Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47163
Title: การพัฒนามาตรวัดสมรรถนะของหัวหน้างานในหน่วยงานด้านบริการ
Other Titles: Scale development of supervisory competency in a service department unit
Authors: คุณิตา พงศ์สันติสุข
ตติยา มหามาตร
พีรพิธ พรมทอง
Advisors: อรัญญา ตุ้ยคำภีร์
สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: [email protected]
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การจำแนกประเภทบุคคล (จิตวิทยา)
บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ
งานบริการ
Topology (Psychology)
Human services
Issue Date: 2554
Publisher: คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนามาตรวัดสมรรถนะของหัวหน้างานในหน่วยงานด้านบริการสำหรับการใช้พัฒนาบุคลากร กลุ่มตัวอย่างสำหรับขั้นสร้างและพัฒนามาตรวัด คือ หัวหน้างานในหน่วยงานด้านบริการ ประเภทธุรกิจพาณิชย์-ค้าปลีก จำนวน 258 คน และกลุ่มตัวอย่างที่รู้ความแตกต่างอย่างชัดเจน (Contrasted Group) คือ นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจำนวน 30 คน และ หัวหน้างานในหน่วยงานด้านบริการ ประเภทธุรกิจพาณิชย์-ค้าปลีกที่มีสมรรถนะสูง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ มาตรวัดสมรรถนะของหัวหน้างานในหน่วยงานด้านบริการซึ่งพัฒนาโดยคณะผู้วิจัย และมาตรวัดบุคลิกภาพ 5 องค์ประกอบ วิธีการคือ การหาค่าสหสัมพันธ์ (Correletions) และ การวิเคราะห์โดยใช้กลุ่มที่รู้ความแตกต่างอย่างชัดเจน (Method of Contrasted Group) ผลการวิจัยพบว่า มาตรวัดสมรรถนะของหัวหน้างานในหน่วยงานด้านบริการประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ บรรยายด้วย 52 ข้อกระทง มีความสัมพันธ์กับบุคลิกภาพ 5 องค์ประกอบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติดังนี้ 1) สมรรถนะของหัวหน้างานในหน่วยงานด้านบริการมีความสัมพันธ์ทางลบกับบุคลิกภาพด้านไม่มั่นคงทางอารมณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 2) สมรรถนะของหัวหน้างานในหน่วยงานด้านบริการมีความสัมพันธ์ทางบวกกับบุคลิกภาพด้านเปิดเผยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 3) สมรรถนะของหัวหน้างานในหน่วยงานด้านบริการมีความสัมพันธ์ทางบวกกับบุคลิกภาพด้านมีจิตสำนึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 4) กลุ่มที่รู้สมรรถนะของหัวหน้างานในหน่วยงานด้านบริการมีความแตกต่างกับกลุ่มไม่รู้สมรรถนะของหัวหน้างานในหน่วยงานด้านบริการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01
Other Abstract: This study aims to develop the Supervisor Competency in a Service Department Scale. The scale was developed through information obtained from 258 Supervisor's commercial sector, 30 Chulalongkorn University undergraduate students and 30 Supervisor's commercial sector who have high score Supervisor Competency in a service department scale. Participants responed to the proposed Supervisory Competency in a Service Department Scale and Big Five Personality Scale. The data was analyzed using 1) Pearson's Correlations 2) Method of Contrasted Group. Findings showes statistically significant correlations and independent t-test 1) Supervisor Competency negatively correlated with Neuroticism (p<.01) 2) Supervisor Competency positively correlated with Extraversion (p<.01) 3) Supervisor Competency positively correlated with Conscientiousness (p<.01) 4) Knowner group and Unknowner group of Supervisor Competency in a service department are significantly difference (p<.01)
Description: โครงงานทางจิตวิทยานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2554
A senior project submitted in partial fulfillment of the requirements for the Degree of Bachelor of Science in Psychology, Faculty of Psychology, Chulalongkorn University, Academic year 2011
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47163
Type: Senior Project
Appears in Collections:Psy - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kunita_po.pdf561.64 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.