Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48647
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุมิตรา อังวัฒนกุล-
dc.contributor.authorสมพร วันประกอบ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-06-10T02:36:12Z-
dc.date.available2016-06-10T02:36:12Z-
dc.date.issued2538-
dc.identifier.isbn9746320769-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48647-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการฟังเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร ที่ฟังข้อความที่มีลักษณะต่างกัน และมีพื้นความรู้เดิมในเรื่องที่ฟังต่างกัน และวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างลักษณะของข้อความที่ฟังกับฟื้นความรู้เดิมในเรื่องที่ฟังที่มีต่อความสามารถในการฟังเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษของนักเรียน ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในภาคปลาย ปีการศึกษา 2537 ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร จำนวน 330 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยเครื่องมือที่ใช้คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างประชากรได้แก่ แบบสอบความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบความสามารถในการฟังเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษ และแบบสอบพื้นความรู้เดิมในเรื่องที่ฟัง แบบสอบทั้ง 3 ฉบับได้รับการตรวจความครอบคลุมเนื้อหา และความถูกต้องเหมาะสมในการใช้ภาษา จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน ก่อนนำไปทดลองใช้ 2 ครั้ง ได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเท่ากับ 0.89 ค่าความเที่ยงของแบบสอบความสามารถในการฟังเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษเท่ากับ 0.86 และค่าความเที่ยงของแบบสอบพื้นความรู้เดิมในเรื่องที่ฟังเท่ากับ 0.85 ผู้วิจัยนำแบบสอบทั้ง 3 ฉบับไปทดสอบกับตัวอย่างประชากรที่เลือกไว้ แล้วนำคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์ตามวิธีการทางสถิติ โดยการหาค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ 2 ทาง และวิเคราะห์ความแตกต่างรายคู่โดยวิธีของตูกี แล้วนำเสนอในรูปตารางประกอบความเรียง ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความสามารถในการฟังเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษของนักเรียนที่ฟังข้อความที่มีลักษณะของข้อความต่างกัน คือข้อความที่ไม่ปรับภาษา ข้อความที่มีการปรับภาษาแบบใช้โครงสร้างของประโยคที่ไม่ซับซ้อน และข้อความที่มีการปรับภาษาแบบการช้ำความ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความสามารถในการฟังเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษของนักเรียนที่มีฟื้นความรู้เดิมในเรื่องที่ฟังต่างกัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างลักษณะของข้อความที่ฟังกับพื้นความรู้เดิมในเรื่องที่ฟังต่อความสามารถในการฟังเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01en_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study the ability in English listening comprehension of mathayom suksa five students in secondary schools under the jurisdiction of the Department of General Education, Bangkok Metropolis, who listened to the passages with different types of discourses and who had different prior knowledge, and analyze the interaction between types of discourses and prior knowledge on the ability in English listening comprehension of students. The samples of this research were 330 matayom suksa five students studying in the second semester of the academic year 1994 in the secondary schools under the jurisdiction of the Department of General Education, Bangkok Metropolis and were randomed by using the multi-stage random sampling technique. The first research instrument for selecting the samples was the English listening proficiency test for communication and the other two instruments for collecting data were the English listening comprehension test, and the prior knowledge test, All the tests were approved its appropriateness of content and the language use by five experts before trying out twice. The reliability of the English proficiency test for communication, the English listening comprehension test, and the prior knowledge test were 0.89, 0.86 and 0.85 respectively. The data obtained were statistically analyzed by means of arithmetic mean, standard deviation, two-way classification analysis of variance, pairwise comparisons by Tukey Method and presented in tables with descriptions. The results of the study were as follows : 1. There was a statistically significant difference in the ability in English listening comprehension of students who listened to the passages with different types of discourses at the .05 level. 2. There was a statistically significant difference in the ability in English listening comprehension of students who had different prior knowledge at .01 level. 3. There was a statistically significant interaction between types of discourses and prior knowledge on the ability in English listening comprehension of students at the .01 level.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectภาษาอังกฤษ -- การทดสอบความสามารถen_US
dc.subjectการฟังen_US
dc.titleปฏิสัมพันธ์ระหว่างลักษณะของข้อความกับพื้นความรู้เดิม ที่มีต่อความสามารถในการฟังเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeAn interaction of types of discourses and prior knowledge on the ability in English listening comprehension of Mathayom Suksa Five students in secondary schools under the jurisdiction of The Department of General Education, Bangkok Metropolisen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineมัธยมศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor[email protected]-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somporn_wa_front.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open
Somporn_wa_ch1.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open
Somporn_wa_ch2.pdf9.74 MBAdobe PDFView/Open
Somporn_wa_ch3.pdf3.48 MBAdobe PDFView/Open
Somporn_wa_ch4.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open
Somporn_wa_ch5.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
Somporn_wa_back.pdf6.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.