Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47657
Title: | การวิเคราะห์โครงสร้างหลักทางกฎหมายการบริหารงานบุคคล ของข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย |
Other Titles: | An analysis of principal legal structure on university personnel administration |
Authors: | สุภาพ สุจริตพงศ์ |
Advisors: | วิษณุ เครืองาม ไพโรจน์ สิตปรีชา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | [email protected] ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | สถาบันอุดมศึกษา -- ไทย -- การบริหาร การบริหารงานบุคคล -- ไทย ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ สถาบันอุดมศึกษา -- ข้าราชการและพนักงาน ข้าราชการพลเรือน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ |
Issue Date: | 2530 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | มหาวิทยาลัยควรจะเป็นสถาบันการศึกษาที่มีความเป็นอิสระในการบริหารงาน โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับงานทางด้านวิชาการ รัฐจึงได้กำหนดนโยบายไว้ในรัฐธรรมนูญ ให้มหาวิทยาลัยดำเนินกิจการของตนเองได้โดยอิสระภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ มหาวิทยาลัยต่างๆ จึงได้มีกฎหมายพิเศษของตนออกมารองรับ ทำให้การบริหารและการดำเนินงานตามภารกิจหลักของมหาวิยาลัย 4 ประการ คือ การสอน การวิจัย การบริการทางวิชาการแก่สังคม และการทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เป็นไปตามที่กำหนดในกฎหมายของมหาวิทยาลัย อันเป็นลักษณะพิเศษและเฉพาะที่แตกต่างจาการดำเนินงานของส่วนราชการอื่นๆ ของรัฐ จากข้อเท็จจริงโดยพฤตินัยและนิตินัย จึงทำให้รูปแบบการบริหารงานในมหาวิทยาลัยเป็นไปในลักษณะขององค์กรกระจายอำนาจ ซึ่งเป็นการกระจายอำนาจตามกิจกรรม จากโครงสร้างทางกฎหมายและระบบการบริหารงานในมหาวิทยาลัยดังกล่าวทำให้ดูมีความสับสน ในความรู้สึกของคนทั่วไปที่ไม่เข้าในระบบมหาวิทยาลัย ส่วนการบริหารงานบุคคลในมหาวิทยาลัยนั้น เนื่องจากลักษณะงานของมหาวิทยาลัย ที่มีความแตกต่างจากงานราชการอื่นๆ ของรัฐ ฉะนั้นในการดำเนินงานเกี่ยวกับการบบริหารงานบุคคลในมหาวิทยาลัย รัฐจึงได้ให้อิสระด้วย โดยให้แยกการบริหารงานดังกล่าวออกจากองค์กรกลางการบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และให้จัดตั้งองค์กรกลางการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยขึ้นต่างหาก ดำเนินการในรูปคณะกรรมการ เรียกว่าคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย (ก.ม.) โดยให้อำนาจการบริหารงานบุคคลเป็นขององค์กรกลาง งานวิจัยนี้จึงมุ่งที่จะศึกษาถึงโครงสร้างหลักทางกฎหมายการบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ว่าเป็นอย่างไร มีความเหมาะสมกับระบบการบริหารงานมหาวิทยาลัยหรือไม่เป็นไปตามหลักการบริหารงานบุคคลหรือไม่ จากการศึกษาพบว่ากฎหมายว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยที่ใช้เป็นกฎหมายแม่บทนั้น มีเพียง 5 มาตรา โดยให้ไปกำหนดรายละเอียดต่างๆ ไว้ในกฎทบวง ซึ่งเป็นกฎหมายลำดับรอง และกฎทบวงที่ออกมาก็ไม่ได้กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้อราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยให้ครอบคลุมทุกเรื่อง กลับให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน กฎ ก.พ. และระเบียบที่ออกตามความในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนมาใช้โดยอนุโลม การนำกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนมาใช้กับข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย โดยอนุโลมนั้น ย่อมจะขัดกับหลักการบริหารงาน และการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัย โดยหลักและข้อเท็จจริงกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อใช้สำหรับระบบข้าราชการประเภทหนึ่งย่อมจะเหมาะสมและใช้ได้ผลกับข้าราชการประเภทนั้นเท่านั้น แต่จะไม่เหมาะสมกับระบบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ฉะนั้นการนำกฎหมายดังกล่าวมาใช้กับข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย จึงไม่เหมาะสมกับระบบการบริหารงานมหาวิทยาลัย นอกจากนี้เมื่อพิจารณาตามศักดิ์ของกฎหมายแล้วจะเห็นว่ากฎทบวงมีศักดิ์ด้อยกว่าพระราชบัญญัติของมหาวิทยาลัย การบริหารงานบุคคลในส่วนที่ได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติของมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่แตกต่างไปจากที่ได้กำหนดไว้ในกฎทบวง จึงมักมีปัญหาในการใช้เกิดขึ้นตามมาด้วย ควรจะได้พิจารณาแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยดังกล่าวให้เหมาะสม โดยตราเป็นพระราชบัญญัติให้มีข้อความครอบคลุมการบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ให้เป็นไปตามระบบและลักษณะงานของมหาวิทยาลัย และให้มีสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นแหล่งกลางการบริหารงานบุคคลข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยดังกล่าว ก็จะทำให้เกิดความคล่องตัวต่อการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัย เอื้อต่อการบริหารงานและการพัฒนาทางวิชาการของมหาวิทยาลัยยิ่งขึ้น ส่วนการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยนั้น เป็นไปตามหลักการบริหารงานบุคคลโดยทั่วไปคือ ยึดถือการบริหารงานตามระบบคุณธรรม |
