Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46301
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรรษาสิริ กุหลาบen_US
dc.contributor.authorรำไพพรรณ บุญพงษ์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-18T04:23:52Z
dc.date.available2015-09-18T04:23:52Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46301
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและการนำเสนอเนื้อหาในเฟซบุ๊กแฟนเพจของมูลนิธิอิสรชนเพื่อต่อรองอัตลักษณ์ให้กับ “ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ” หรือคนไร้บ้าน ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสื่อสารผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจของมูลนิธิอิสรชนและทัศนคติและพฤติกรรมของผู้ติดตามเฟซบุ๊กแฟนเพจมูลนิธิอิสรชนที่มีต่อผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาในเฟซบุ๊กแฟนเพจของมูลนิธิอิสรชน การสัมภาษณ์เชิงลึกเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิและผู้ติดตามเฟซบุ๊กแฟนเพจและสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วมเพื่อศึกษาการทำงานของมูลนิธิ ผลการวิจัยพบว่า มูลนิธิอิสรชนสื่อสารเพื่อต่อรองอัตลักษณ์ให้กับผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ โดยอธิบายสาเหตุการออกมาใช้ชีวิตที่สาธารณะ การดำเนินชีวิตของผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะและแนวทางการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาการใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ผ่านการตั้งสถานะ (status) ที่เป็นข้อความ ภาพถ่ายและคลิปวิดีโอ รวมทั้งการเขียนบันทึก (note) และการแบ่งปัน (share) ข้อความ ภาพถ่ายและคลิปวิดีโอ ทั้งนี้ ในแต่ละสถานะ บันทึกและการแบ่งปัน มูลนิธิอิสรชนจะเล่าเรื่องผ่านตัวละครผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ 4 ลักษณะ และใช้แฮชแท็ก (hashtag) ระบุแก่นความคิดของเรื่องที่นำเสนอ เพื่อให้สังคมเข้าใจข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะที่มักไม่ถูกนำเสนอทางสื่อมวลชนและยอมรับว่าพวกเขาเท่าเทียมกับคนอื่นในสังคม ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อการสื่อสารผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ ได้แก่ ภูมิหลังและประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่และอาสาสมัคร ทักษะการใช้สื่อของเจ้าหน้าที่และอาสาสมัคร และสถานะทางเศรษฐกิจของมูลนิธิ ผลการศึกษายังพบว่า ทัศนคติต่อผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะของผู้ติดตามเฟซบุ๊กแฟนเพจมูลนิธิอิสรชนมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ติดตามเฟซบุ๊ก โดยผู้ที่มีความสงสาร เห็นใจ (sympathy) ต่อผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะมักไม่บริจาคเงินหรือสิ่งของและไม่เป็นอาสาสมัครของมูลนิธิอิสรชน หรือไม่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะโดยตรง แต่ผู้ที่มีความเข้าใจ เอาใจใส่ (empathy) ต่อผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะจะแสดงออกเพื่อช่วยงานของมูลนิธิอิสรชน หรือมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะโดยตรง โดยปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้ติดตามเฟซบุ๊กแฟนเพจมีทัศนคติเข้าใจ เอาใจใส่ คือการเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครกับมูลนิธิอิสรชนen_US
dc.description.abstractalternativeThis research aims to study Issarachon Foundation’s communication via Facebook fan page to negotiate identity for “people living in public places” or the homeless, factors affecting Issarachon Foundation’s communication, and attitudes and behavior of Issarachon’s fan page followers. Qualitative research methods were used: content analysis of Issarachon’s Facebook fan page, in-depth interviews of Issarachon’s staff and fan page followers, and non-participant observation of Issarachon’s activities. The results show the foundation negotiates identity for the homeless by explaining the causes of homelessness, the homeless’ ways of living, and solutions for homelessness. These messages are told via Facebook statuses, notes, and sharing in forms of texts, photographs, and video clips. In each status, note, and shared message, the foundation tells stories of the homeless through fourtypes of characteristics, and conceptualize the stories’ main idea using hashtags, in hopes that society understands underreported facts about homelessness and accepts that the homeless is equal to others in society. Moreover, factors influencing Issarachon’s communication via Facebook are the staff and volunteers’ backgrounds and experiences, their media skills, and the foundation’s economic status. The findings also show that the attitudes of Issarachon’s fan page followers influence their behavioral changes. Those who feel sympathy for the homeless tend not to donate money or items to the foundation, participate the foundation’s volunteering programs, or interact with the homeless directly. However, those who feel empathy for the homeless tend to help the foundation or interact with the homeless directly. One factor that enables Facebook fan page followers to empathize with the homeless is to become a volunteer.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1162-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectคนไร้ที่อยู่อาศัย
dc.subjectการร่วมรู้สึก
dc.subjectการเมืองอัตลักษณ์
dc.subjectขบวนการสังคม
dc.subjectเครือข่ายสังคมออนไลน์
dc.subjectHomeless persons
dc.subjectEmpathy
dc.subjectIdentity politics
dc.subjectSocial movements
dc.subjectOnline social networks
dc.titleการสื่อสารผ่านเฟซบุ๊กของมูลนิธิอิสรชนเพื่อต่อรองอัตลักษณ์ของ "ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ"en_US
dc.title.alternativeIssarachon Foundation's Communication Via Facebook to Negotiate Identity for the Homelessen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor[email protected],[email protected]en_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.1162-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5684686328.pdf5.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.