Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46486
Title: | ทางเลือกนโยบายการศึกษาสำหรับบุตรแรงงานต่างชาติในประเทศไทยภายใต้บริบทอาเซียน: การวิเคราะห์ตามทฤษฎีการก่อตัวของโครงสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม |
Other Titles: | EDUCATIONAL POLICY ALTERNATIVES FOR MIGRANT WORKERS' CHILDREN IN THAILAND WITHIN THE ASEAN CONTEXT: A STRUCTURATION ANALYSIS |
Authors: | เปรมใจ วังศิริไพศาล |
Advisors: | ชนิตา รักษ์พลเมือง สุภางค์ จันทวานิช |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected] [email protected] |
Subjects: | การศึกษา การศึกษา -- นโยบายของรัฐ -- ไทย สังคมวิทยา -- ไทย บุตรของแรงงานต่างด้าว -- ไทย Education Education -- Government policy -- Thailand Sociology -- Thailand Children of foreign workers -- Thailand |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | โครงการวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์และโอกาสทางการศึกษาของบุตรแรงงานต่างชาติในประเทศไทย 2) เพื่อวิเคราะห์โครงสร้าง ผู้กระทำการ ปฏิสัมพันธ์ และการปรับเปลี่ยนบทบาทเชิงทวิลักษณะในการกำหนดนโยบายการศึกษา 3) เพื่อนำเสนอทางเลือกนโยบายการศึกษาสำหรับบุตรแรงงานต่างชาติในประเทศไทย โดยนำทฤษฎีการก่อตัวของโครงสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม ของแอนโทนี กิดเดนส์ มาใช้ในการวิเคราะห์ พื้นที่ศึกษาที่อำเภอเมืองจังหวัดสมุทรสาคร และอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก การวิจัยพบว่า นโยบายประเทศไทยได้เปิดโอกาสทางการศึกษาให้บุตรแรงงานต่างชาติเข้าถึงการศึกษาในโรงเรียนของรัฐ ศูนย์การเรียนและการศึกษาทางเลือกอื่นๆ การกำหนดนโยบายและการจัดการศึกษาเด็กต่างชาติมีผู้กระทำการภาครัฐ ซึ่งอยู่บนแนวคิดความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติ มีกฎคือมติคณะรัฐมนตรี ระเบียบ กฎกระทรวง มีงบประมาณ อำนาจหน้าที่ของผู้คุมกฎเป็นทรัพยากร ผู้กระทำการภาคประชาสังคมคือศูนย์การเรียน องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรระหว่างประเทศ บนแนวคิดด้านสิทธิเด็ก มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ทำงานกับกลุ่มเป้าหมายเป็นทรัพยากร ผู้กระทำการภาครัฐและศูนย์การเรียนมีปฏิสัมพันธ์กับรัฐในหลายระดับ เพื่อผลักดันให้เกิดแนวทางการจัดการศึกษาสำหรับเด็กต่างชาติ แต่บางครั้งกฎระเบียบก็กลับมาควบคุมองค์กรเอกชนที่จัดการศึกษาเสียเอง การเปลี่ยนแปลงทางนโยบายบางครั้งเกิดจากองค์กรระหว่างประเทศซึ่งให้งบประมาณ ความช่วยเหลือทางเทคนิคและผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้กติกาสากลเป็นตัวผลักดัน การเสนอทางเลือกการศึกษามาจากข้อมูลที่ได้ในพื้นที่ ประกอบกับข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ นำมาวิเคราะห์เป็นปัจจัยการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี กฎหมาย (PESTL) สังเคราะห์ขึ้นเป็นภาพอนาคตการศึกษาสำหรับเด็กต่างชาติ 4 แบบ นำมาวิเคราะห์ด้วย SWOT/TOWS Matrix ภาพอนาคตที่ได้คือ 1) การศึกษาขั้นพื้นฐานใน/นอกระบบที่เทียบโอนกับประเทศต้นทางได้ 2) การศึกษาขั้นพื้นฐานใน/นอกระบบและฝึกอาชีพระยะสั้น 3) การศึกษาขั้นพื้นฐานและอาชีวะขั้นต้น 4) อาชีวศึกษาขั้นต้นถึงขั้นสูง(ควบคู่กับการทำงาน) ภาพอนาคตที่ 1 และ 3 มีเงื่อนไขระยะเวลาที่ให้อยู่ในประเทศไทยและไม่ได้สัญชาติ ภาพอนาคตที่ 2 และ 4 เพิ่มเงื่อนไขเรื่องภาระงบประมาณการแข่งขันกับคนไทย ภาพอนาคตทั้ง 4 ภาพ ควรนำไปกำหนดทางเลือกนโยบายการศึกษาเด็กต่างชาติในครอบครัวแรงงานไร้ฝีมือและระดมความร่วมมือจากผู้ประกอบการต่อไป เพื่อประโยชน์ในการผลิตบุคคลากรด้านแรงงานที่ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานและเพิ่มผลิตภาพแรงงานของประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนโดยรวม |
Other Abstract: | This study’s objective is to analyze alternative education policy for children of unskilled migrant worker which are related to the labour market situation and the ASEAN community. The Structuration Theory (Anthony Giddens) is used as a framework of analysis. The study was conducted in Maung district Samutsakorn, and Maesod district in Tak province. Findings indicate that Thailand’s policy has given education opportunities to migrant children in local schools, learning centres and other alternative education providers. According to Giddens’ theory, GOs shape education policy based on a national security paradigm using legal provisions, budgets and roles as their assets. NGOs are agents that provide education based on child rights concepts, having knowledge and acquaintance with the target group as their asset. NGOs interact with GOs at different levels to achieve their purpose of advocating for policies that ensure education provision for migrant children. However, the regulations for which they advocate sometimes turn to control them instead. Policy advocacy sometime comes from IGOs as well, using their technical expertise and financial support to pressure Thailand’s commitment to various international instruments. An alternative education policy emerges from the study findings and expert interviews. The expert interviews are analyzed by PESTL technic to draft four future education modules. SWOT analysis and TOWS matrix are used to examine the four modules. The modules are: 1) Basic education which credit can be transferred to the origin country, 2) Formal and Non-formal basic education plus short course skill trainings, 3) Basic education and primary vocational education, and 4) Vocational education from primary to higher level. Modules 1 and 3 are proposed with conditions to live in Thailand for specific periods and do not lead to citizenship. Modules 2 and 4 with consideration of budget burden and compete with local children. The four modules should be adapted to frame education policy for children of unskilled migrant worker families and draw more contributions from entrepreneurs. The alternative education policies will increase migrant children’s capacities in order to meet demands of labour markets as well as increase Thailand’s and ASEAN’s labour productivity. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | พัฒนศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46486 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1267 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2014.1267 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5484263327.pdf | 4.72 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.