Other Abstract: | "University" which is an educational institute should have an autonomy in administrative affairs, especially academic affairs. Such autonomy under the provisions of law is clearly specified in the Thai Constitution. Thus there appear special legal regulations laid down fort universities to perform 4 principal responsibilities : teaching, research, extension services to society and cultural preservation. These special legal regulations practically and legally differ from those of other state institutions. Consequently, the decentralization system of administration is commonly practiced by the state universities. Yet both the legal structure and the administrative system of such universities are not clear. Since autonomy is also applied to it, the university personnel administration is no longer under the administration of Civil Service Commission. (C.S.C.) but a separate entity is the form of committee named "University Civil Service Commission." (U.C.S.C.) This research aims at studying the appropriateness of the principal legal structure on university personnel administration for the university principal administration system. It is found that the principal law which is under the law of university personnel administration contains 5 sections specified in detail in the regulations for Ministry of University Affairs. In fact, the regulations for Ministry of University Affairs do not cover in detail the university personnel administration but rather give consent to using the government civil service commission's regulations. However, the application of civil service commission's regulations to university personnel administration is contradictory to the principle of university administration and university personnel administration. In principle and reality, the law which is written for a particular group of government officials is likely to suit for only such particular group. By the same taken to apply the law written for government officials from other departments is not appropriate for university personnels as well as university administrative system. By virtue of the force of law, it is seen that the regulations for Ministry of University Affairs are not as powerful as the University acts. Problems always arise from the application of the university acts to university personnel administration. Hence a remedy on the law or regulations applied to university personnel administration is examined. It is suggested that such law should be enacted as "University Act" to deal with university personnel administration in accordance with university affairs. It is also suggested that a Secretariat Office of the University Civil Service Commission is established as a Center for providing flexibility and facilities to university personnel administration and university academic affairs development. However the university personnel administration may accordingly follow the general personnel administration rules but with more emphasis on the moral principle. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47657 |
ISBN: | 9745678872 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Supap_su_front.pdf | 1.87 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supap_su_ch1.pdf | 1.36 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supap_su_ch2.pdf | 8.03 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supap_su_ch3.pdf | 5.7 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supap_su_ch4.pdf | 8.01 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supap_su_ch5.pdf | 7.41 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supap_su_ch6.pdf | 1.66 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supap_su_back.pdf | 5.67 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.