Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46714
Title: การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวัฒนธรรมท้องถิ่นตามแนวการสอนประสบการณ์ การอ่านแบบเสริมต่อการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถ การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและเจตคติต่อวัฒนธรรมท้องถิ่น ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ
Other Titles: A development of the local culture instructional model based on scaffolded reading experience approach to enhance english reading comprehension ability and attitued towards local culture of Rajabhat University students
Authors: ธนชาติ หล่อนกลาง
Advisors: อาภัสรา ชินวรรโณ
พิมพันธ์ เดชะคุปต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected]
[email protected]
Subjects: ภาษากับวัฒนธรรม
ภาษาอังกฤษ -- การอ่าน
ความเข้าใจในการอ่าน
ระบบการเรียนการสอน
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Language and culture
English language -- Reading
Reading comprehension
Instructional systems
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวัฒนธรรมท้องถิ่น ตามแนวการสอนประสบการณ์การอ่านแบบเสริมต่อการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ และเจตคติต่อวัฒนธรรมท้องถิ่นของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ 2) ประเมินคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น การดำเนินการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบ่งออกเป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวัฒนธรรมท้องถิ่น ตามแนวการสอนประสบการณ์การอ่านแบบเสริมต่อการเรียนรู้ ระยะที่ 2 การพัฒนาเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลระยะที่ 3 การประเมินคุณภาพรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น โดยนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักศึกษาโปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษชั้นปีที่ 2 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จำนวน 40 คน ใช้การเลือกแบบเจาะจง ระยะเวลาในการทดลอง 10 สัปดาห์ รวม 30 ชั่วโมง เครื่องมือวิจัยคือ แบบทดสอบสมิทธิภาพ TOEFL ส่วนที่วัดการอ่านเพื่อความเข้าใจ และแบบวัดเจตคติต่อวัฒนธรรมท้องถิ่นของนักศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ t-test ผลการวิจัย 1. รูปแบบการเรียนการสอนวัฒนธรรมท้องถิ่น ตามแนวการสอนประสบการณ์การอ่านแบบเสริมต่อการเรียนรู้ มี 2 ขั้นตอนคือ ขั้นวางแผนและขั้นนำไปใช้ ในขั้นวางแผนเป็นขั้นศึกษาข้อมูลพื้นฐานและพิจารณาปัจจัยสำคัญเกี่ยวกับ ตัวผู้เรียน การคัดเลือกและสร้างเนื้อหาวัฒนธรรมท้องถิ่น และกำหนดจุดประสงค์ในการอ่าน ส่วนขั้นนำไปประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก ดังนี้ 1. ขั้นก่อนอ่าน ประกอบด้วย 4 ขั้นย่อย ได้แก่ 1.1 ขั้นสร้างแรงจูงใจเรื่องวัฒนธรรมท้องถิ่นและกำหนดจุดประสงค์ 1.2 ขั้นทบทวนความรู้เดิม และสร้างความรู้พื้นฐานด้านคำศัพท์เกี่ยวกับบทอ่าน 1.3 ขั้นนำเสนอวัฒนธรรมท้องถิ่น และ 1.4 ขั้นเสนอแนะกลวิธีการอ่าน 2. ขั้นระหว่างอ่าน ประกอบด้วย 4 ขั้นย่อย ได้แก่ 2.1 อ่านออกเสียงโดยผู้สอน 2.2 ขั้นอ่านตามคำแนะนำ 2.3 ขั้นอ่านในใจ และ 2.4 ขั้นตรวจสอบความเข้าใจ 3. ขั้นหลังอ่าน ประกอบด้วย 4 ขั้นย่อย ได้แก่ 3.1 ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3.2 ขั้นสรุป 3.3 ขั้นประยุกต์ใช้ และ3.4 ขั้นประเมินการเรียนรู้ 2. การประเมินคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น พบว่า 2.1 นักศึกษากลุ่มทดลองที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนวัฒนธรรมท้องถิ่น ตามแนวการสอนประสบการณ์การอ่านแบบเสริมต่อการเรียนรู้ มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังการทดลอง สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2.2 นักศึกษากลุ่มทดลองที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนวัฒนธรรมท้องถิ่น ตามแนวการสอนประสบการณ์การอ่านแบบเสริมต่อการเรียนรู้ มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างน้อย 19% ของคะแนนเต็ม 2.3 นักศึกษากลุ่มทดลองที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนวัฒนธรรมท้องถิ่น ตามแนวการสอนประสบการณ์การอ่านแบบเสริมต่อการเรียนรู้ มีคะแนนเฉลี่ยเจตคติต่อวัฒนธรรมท้องถิ่นหลังการทดลอง สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Other Abstract: The purposes of this research are 1) to develop the local culture instructional model based on Scaffolded reading experience approach; and 2) to evaluate the quality of the developed instructional model by comparing the students's English reading comprehension ability and their attitude towards local culture before and after taking the local culture instructional model based on Scaffolded reading experience approach. The research procedure was divided into 3 phases. The first phase was to develop the local culture instructional model based on Scaffolded reading experience approach. The second phase was to construct the research instruments. The third phase was to evaluate the quality of the developed instructional model by implementing with 40 English program students at Nakhon Ratchasima Rajabhat University. The samples were purposively selected from the second year undergraduate English program students. The research instruments were the test of English as a foreign language section 3: Reading comprehension and the local culture attitude test. The duration of experiment was 10 weeks with three hours per week. The data were analyzed using t-test. The findings of this study were as follows 1. The local culture instructional model based on Scaffolded reading experience approach has 2 phases: the planning and the implementation. The planning phase concerns with students, texts and reading purposes. The implementation phase consists of 3 main instructional activities. Pre-reading activities consists of 1) motivating and setting purposes for reading, 2) activating prior knowledge and building background knowledge, 3) presenting local culture and 4) suggesting strategies. During-reading activities consists of 1) reading to students 2) guided reading, 3) silent reading and 4) checking comprehension. Post-reading activities consists of 1) sharing and learning, 2) concluding, 3) making applications and 4) assessment. 2. The evaluation of the local culture instruction model based on Scaffolded reading experience approach revealed that; 2.1 After taking the developed instructional model, the post-test mean scores of students' English reading comprehension ability were higher than their pre-test mean scores at the significant level of 0.01. 2.2 After taking the developed instructional model, the post-test mean scores of students' English reading comprehension ability were higher than their pre-test mean scores at least 19% by the full score. 2.3 After taking the developed instructional model, the post-test mean scores of students' attitude were higher than their pre-test mean scores at the significant level of 0.01.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: หลักสูตรและการสอน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46714
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1046
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1046
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thanachart_lo_back.pdf8.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.