Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46370
Title: | การติดตามการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าชายหาดในจังหวัดพังงาระหว่าง ปี พ.ศ. 2546 ถึง พ.ศ. 2556 |
Other Titles: | ASSESSMENT OF BEACH FOREST CHANGE IN PHANG NGA PROVINCE FROM 2003 TO 2013 |
Authors: | พสุ คงอภัย |
Advisors: | เพ็ญใจ สมพงษ์ชัยกุล สมฤดี จิตประไพ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected] [email protected] |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ป่าชายหาดคือสังคมพืชทนแล้งและทนเค็มที่พบบริเวณชายฝั่ง ซึ่งน้ำทะเลท่วมไม่ถึงแต่ได้รับอิทธิพลจากละอองน้ำเค็มของทะเล ป่าชายหาดในประเทศไทยพบกระจายอยู่ทั้งชายฝั่งอ่าวไทยและชายฝั่งทะเลอันดามัน อย่างไรก็ตามป่าชายหาดมีพื้นที่ลดลงและถูกแปรเปลี่ยนสภาพธรรมชาติไปมากเนื่องจากการพัฒนาชายฝั่งประเภทต่างๆ วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้จึงเพื่อศึกษาการกระจายตัวของป่าชายหาด รวมทั้งปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าชายหาด ใน 3 พื้นที่ศึกษา คือ บ้านน้ำเค็ม เขาหลัก และท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ระหว่างปี พ.ศ. 2546 – 2556 โดยใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม IKONOS และTHEOS และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ประกอบกับการสำรวจสังคมพืชและสภาพแวดล้อมป่าชายหาด และนำเสนอรูปแบบการจัดการพื้นที่ป่าชายหาดที่เหมาะสมกับพื้นที่ ผลการศึกษาพบลักษณะการกระจายตัวของพื้นที่ป่าชายหาดอยู่บริเวณชายฝั่งที่แตกต่างกันคือ บ้านน้ำเค็มมีขนาดพื้นที่ป่าชายหาดกว้างอยู่ที่ระยะทาง 50-250 เมตร เขาหลัก 60-200 เมตร และท้ายเหมือง 100-600 เมตร และเมื่อเปรียบเทียบพื้นที่ป่าชายหาดระหว่างปี พ.ศ. 2546 และ พ.ศ. 2556 พบว่า บริเวณท้ายเหมืองมีเนื้อที่ป่าชายหาดเพิ่มมากขึ้นจาก 3.16 ตารางกิโลเมตร เป็น 5.02 ตารางกิโลเมตร รองลงมาบ้านน้ำเค็มมีเนื้อที่ลดลงจาก 0.49 ตารางกิโลเมตร เหลือ 0.45 ตารางกิโลเมตร และเขาหลักลดลงเหลือเนื้อที่น้อยที่สุดคือจาก 0.41 ตารางกิโลเมตรเหลือ 0.27 ตารางกิโลเมตร นอกจากนี้ยังพบว่าพื้นที่ป่าชายหาดมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากหลังเหตุการณ์สึนามิในปี พ.ศ. 2547 โดยบริเวณบ้านน้ำเค็มและเขาหลักได้รับความเสียหายถึง 45 % และ 40% ตามลำดับ ส่วนบริเวณท้ายเหมืองพบความเสียหายของพื้นที่ป่าชายหาดเพียง 15 % อย่างไรก็ตามจากการศึกษาสาเหตุและอัตราการเปลี่ยนแปลงการพื้นที่ป่าชายหาดระหว่างปี พ.ศ. 2546 ถึง พ.ศ. 2556 พบว่า พื้นที่ป่าชายหาดบริเวณบ้านน้ำเค็มเปลี่ยนแปลงไปเป็นพื้นที่อื่นๆ ถึง 70% อาทิ พื้นที่เปิดโล่ง 27 % สิ่งปลูกสร้าง 7% และพื้นที่เกษตรกรรม 6% เป็นต้น เขาหลัก พบการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าชายหาดเป็นพื้นที่อื่นๆ 64 % อาทิ พื้นที่เปิดโล่ง 29 % สิ่งปลูกสร้าง 24 % และพื้นที่เกษตรกรรม 3% เป็นต้น ส่วนท้ายเหมือง พบการเปลี่ยนแปลงเป็นพื้นที่เปิดโล่งและพืชอื่นๆ ปกคลุมเพียง 13% ผลการศึกษาสังคมพืชป่าชายหาดพบพันธุ์ไม้ป่าชายหาดชนิดหลัก เพียง 6 ชนิด ในบริเวณบ้านน้ำเค็มและเขาหลัก และพันธุ์ไม้เด่น คือ สนทะเล (Casuarina equisetifolia J.R. & G. Forst.) ในขณะที่ท้ายเหมืองพบพันธุ์ไม้ทั้งหมด 24 ชนิด และพันธุ์ไม้เด่นร่วม คือ หว้าหิน (Syzygium grande (Wight) Walp.) กำชำ (Lepisanthes rubiginosa (Roxb.) Leenh.) และสนทะเล ในบริเวณท้ายเมืองพบว่าค่าความหลากหลายของชนิดพันธุ์พืช มีค่าสูงสุดเท่ากับ 1.09 รองลงมา ได้แก่ เขาหลัก (0.36) และบ้านน้ำเค็ม (0.15) นอกจากนี้ตำแหน่งที่พบสังคมพืชป่าชายหาดนั้นปรากฏอยู่บริเวณหลังแนวสันทราย คุณสมบัติดินที่พบมีลักษณะเนื้อดินเป็นดินทราย และมีปริมาณธาตุอาหารต่ำ อย่างไรก็ตามพบว่าเมื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีดินด้วยวิธีทางสถิติ คุณสมบัติดินบริเวณท้ายเหมืองมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยพบว่า ความชื้นของดิน ไนโตรเจน และโพแทสเซียม มีค่าสูงกว่าพื้นที่อื่น ส่วนค่าความเป็นกรดด่างนั้นมีค่าเป็นกลาง ในขณะที่อีกสองพื้นที่มีค่าเป็นด่างเล็กน้อยถึงปานกลาง สอดคล้องกับที่พบว่าบริเวณท้ายเหมืองมีความหลากหลายของชนิดพันธุ์พืชสูงกว่าพื้นที่อื่น ผลการสำรวจทัศนคติของประชาชนในการเข้ามามีส่วนร่วม ในการจัดการพื้นที่ป่าชายหาดเพื่อหาแนวทางการจัดการอย่างเหมาะสมกับสถานภาพป่าชายหาดในแต่ละพื้นที่นั้นๆ พบว่า บริเวณบ้านน้ำเค็มและเขาหลักซึ่งเป็นบริเวณที่มีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าชายหาดค่อนข้างมาก ควรมีการกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน และการให้ความรู้ความเข้าใจแก่ชุมชนเกี่ยวกับหน้าที่และคุณค่าของระบบนิเวศป่าชายหาดเป็นสำคัญ |
