Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46440
Title: ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในภาคใต้
Other Titles: FACTORS PREDICTING BLOOD PRESSURE REGULATION BEHAVIOR OF HYPERTENSIVE PATIENTS IN THE SOUTHERN REGION
Authors: ประภัสสร โชคไพศาล
Advisors: รัตน์ศิริ ทาโต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
Subjects: ความดันเลือดสูง -- ไทย (ภาคใต้)
ความดันเลือด -- ไทย (ภาคใต้)
พฤติกรรมสุขภาพ -- ไทย (ภาคใต้)
Hypertension -- Thailand, Southern
Blood pressure -- Thailand, Southern
Health behavior -- Thailand, Southern
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยความสัมพันธ์เชิงทำนาย เพื่อศึกษาความความสัมพันธ์และปัจจัยทำนายระหว่าง เจตคติต่อการควบคุมความดันโลหิต การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง อารมณ์ที่คาดหวังด้านบวก อารมณ์ที่คาดหวังด้านลบ การรับรู้การควบคุมพฤติกรรม และพฤติกรรมในอดีต กับพฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในภาคใต้ โดยใช้แนวคิดแบบแผนเป้าหมายกำกับพฤติกรรมของ Bagozzi, Baumgartner and Pieter (1998) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงอย่างน้อย 1 ปี มีอายุระหว่าง 18-59 ปี ที่มารับบริการตรวจรักษาที่คลินิกโรคความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิในภาคใต้ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 3 โรงพยาบาล รวมจำนวน 260 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มอย่างง่าย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล เจตคติต่อการควบคุมความดันโลหิต การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง อารมณ์ที่คาดหวังด้านบวก อารมณ์ที่คาดหวังด้านลบ การรับรู้การควบคุมพฤติกรรม พฤติกรรมในอดีต และแบบสอบถามพฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในภาคใต้ มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอน บาค เท่ากับ .74, .80, .88, .80, .91 และ.70 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ ด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน วิเคราะห์ปัจจัยทำนาย ด้วยการคำนวณหาค่าสัมประ สิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิตของผู้ ป่วย โรคความดันโลหิตสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ พฤติกรรมในอดีตในการควบคุมความดันโลหิต (r = .75) การรับรู้การควบคุมพฤติกรรมในการควบคุมความดันโลหิต (r =.53) และอารมณ์ที่คาดหวังด้านบวกในการควบคุมความดันโลหิต (r = .42) ส่วนอารมณ์ที่คาดหวังด้านลบในการควบคุมความดันโลหิต (r = .08) และการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในการควบคุมความดันโลหิต (r = .01) ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในภาคใต้ และปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในภาคใต้ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ พฤติกรรมในอดีตในการควบคุมความดันโลหิต (b = .75) และ เจตคติต่อการควบคุมความดันโลหิต (b = .14) โดยสามารถทำนายพฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิตได้ร้อยละ 58.20
Other Abstract: The purposes of this study were to examine the relationships between attitude toward blood pressure control, subjective norm, positive anticipated emotion, negative anticipated emotion, perceived behavioral control, past blood pressure control behavior, and blood pressure regulation behaviors of hypertensive patients in the southern region. A theoretical framework used in study was the Model of Goal-Directed Behavior (Bagozzi, Baumgartner and Pieter, 1998). The subjects were 260 patients diagnosed with hypertension at least one year aged 18-59 years from hypertension clinics of 3 secondary hospitals in the Southern Region. Data were collected using personal data sheet, and a set of questionnaires on attitude toward blood pressure control, subjective norm, positive anticipated emotion, negative anticipated emotion, perceived behavioral control, past blood pressure control behavior, and blood pressure regulation behaviors. Their Cronbach’s coefficients were .74, .80, .88, .80, .91, and .70, respectively. Data were analyzed using bivariate correlations and stepwise multiple regression. The results demonstrated that factors significantly related to blood pressure regulation behaviors at the level of .05 were past blood pressure control behavior (r = .75), perceived behavioral control (r = .53) and positive anticipated emotion (r =.42) Negative anticipated emotion(r = .08) and subjective norm (r= .01) were not significantly associated with blood pressure regulation behavior of hypertensive patients. Significant predictors of blood pressure regulation behaviors were past blood pressure control behavior (b = .75) and attitude toward blood pressure control (b = .14). They could explain 58.20% of the variance.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46440
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1231
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1231
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5477173436.pdf4.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.