Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48730
Title: การพัฒนาแบบสอบการใช้เหตุผลเชิงตรรก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Other Titles: The development of the logical reasoning test for mathayom suksa three students
Authors: วาสนา นุชเทศ
Advisors: พวงแก้ส ปุณยกนก
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: แบบสอบการใช้เหตุผลเชิงตรรก
แบบทดสอบ -- ความเที่ยง
แบบทดสอบ -- ความตรง
แบบทดสอบ
การอ้างเหตุผลเชิงตรรก
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบการใช้เหตุผลเชิงตรรกกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2534 จำนวนทั้งสิ้น 1,310 คน ซึ่งสุ่มได้จากโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตการศึกษา 12 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามการใช้เหตุผลเชิงตรรก เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 5 ตัวเลือก โดยแบ่งเป็น 2 ตอนคือ ตอนที่ 1 การใช้เหตุผลแบบอุปนัย จำนวน 22 ข้อ ตอนที่ 2 การใช้เหตุผลแบบนิรนัย จำนวน 29 ข้อ รวมทั้งสิ้น 51 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSSX ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.ค่าเฉลี่ยเลขคณิตมีค่าเท่ากับ 29.07 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 7.88 2. ร้อยละของผู้ตอบเหตุผลข้อนั้นถูกอยู่ในช่วง 26% - 82% และค่าอำนาจจำแนกอยู่ในช่วง .02 ถึง .05 3. ความเที่ยงคำนวณโดยสูตร KR-20 มีค่าเท่ากับ .85 ความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการวัดเท่ากับ 3.08 4. ความตรงเชิงทำนาย คำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันระหว่างคะแนนแบบสอบการใช้เหตุผลเชิงตรรกกับคะแนนผลสัมฤทธิ์วิชาคณิตศาสตร์ได้ค่าอยู่ระหว่าง .3069 ถึง .5778 5. ความตรงเชิงโครงสร้าง จากการวิเคราะห์ตัวประกอบได้ 2 ตัวประกอบคือ การใช้เหตุผลแบบอุปนัยและการใช้เหตุแบบนิรนัย 6. ได้เกณฑ์ปกติของคะแนนแบบสอบการใช้เหตุผลเชิงตรรก สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3
Other Abstract: The purpose of this research was to construct and develop the logical Reasoning Test for Mathayom Suksa Three students. The subjects were 1,310 Mathayom Suksa Three students in the academic year 1991 of the secondary schools in educational region 12 drawn by multi-stage sampling technique. The instrument was a logical Reasoning Test with 51 multiple choice items. The test consisted of two parts; the first part was 22-items in inductive reasoning test, and the second part was 29-items in deductive reasoning test. The data were analyzed by computer using SPSSX The findings were as follows ; 1. Mean of the test was 29.07 and the standard deviation was 7.88 2. The percentage of the correct answers renged from 26% - 82% and the item discrimination ranged from .02 to .50 3. The reliability considering the internal consistency was .85 and the standard error of measurement was 3.08 4. The predictive validity was analyzed by Pearson Product Moment Correlation. The correlation between the mathematics achievement scores and the logical Reasoning Test scores, ranged from .3069 to .5778 5. The construct validity was analyzed by the factor analysis technique. It was found that 2 factors explained the logical Reasoning abilities; inductive reasoning and deductive reasoning 6. Norm was provided in Percentile Norm.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48730
ISBN: 9745811505
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wasana_nu_front.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
Wasana_nu_ch1.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open
Wasana_nu_ch2.pdf3.82 MBAdobe PDFView/Open
Wasana_nu_ch3.pdf2.04 MBAdobe PDFView/Open
Wasana_nu_ch4.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open
Wasana_nu_ch5.pdf769.08 kBAdobe PDFView/Open
Wasana_nu_back.pdf1.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.