Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48784
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุริชัย หวันแก้ว | - |
dc.contributor.author | สมชัย สายสุขสวัสดิ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2016-06-10T07:34:52Z | - |
dc.date.available | 2016-06-10T07:34:52Z | - |
dc.date.issued | 2537 | - |
dc.identifier.isbn | 9745848808 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48784 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการปรับตัวเพื่อการดำรงชีวิตของชาวชุมชนมาบชลูดอันเนื่องมาจากผลกระทบของการพัฒนาอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลตะวันออก ด้วยการพิจารณาจากสภาพแวดล้อมของชุมชน อันได้แก่ ความใกล้กับนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ความเห็นในการเลือกประกอบอาชีพ และคุณลักษณะของตัวบุคคล อันได้แก่ ระดับการศึกษา ภูมิหลังของการขายที่ดิน ลักษณะการใช้ประโยชน์จากที่ดิน รายได้และภาวะหนี้สินของชาวชุมชน โดยลักษณะของการปรับตัวเพื่อการดำรงชีวิตนั้นจะพิจารณาจากลักษณะของการปรับตัวด้านอาชีพ ความเห็นในการเลือกประกอบอาชีพ การเห็นความสำคัญของการศึกษา รูปแบบครอบครัว ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวและเพื่อนบ้าน ซึ่งลักษณะดังกล่าวสามารถพิจารณาถึงลักษณะความเป็นชุมชนเมืองหรือชนบทได้ ในการวิจัยครั้งนี้ ทำการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากหัวหน้าครัวเรือน 160 ครัวเรือน และการสัมภาษณ์กรณีศึกษา 16 กรณี ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยมีสมมติฐานหลัก คือ ปัจจัยของสถานการณ์และปัจจัยส่วนบุคคล มีผลต่อการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของชาวชุมชนมาบชลูดที่แตกต่างกัน ผลการวิจัยพบว่าการที่ชุมชนมาบชลูดตั้งอยู่ใกล้กับนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ประกอบกับปัจจัยส่วนบุคคล ซึ่งได้แก่ ระดับการศึกษา ลักษณะการใช้ประโยชน์จากที่ดิน รายได้และภาวะหนี้สินของชาวมาบชะลูด มีผลต่อชาวมาบชะลูดในการปรับตัวเพื่อการดำรงชีวิตที่อยู่รอด โดยปัจจุบันชาวมาบชะลูดส่วนมากประกอบอาชีพนอกภาคเกษตรกรรม กล่าวคือ คนวัยหนุ่มสาวที่มีระดับการศึกษาสูง และต้องการประกอบอาชีพที่มีรายได้ดีมักจะเป็นแรงงานภาคอุตสาหกรรม ส่วนชาวมาบชะลูดโดยทั่วไป ไม่จำกัดระดับการศึกษาแต่มีความต้องต้องการประกอบอาชีพที่มีรายได้ดีมักจะเป็นแรงงานหรือผู้ประกอบการภาคบริการ จึงทำให้ชาวมาบชะลูดมีความนิยมในการประกอบอาชีพนอกภาคเกษตรกรรม ส่งผลถึงการเห็นความสำคัญของการศึกษาที่เป็นตัวกำหนดหนึ่งในการเลือกประกอบอาชีพ และมีความปรารถนาต่อรูปแบบครอบครัวของตนเป็นครอบครัวเดี่ยว ในขณะเดียวกันก็มีเวลาน้อยลงที่จะอยู่ร่วมกันในครอบครัวเป็นสิ่งที่แสดงถึงความสัมพันธ์ภายในครอบครัวและเพื่อนบ้านที่ลดน้อยลง | en_US |
dc.description.abstractalternative | The object of this research is to study livelihood adjustments of the Mab Chalood community under impacts of the Eastern Seaboard Industrial Development. Considerations are given on Situational conditions of the community namely, proximity to the Mab Tapud Industrial Estate and the nonviability of agricultural occupation and personal and family factors namely, educational attainment levels, land-selling experiences, land utilization patterns, income and debt status. Livelihood adjustments are related to factors of occupational adjustments, high educational preference, occupational preferences, family patterns, family relations and neighbor relations. The main hypothesis is that differences in situational and personal conditions have differences impacts on livelihood adjustment. Apart from questionnaire survey collected through interviews of 160 household heads, there are also 16 indepth case-studies. The findings are that the proximity factor and personal characteristics, namely, education, land utilization, income and debt status all put pressure on livelihood patterns of the members of Mab Chalood community to adjust the relatively educated younger female and male members need for higher income jobs monthly in the Industrial Estate, while others tend to go for jobs in service sector. Consequently, the community members prefer higher educational levels and nuclear family forms, while their family live and relations with neighbors have been much affected. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก | en_US |
dc.subject | การพัฒนาอุตสาหกรรม -- แง่สังคม -- ไทย | en_US |
dc.subject | การพัฒนาอุตสาหกรรม | en_US |
dc.title | ผลกระทบของการพัฒนาอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลตะวันออก ต่อการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต | en_US |
dc.title.alternative | Social impact from Eastern Seaboard industrial development to life adjustment | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | สังคมวิทยามหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | สังคมวิทยา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | [email protected] | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Somchai_sa_front.pdf | 939.96 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Somchai_sa_ch1.pdf | 3.98 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somchai_sa_ch2.pdf | 1.81 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somchai_sa_ch3.pdf | 1.16 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somchai_sa_ch4.pdf | 3.73 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somchai_sa_ch5.pdf | 6.8 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somchai_sa_ch6.pdf | 1.25 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somchai_sa_back.pdf | 1.76 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.