Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47372
Title: | การประเมินโครงการฝึกอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำการ ของวิทยาลัยครูกลุ่มนครหลวง |
Other Titles: | An evaluation of in-service training project in metropolitan teachers colleges |
Authors: | โสภณ กาญจนะ |
Advisors: | ปทีป เมธาคุณวุฒิ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | [email protected] |
Subjects: | โครงการอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำการ โครงการ -- การประเมินผล ครู -- การฝึกอบรม |
Issue Date: | 2530 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของการวิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษา : 1. ความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของโครงการกับนโยบายการศึกษาของการฝึกหัดครู 2. สภาพรวมของปัจจัย เบื้องต้นของโครงการอบรม ได้แก่ ผู้สอน ผู้เข้าอบรมและหลักสูตรที่ใช้อบรม 3. ความคิดเห็นของผู้เข้ารับการอบรม ผู้สอบและบัณฑิต เกี่ยวกับการดำเนินการอบรม 4. ความคิดเห็นของผู้บังคับบัญชาของบัณฑิต เกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานของบัณฑิตที่สำเร็จการอบรมไปแล้ววิธีดำเนินการวิจัยการวิจัยครั้งนี้เป็นการประเมินโครงการฝึกอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำการ ของวิทยาลัยครูกลุ่มนครหลวง กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักศึกษาในโครงการอบรมครูและบุคคลากรทางการศึกษา ที่กำลังอบรมอยู่ในปีการศึกษา 2528 และบัณฑิตในโครงการที่สำเร็จการศึกษาไปแล้ว ซึ่งเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรในปีการศึกษา 2527 ผู้บังคับบัญชาของบัณฑิตและอาจารย์ที่สอนในวิทยาลัยครูกลุ่มนครหลวง จำนวนรวมทั้งสิ้น 512 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามจำนวน 2 ชุด สร้างเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่ามี 5 ระดับ ชุดแรกใช้สอบถามความคิดเห็นของผู้ที่กำลังเข้ารับการอบรม อาจารย์และบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาไปแล้ว ชุดที่สองใช้สอบถามผู้บังคับบัญชาของบัณฑิต สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีของเซฟเฟ่สรุปผลการวิจัย 1. วัตถุประสงค์ของโครงการฝึกอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำการที่กำหนดไว้มีความสอดคล้องกับพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 และ พ.ศ. 2527 มาตรา 5 สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระยะที่ 4 และระยะที่ 5 รวมทั้งนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และนโยบายของกรมการฝึกหัดครู 2. หลักสูตรที่ใช้อบรม เป็นหลักสูตรสภาการฝึกหัดครู พ.ศ. 2519 สายวิชาชีพครู ระดับปริญญาตรี 2 ปีหลัง ซึ่งมีวัตถุประสงค์จะสร้างคนให้เป็นคนดี เป็นครูดี และมีความรู้ดี ส่งเสริมความถนัดความสนใจและสนองความต้องการของท้องถิ่น จำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า 70 หน่วยกิต ประกอบด้วยวิชาพื้นฐานไม่น้อยกว่า 16 หน่วยกิต วิชาชีพครูไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต วิชาเฉพาะไม่น้อยกว่า 32 หน่วยกิต และวิชาเลือกเสรีประมาณ 4 หน่วยกิต 3. ลักษณะผู้เข้าอบรม เกือบครึ่งหนึ่งมีอาชีพครู ที่เหลือเป็นข้าราชการอื่น ทหาร/ตำรวจ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ วุฒิเดิมส่วนใหญ่คือวุฒิ ป.กศ.สูง รองลงมาคือ ป.วส. ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 21 – 30 ปี มีประสบการณ์ทำงานระหว่าง 1- 5 ปี ผู้มีอาชีพครูเป็นเพศหญิงมากกว่าชาย ส่วนผู้ที่มีอาชีพอื่นเพศชายมากกว่าหญิง 4. ลักษณะของอาจารย์ พบว่าส่วนใหญ่มีวุฒิปริญญาโท รองลงมาคือปริญญาตรีแลปริญญาเอก เทียบตามอัตราส่วนจะได้ 0.5 : 5.6 : 3.9 (เอก : โท : ตรี) ซึ่งคุณวุฒิของอาจารย์ยังตำกว่าเกณฑ์มาตรฐานอุดมศึกษา ประสบการณ์การสอน ส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 11 – 20 ปี อายุอยู่ระหว่าง 31 – 40 ปี วิชาที่สอนในโครงการ ฯ ส่วนใหญ่เป็นวิชาเดียวกันกับวิชาที่สอนในภาคปรกติ จำนวนชั่วโมงสอนในโครงการ ฯ ส่วนใหญ่เป็นวิชาเดียวกันกับวิชาที่สอนในภาคปรกติระหว่าง 6 – 10 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ 5. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้เข้าอบรมที่มีอาชีพครูกับผู้เข้าอบรมที่มีอาชีพอื่น พบว่า ด้านเนื้อหาวิชามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยผู้เข้าอบรมอาชีพครูเห็นว่า ด้านเนื้อหาวิชาที่อบรมให้ประโยชน์มากกว่าความเห็นของผู้มีอาชีพอื่น ด้านผู้สอนมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.5 โดยผู้มีอาชีพครูเห็นว่า ผู้สอนสอนได้ดีแล้ว มากกว่าความเห็นของผู้มีอาชีพอื่น ด้านผู้เข้าอบรมมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 โดยผู้เข้าอบรมที่มีอาชีพครูมีความเห็นว่าผู้เข้าอบรมมีความรู้พื้นฐาน มีเวลาศึกษาเล่าเรียนและวิชาที่เรียนตรงกับสายงานที่ทำมากกว่าความคิดเห็นของผู้มีอาชีพอื่น ส่วนค่าเฉลี่ยความคิดเห็นทางด้านบริการ-สวิสดีการของวิทยาลัย พบว่า ไม่แตกต่างกัน แต่อยู่ในเกณฑ์ปานกลางค่อนข้างต่ำ 6. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของบัณฑิตที่มีอาชีพครู กับบัณฑิตที่มีอาชีพอื่นพบว่า ความคิดเห็นของบัณฑิตทั้งสองกลุ่มอาชีพ ไม่มีความแตกต่างกันทั้งในด้านเนื้อหาวิชา ด้านผู้สอน ด้านผู้รับการอบรม ด้านบริการสวัสดิการ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าค่าเฉลี่ยในด้านบริการ-สวัสดิการอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าด้านอื่น ๆ 7. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างผู้เข้าอบรม อาจารย์และบัณฑิตเกี่ยวกับการดำเนินการอบรม พบว่า โดยส่วนรวมแล้วความคิดเห็นของผู้เข้าอบรม อาจารย์และบัณฑิต ไม่มีความแตกต่างกัน 8. ลักษณะของบัณฑิต ทางด้านอาชีพ พบว่า เกือบครึ่งหนึ่งมีอาชีพครู รองลงมาคือทหาร/ตำรวจ ข้าราชการพลเรือนที่ไม่ใช่ครู พนักงานรัฐวิสาหกิจ ด้านประสบการณ์การทำงานส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 6 – 10 ปี และพบว่าการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหลังจากสำเร็จการอบรมไปแล้ว กล่าวคือได้รับตำแหน่งบริหารเพิ่มขึ้น ขณะที่ภาระในการสอนหรือให้การอบรบลดน้อยลง 9. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บังคับบัญชา ต่อผลการปฏิบัติงานของบัณฑิตที่มีอาชีพครูกับบัณฑิตที่มีอาชีพอื่น พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันในทุก ๆ ด้าน และความคิดเห็น ของผู้บังคับบัญชาต่อผลการปฏิบัติงานของบัณฑิต พบว่า อยู่ในระดับสูงทุกด้าน โดยเฉพาะด้านความมีระเบียบวินัย ความซื่อสัตย์สุจริต และความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น |
