบของแบบสอบถูกผิดหลายตัวเลือก (MTF) ที่ใช้วิธีการตรวจให้คะแนนแบบ 0-1 มีค่าสูงกว่าค่าฟังก์ชันสารสนเทศของข้อสอบของของแบบสอบถูกผิดหลายตัวเลือก (MTF) ที่ใช้วิธีการตรวจให้คะแนนแบบรายตัวเลือก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ค่าพารามิเตอร์ของข้อสอบ ได้แก่ ค่าอำนาจจำแนกของแบบสอบถูกผิดหลายตัวเลือกปรับปรุงใหม่ (MMTF) ที่ใช้วิธีการตรวจให้คะแนนแบบ 0-1 มีค่าสูงแบบสอบถูกผิดหลายตัวเลือกปรับปรุงใหม่ (MMTF) ที่ใช้วิธีการตรวจให้คะแนนแบบรายตัวเลือก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และค่าฟังก์ชันสารสนเทศของข้อสอบที่ระดับความสามารถต่ำและที่ระดับความสามารถปานกลาง ค่าฟังก์ชันสารสนเทศของข้อสอบเฉลี่ยของแบบสอบถูกผิดหลายตัวเลือกปรับปรุงใหม่ (MMTF) ที่ใช้วิธีการตรวจให้คะแนนแบบรายตัวเลือก มีค่าสูงกว่าค่าฟังก์ชันสารสนเทศของข้อสอบเฉลี่ยของของแบบสอบถูกผิดหลายตัวเลือกปรับปรุงใหม่ (MMTF) ที่ใช้วิธีการตรวจให้คะแนนแบบ 0-1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5) การศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบของแบบสอบกับวิธีการตรวจให้คะแนนที่มีต่อค่าอำนาจจำแนกของแบบสอบ พบว่า มีปฏิสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Other Abstract: The purposes of this research were to compare the psychometric properties between multiple true-false test (MTF) and modified multiple true-false test (MMTF) with different scoring procedures. Participants comprised of 1,150 students in grade-8. Data was collected through multiple true-false tests with four and five options. Data was analyzed using descriptive statistics, the three parameter logistic model and polytomous item response model and two-way ANOVA, all of which were employed by using MULTILOG and SPSS . The research findings were as follows: 1) Modified multiple true-false tests (MMTF) with 0-1 scoring procedure provided higher discriminations and difficulty than multiple true-false tests (MTF) with 0-1 scoring procedure and were significantly different at .05 level. Modified multiple true-false tests (MMTF) provided lower guessing than multiple true-false tests (MTF) and were significantly different at .01 level. At the mediocre ability level and high ability level, modified multiple true-false tests (MMTF) provided higher item information than multiple true-false tests (MTF) and were significantly different at .05 level. 2) Modified multiple true-false tests (MMTF) with each option scoring procedure provided higher discriminations than multiple true-false tests (MTF) with each option scoring procedure and were significantly different at .05 level. At the low ability level and mediocre ability level, modified multiple true-false tests (MMTF) provided higher item information than multiple true-false tests (MTF) and were significantly different at .05 level. 3) Multiple true-false tests (MTF) with 0-1 scoring procedure provided higher discriminations than multiple true-false tests (MTF) with each option scoring procedure and were significantly different at .01 level. At the high ability level, multiple true-false tests (MTF) with 0-1 scoring procedure provided higher item information than multiple true-false tests (MTF) with each option scoring procedure and were significantly different at .01 level. 4) Modified multiple true-false tests (MMTF) with 0-1 scoring procedure provided higher discriminations than modified multiple true-false tests (MMTF) with each option scoring procedure and were significantly different at .01 level. At the low ability level and mediocre ability level, modified multiple true-false tests (MMTF) with each option scoring procedure provided higher item information than modified multiple true-false tests (MMTF) with 0-1 scoring procedures and were significantly different at .01 level. 5) There was an interaction between test formats and scoring procedures on discriminations of test and were significantly different at .01 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46275
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1142
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1142
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5683416027.pdf6.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.