Other Abstract: | Beach forest is a halophytic plant community found above the high-tide mark in the coastal zone, and typically situated in the spray zone. Beach forest in Thailand is distributed along the coasts of the Andaman Sea and the Gulf of Thailand. However, beach forest varies from natural forest to degraded forest because of coastal development. The objective of this study was to examine beach forest distribution and the causes of change by using remote sensing (IKONOS and THEOS) and Geographic Information System at Ban Nam Khem, Khao Lak and Thai Mueang in Phang Nga Province, from 2003 to 2013. The study also involved ecological investigation of plant communities and their associated environments, and also proposed beach forest management for each study area. Results showed that beach forest distribution differed at each site (including their distance from the shoreline and width as follows): 1) Ban Nam Khem – 50 to 250 m; 2) Khao Lak– 60 to 200 m; and 3) Thai Mueang – 100 to 600 m. Between 2003 and 2013, beach forest areas changed: increasing from 3.16 km2 to 5.02 km2 at Thai Mueang; decreasing from 0.49 km2 to 0.45 km2 at Ban Nam Khem; and at Khao Lak, with the smallest area of beach forest, decreasing from 0.41 km2 to 0.27 km2. The beach forest areas were significantly impacted following the 2004 tsunami at Ban Nam Khem and Khao Lak, where they showed damage of 45 percent and 40 percent respectively; Thai Mueang showed considerably less damage at only 15 percent. Rate and cause of beach forest change varied in the three study sites from 2003 to 2013. At Ban Nam Khem, beach forest changed by 70 percent for example, with changed to in barren land areas 27 percent, built-up areas (7 percent) and agriculture (7 percent). At Khao Lak, beach forest changed by 64 percent, for example, barren land increasing (29 percent), built-up areas (24 percent) and agriculture (3 percent). Thirteen percent of beach forest changed at Thai Meuang to barren land and other vegetation. Ecological survey of the beach forest community revealed six species were located at Ban Nam Khem and Khao Lak, dominated by Casuarina equisetifolia J.R. & G. Forst., whereas greater diversity was identified at Thai Mueang with 24 species and co-dominated by Syzygium grande (Wight) Walp.. Lepisanthes rubiginosa (Roxb.) Leenh. and Casuarina equisetifolia J.R. & G. Forst.. Greatest species diversity was found at Thai Mueang, with a diversity value of 1.09 followed by Khao Lak (diversity value of 0.36) and BNK (diversity values of 0.15). Additionally, the position of beach forest formed at the back beach. Soil properties of the three study areas showed that they had a sandy texture and were low in nutrients. Soil physical and chemical properties in Thai Mueang were different significantly from the others; soil moisture content, and levels of nitrogen and potassium were higher. Soil pH exhibited neutral at Thai Mueang while Ban Nam Khem and Khao Lak were slightly alkaline to moderately alkaline. The results of research into community attitude for participation in beach forest management, found that a zoning plan should be established at Ban Nam Khem and Khao Lak because the beach forest was severely degraded. Provision of beach forest information should support local communities in better understanding and improving protection of natural resources. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์ทางทะเล |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46370 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5273885723.pdf | 8.61 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.