Other Abstract: | The purposes of study were : 1. To identify the conformity of in-service training project objectives and the Department of Teacher Education policies. 2. To as certain all basic factors of in-service training project such as instructor, Trainee, and Curriculum. 3. To vertify the perception of trainees, instructors, and graduates on various aspects of in-services training project. 4. To analyze the perception of employers on graduate’s performance. Methods and Procedures This research was to evaluate the in-service training project in the Metropolitan Teachers College. Five hundred and twelve samples which consisted of 1985’s trainees, 1984’s graduates, their employers, and College instructors served as the subjects for study. The instrument used was two set of questionnaires with five rating scale. Data to rate each item were obtained from the perception of trainees, graduates and instructors, and from graduates’ employers. In order to analyze the data, subsequent statistical procedures such as percentage, arithmetic mean, standard deviation, t-test, one way analysis of variance, and a paired comparision by a method of Scheffe’s were employed in this study. Findings 1. The objectives of in-service training project agreed with teachers college Act’s 1975, and 1984 ; and fifth amendment also agreed with 4th and 5th social and economic development plans, the Ministry of Education, and Teacher Education Department policies. 2. Teacher education curriculum 1981 was implemented for two years degree program. The purposes of this curriculum were to create good citizen, effective teachers, to develop their interests and aptitude, and to serve local and community meeds. Trainees had to take at least 70 credits which consisted of 16 credits of general education, 18 credits of professional education, 32 credits of specialized education, and 4 credits of free elective courses. Of specialized education, and 4 credits of free elective courses. 3. About half of the trainees was teachers. Another half was soldiers/ Police officers, government officers, and so on. Their educational backgrounds were mostly higher certificate of education and certificate of technical education ; ages 21 30 years old, work experience 1 – 5 years. Trainees who were in teaching career were mostly female but ones who were in other career were mostly male. 4. The ratios of college instructors were 0.5 : 5.6 : 3.9 as doctors, masters, and bachelors degree. These ratios were quite low when compared to higher education standard. Their teaching experiences were mostly between 11 – 20 years and their ages were 31 – 40 years. Courses that the instructors taught trainees were the same as they taught at day-time students. Their teaching loads were about 1 – 5 houses per week 5. There was a significant difference at the .05 confident level in perception of the course contents and the instructors’ performance between the trainees in teaching career and the trainees from other careers. Higher perception in the two identified aspects were found in trainees who were in teaching career. There was a significant difference at the .01 confident level in perception of academic background, adequate study time, and curriculum in accordance with their profession. However, there was no significant difference with their profession. However, there was no significant difference regarding the college services. 6. There was no significant difference between the graduates of teaching career and other careers in the perception of all the following aspects : the course contents, the instructors, the trainees, and the college services. However, the mean scores on college services were found to be lower than the others 7. There was no significant difference in the perception on the in-service training project among trainees, instructors, and graduates. 8. There was evidently found that the graduates would be promoted into more administration position while their teaching loads would be lower found. 9. There was no significant difference in the perception of employers on the graduates performance from the teaching career and other careers. However, their perception scores on the graduates’ performance were high on all aspects especially on disciplinary, honesty and ability to work with others. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อุดมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47372 |
ISBN: | 9745674834 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sophon_ka_front.pdf | 2.87 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sophon_ka_ch1.pdf | 7.13 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sophon_ka_ch2.pdf | 3.86 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sophon_ka_ch3.pdf | 9.21 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sophon_ka_ch4.pdf | 7.98 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sophon_ka_ch5.pdf | 3.13 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sophon_ka_back.pdf | 6.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.