Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46448
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชัยพัฒน์ หล่อศิริรัตน์en_US
dc.contributor.advisorอารีรัตน์ สุพุทธิธาดาen_US
dc.contributor.advisorประวิตร เจนวรรธนะกุลen_US
dc.contributor.authorเตชภณ ทองเติมen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.date.accessioned2015-09-19T03:39:21Z-
dc.date.available2015-09-19T03:39:21Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46448-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพในการปฏิบัติกิจกรรมสำหรับผู้สูงวัยไทย และ 2) สร้างโมเดลคัดกรองความเสี่ยงในการล้มและภาวะพึ่งพาในผู้สูงวัยไทย โดยใช้เทคนิคต้นไม้ตัดสินใจ ตัวอย่างเป็นผู้สูงวัยที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป จำนวน 5,632 คน แบ่งเป็น ผู้สูงวัยเพศชาย จำนวน 1,869 คน และผู้สูงวัยเพศหญิง จำนวน 3,763 คน ดำเนินการเก็บข้อมูลในพื้นที่ 64 ตำบล จาก 16 จังหวัดทั่วประเทศไทย เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1) รายการทดสอบสมรรถภาพในการปฏิบัติกิจกรรม จำนวน 9 รายการ ได้แก่ วัดรอบเอว ดัชนีมวลกาย มือไขว้หลังแตะกัน นั่งเก้าอี้แตะปลายเท้า ลุก–เดิน–นั่ง ไปกลับ 8 ฟุต ยกน้ำหนักขึ้นลง 30 วินาที ลุก–ยืน–นั่ง 30 วินาที ย่ำเท้ายกเข่าสูง 2 นาที และการย้ายบล็อก 2) แบบประเมินความเสี่ยงในการล้ม Berg balance scale (BBS) และ Timed up-and-go test (TUG) และ 3) แบบประเมินความเสี่ยงต่อการพึ่งพาผู้อื่นในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐาน Bathel ADL Index (BAI) และแบบประเมินความเสี่ยงต่อการพึ่งพาผู้อื่นในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันขั้นสูง Chula ADL index (CAI) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปอร์เซ็นไทล์ จากนั้นสร้างโมเดลคัดกรองโดยใช้เทคนิคต้นไม้ตัดสินใจ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) เกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพในการปฏิบัติกิจกรรมสำหรับผู้สูงวัยไทย ของ 7 รายการทดสอบแบ่งแยกตามเพศ (ชายหรือหญิง) และช่วงอายุ (60-64 ปี 65-69 ปี 70-74 ปี 75-79 ปี 80-84 ปี และ 85 ปีขึ้นไป) ได้ถูกสร้างขึ้น 2) โมเดลแผนภูมิต้นไม้สำหรับใช้คัดกรองความเสี่ยงในการล้มในผู้สูงวัยไทย ประกอบด้วย ลุก–เดิน–นั่ง ไปกลับ 8 ฟุต ลุก–ยืน–นั่ง 30 วินาที และย่ำเท้ายกเข่าสูง 2 นาที โดยมีค่าความแม่นยำในการพยากรณ์ เท่ากับ 95.76% 3) โมเดลแผนภูมิต้นไม้สำหรับใช้คัดกรองภาวะพึ่งพาในผู้สูงวัยไทย ประกอบด้วย ลุก–เดิน–นั่ง ไปกลับ 8 ฟุต ย่ำเท้ายกเข่าสูง 2 นาที และอายุ โดยมีค่าความแม่นยำในการพยากรณ์ เท่ากับ 73.01% จากแผนภูมิต้นไม้แสดงว่าสมรรถภาพด้านการทรงตัวและความคล่องแคล่วว่องไว และความทนทานของระบบหัวใจและปอด ของผู้สูงอายุมีผลต่อความเสี่ยงในการล้มและการพึ่งพาผู้อื่นในด้านการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this thesis were 1) to develop a norm for functional fitness in Thai elderly, and 2) to develop models in screening the risk of falling and level of dependence in daily living activities in Thai elderly. The models were developed using decision trees technique. 5632 over-sixty-year-old Thai elderly participated in the study. The study included 1869 male and 3763 female elderly, respectively. The participants were recruited from 64 sub districts (16 provinces) over Thailand. The assessment tool in this research included 1). 9-test battery which were waist circumference, body mass index, back scratch, sit and reach, 8-feet up-and-go, arm curl in 30 seconds, step in place in 2 minutes, and block transfer, 2). Assessment form of risk of falling using Berg Balance Scale (BBS) and Timed up-and-go test (TUG), and 3) Assessment form of risk of dependence with others from Bathel ADL Index (BAI) and from Chula ADL index (CAI). Data were analyzed using mean, percentage, standard deviation, and percentile. The model for screening risky elderly were developed using a decision tree technique. Results of the thesis are as follows: 1) Functional fitness norm for Thai elderly was created. The norm was created for 7 tests and classified by genders (male or female) and age ranges (60-64 years old, 65-69 years old, 70-74 years old, 75-79 years old, 80-84 years old, and 85 years old and up). 2) Decision tree model for screening risk of falling included 8-feet up-and-go test, step in place test, and chair stand test and correctly predicted 95.76% of classified. 3) Decision tree model for screening risk of dependency included 8-feet up-and-go test, step in place test, and age and correctly predicted 73.01% of classified. Decision tree models suggested that balance, agility, cardiovascular endurance of elderly affected the risks of falling and level of dependence in performing daily activities. Sent from Surfaceen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1237-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการหกล้มในผู้สูงอายุ
dc.subjectผู้สูงอายุ -- ไทย
dc.subjectการพึ่งพา (จิตวิทยา)
dc.subjectสมรรถภาพทางกาย
dc.subjectFalls (Accidents) in old age
dc.subjectOlder people -- Thailand
dc.subjectDependency (Psychology)
dc.subjectPhysical fitness
dc.titleเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพในการปฏิบัติกิจกรรมและการนำไปใช้คัดกรองความเสี่ยงในการล้มและภาวะพึ่งพาในผู้สูงวัยไทยen_US
dc.title.alternativeFUNCTIONAL FITNESS NORMS AND APPLICATION FOR FALL AND DEPENDENCY SCREENING IN THAI ELDERLYen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor[email protected],[email protected]en_US
dc.email.advisor[email protected]en_US
dc.email.advisor[email protected]en_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.1237-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5478605439.pdf22.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.