Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46487
Title: การนำเสนอรูปแบบโครงสร้างองค์การสถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือนเพื่อเสริมสร้างคุณภาพกำลังคนภาครัฐ
Other Titles: A PROPOSED ORGANIZATIONAL STRUCTURE MODEL OF THE CIVIL SERVICE TRAINING INSTITUTE TO ENHANCE THE QUALITY OF WORKFORCE IN THE PUBLIC SECTOR
Authors: กนกวรรณ ชูชีพ
Advisors: ชญาพิมพ์ อุสาโห
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
[email protected]
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการใช้ระเบียบการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของรูปแบบโครงสร้างองค์การสถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน และนำเสนอรูปแบบโครงสร้างองค์การสถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือนเพื่อเสริมสร้างคุณภาพกำลังคนภาครัฐ เป็นการศึกษารายกรณีองค์การสถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงาน ก.พ. ผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ข้าราชการสังกัดสถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน จำนวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 71.43 ผู้รับบริการ จำนวน 80 คน จาก 46 หน่วยงาน และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 15 คน เกี่ยวกับวิสัยทัศน์เชิงนโยบาย/ยุทธศาสตร์การบริหารและการพัฒนากำลังคนภาครัฐและบทบาทภารกิจที่มีต่อรูปแบบโครงสร้างองค์การสถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน รวมทั้งประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างรูปแบบฯ และดำเนินการจัดสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อพิจารณาร่างรูปแบบฯ ในภาพรวม เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ประเด็นการสัมภาษณ์ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบฯ สถิติที่ใช้คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี Priority Need Index (PNImodified ) และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบโครงสร้างองค์การสถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือนเพื่อเสริมสร้างคุณภาพกำลังคนภาครัฐ คือ รูปแบบโครงสร้างองค์การ : PAM Organizational Structure Model (Professional Adhocracy and Matrix Organizational Structure Model) เป็นรูปแบบโครงสร้างองค์การแบบผสมผสานระหว่างรูปแบบโครงสร้างองค์การแบบวิชาชีพ องค์การแบบคณะกรรมการ/ทีมงานเฉพาะกิจ และองค์การแบบเมตริกซ์ มีองค์ประกอบหลักของโครงสร้างองค์การ ได้แก่ 1) กลไกการดำเนินงานหลักเป็นการควบคุมดูแลการทำงานโดยการกำหนดมาตรฐานในการทำงานและการกำหนดมาตรฐานทักษะในการปฏิบัติงาน 2) ส่วนประกอบหลักที่สำคัญขององค์การ คือ ส่วนแกนปฏิบัติงาน ส่วนบริหารสูงสุด และที่ปรึกษาด้านเทคนิค 3) ตัวแปรในการออกแบบโครงสร้างองค์การ ประกอบด้วย ความเชี่ยวชาญในงานมีมากทั้งในแนวตั้งและแนวนอน การอบรมและปลูกฝังอุดมการณ์ค่านิยมของบุคลากรในการทำงานมาก ลักษณะรูปแบบความเป็นทางการเป็นแบบสิ่งมีชีวิต การควบคุมดูแล กฎระเบียบน้อย การจัดกลุ่มงานตามความรู้และทักษะเฉพาะ ตามหน้าที่กระบวนการทำงาน และตามผลผลิต ขนาดของกลุ่มงานเป็นแบบแบน (flat) ระบบการวางแผนและการควบคุมมาก กลไกการสื่อสารประสานระหว่างกลุ่มงานที่พึ่งพาต่อกันสูงและมีความซับซ้อนต้องอาศัยความร่วมมือร่วมแรงกันมาก กระจายอำนาจทั้งแนวนอนและแนวตั้ง การตัดสินใจระดับยุทธศาสตร์/เชิงนโยบายตามแผนที่กำหนดไว้ 4) ปัจจัยสถานการณ์ขององค์การ ประกอบด้วย ขนาดองค์การไม่แน่นอน เทคโนโลยีในการทำงานซับซ้อน สภาพแวดล้อมขององค์การแบบคงที่และซับซ้อนเชิงวิชาการ
Other Abstract: The present research applied a descriptive research method aiming at exploring the current status and desirable status of the organizational structure model of the Civil Service Training Institute (CSTI), and proposing such model to enhance the quality of workforce in the public sector. It employed a case study of CSTI under The Civil Service Commission, Thailand. Informants were 35 CSTI’s government officials (71.43 percent), 80 clients from 46 organizations. Interviews were undertaken with 15 experts about policy/strategic vision of management and development of workforce in the public sector, roles and functions towards the organizational structure model of CSTI. Assessment was made on the appropriateness and feasibility of the drafted model. A focus group discussion was carried out among 8 experts to consider the draft model. Research instruments included a questionnaire, interview issues, and model appropriateness and feasibility assessment. Statistical analysis involved frequency, percentage, mean, standard deviation, Priority Need Index (PNImodified ) and content analysis. The research’s result were: The organizational structure model of CSTI to enhance the quality of workforce in the public sector, it adopted an integrated model of PAM Organizational Structure Model (Professional Adhocracy and Matrix Organizational Structure Model). The key components of organizational structure include the followings. 1) Key coordinating mechanism through supervision was carried on with established work standards and skills standards of performance. 2) Function of key part comprised operating core, strategic apex, and technostructure. 3) Design parameters included high level of specialization of jobs, both vertically and horizontally; high level of training and indoctrination; formalization as organic organization; low level of control and regulations; grouping based on specific knowledge and skills, functions, work process, and output; the unit size of flat type; high level of planning and control system; liaison devices with high level of interdependency and complexity which require much collaboration; decentralization both vertically and horizontally; policy/strategic decision making upon the plan. 4) Situational factor encompassed variable sizes of organization; sophisticated technologies; stable organizational environment; and technical complexity.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46487
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5484451027.pdf12.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.