Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46734
Title: | มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการกำกับดูแลผู้ติดตามทวงหนี้ |
Other Titles: | Legal measures on regulating collection agency |
Authors: | ธีรารัตน์ บุตรโพธิ์ |
Advisors: | สำเรียง เมฆเกรียงไกร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | หนี้ ลูกหนี้ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- หนี้ Debt Debtor and creditor Civil and commercial law -- Debt |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายในการศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการกำกับดูแลผู้ติดตามทวงหนี้ของประเทศสหรัฐอเมริกา และของประเทศไทย เพื่อนำมาตรการทางกฎหมายหรือแนวทางเกี่ยวกับการกำกับดูแลผู้ติดตามทวงหนี้ที่เหมาะสมมาบังคับในประเทศไทย อันจะส่งผลให้ปัญหาการติดตามทวงหนี้ที่ไม่เป็นธรรมลดน้อยลง จากการศึกษาของประเทศไทยและประเทศสหรัฐอเมริกา ร่างพระราชบัญญัติการติดตามทวงถามหนี้อย่างเป็นธรรม พ.ศ. .... และกฎหมายเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในการติดตามทวงหนี้อย่างเป็นธรรม ค.ศ.1978 พบว่าประเทศไทย และประเทศสหรัฐอเมริกา ปัญหาการติดตามทวงหนี้ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ลูกหนี้อย่างยิ่ง จึงต้องมีมาตรการทางกฎหมายต่างๆ ในการกำกับดูแลผู้ติดตามทวงหนี้ อันมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสิทธิของลูกหนี้ ได้แก่ มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการประกอบธุรกิจของผู้ติดตามทวงหนี้ เนื่องจากการประกอบธุรกิจรับติดตามทวงหนี้อาจกระทบต่อสิทธิของบุคคล และสาธารณชนจึงต้องกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจกรณีใดบ้างสามารถติดตามทวงหนี้จากลูกหนี้ได้ มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการกำกับดูแลผู้ติดตามทวงหนี้ เพื่อกำหนดข้อห้าม และข้อปฏิบัติเกี่ยวกับวิธีการติดตามทวงหนี้ของผู้ติดตามทวงหนี้ อำนาจของคณะกรรมการ เพื่อบังคับใช้มาตรการทางกฎหมาย และส่งเสริมมาตรการกำกับดูแลผู้ติดตามทวงหนี้ดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดี ร่างพระราชบัญญัติการติดตามทวงถามหนี้อย่างเป็นธรรม พ.ศ. …. ยังมีรายละเอียดของมาตรการทางกฎหมายที่ไม่เหมาะสม และสอดคล้องกับปัญหาการติดตามทวงหนี้ที่ไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ผู้เขียนเสนอแนะให้มีการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติการติดตามทวงถามหนี้ที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. … ดังต่อไปนี้ 1.การเพิ่มขอบเขตบังคับใช้กฎหมายโดยขยายคำนิยาม “ผู้ติดตามทวงหนี้” ให้หมายความรวมถึงบุคคลธรรมดา ผู้รับซื้อ หรือรับโอนหนี้เพื่อป้องกันการเลี่ยงกฎหมาย2.การกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจติดตามทวงหนี้ต้องได้รับใบอนุญาตเพื่อให้รัฐสามารถตรวจสอบให้เฉพาะผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นผู้ดำเนินธุรกิจและมีอำนาจกำกับธุรกิจได้มากขึ้น 3.การกำหนดให้มีวิธีการติดต่อสื่อสารกับลูกหนี้โดยให้สิทธิกับลูกหนี้ยุติการติดต่อสื่อสารชั่วคราวเพื่อเป็นการคุ้มครองคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย 4. อำนาจคณะกรรมการติดตามทวงหนี้ออกคำสั่งชั่วคราว หรือถาวรเกี่ยวกับห้ามผู้ติดตามทวงหนี้ใช้วิธีการ ติดตามทวงหนี้ใดๆ ที่อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อลูกหนี้อย่างมาก |
Other Abstract: | This thesis attempts to study and analyze the legal measures on controlling the debt collectors in the United States of America in comparison with the legal measures in Thailand, to seek the appropriate legal measures or the appropriate guideline to be adopted in Thailand, which will reduce unfair debt collection. From studying the draft of the Fair Debt Collections Act B.E…. and the Fair Debt Collection Practices Act (1978), it is found that both Thailand and the United States of America experience the problem of abusive debt collection practices. Thus, there must be legal measures to control the debt collectors in order to protect the debtors' rights. Those legal measures are the legal measures on controlling the collection agencies. As the collection agency business may affect the rights of a person or the public. They must define the conditions of debt collection, the legal measures on controlling the debt collectors, the prohibited conduct and required conduct on debt collection, the power of the committee to enforce the law and promote the efficiency of the measures on controlling the debt collectors. However, such draft of the Fair Debt Collections Act B.E.... still contains some legal measures that are considered inappropriate and not in accordance with the current situation. The author suggests that the draft of the Fair Debt Collections Act B.E…. be amended as follows; 1. The definition, the "debt collector" should include the natural person who is a debt buyer or an assignee of debt to prevent the circumvention of the law. 2. The collection agencies should recieve the license in order that the Government could inspect only appropriate agencies for business operation and also have the authority to regulate and monitor the collection agency business. 3.Debtors should have the rights not to temporarily contact with the collection agencies for the purpose of the protection for the parties. 4. The power of the debt collection committee, they should have a power to prohibit, temporarily or permanently, the debt collectors from any debt collection methods which may be abusive to debtors. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46734 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1343 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2012.1343 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Theerarat_bu.pdf | 2.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.