Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49660
Title: หลักการและกระบวนการของการเรียนรู้และการสอนตามหลักพุทธศาสตร์ : การวิเคราะห์พระไตรปิฎก
Other Titles: Principles and process of learning and teaching in Buddhism : an analysis from the Tepitaka
Authors: ไพรัช สู่แสนสุข
Advisors: เชาวเลิศ เลิศชโลฬาร
ระวี ภาวิไล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: [email protected]
ไม่มีข้อมูล
Subjects: พุทธศาสนากับการศึกษา
การเรียนรู้
พระไตรปิฎก
Buddhism and education
Learning
Tripitaka
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเอกสารตามวิธีวิจัยเชิงพรรณนา เอกสารหลักที่ศึกษาคือ พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อวิเคราะห์หลักการและกระบวนการของการเรียนรู้ของมนุษย์และเพื่อวิเคราะห์หลักการและกระบวนการของการสอนตามที่ปรากฏในพระไตรปิฎก ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ การเรียนรู้ คือ การเกิดประสบการณ์จากการเกิดผัสสะทางทวาร 6 ซึ่งมีวิญญาณเกิดขึ้นทำหน้าที่หลักในการรู้สิ่งถูกรู้ต่าง ๆ (ปรมัตถธรรม 4 และบัญญัติธรรม) กระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นอธิบายได้ด้วยกระบวนการเกิดผัสสะและวิถีจิต ผลการเรียนรู้โดยตรงคือการเปลี่ยนแปลงภายในจิตใจ การเกิดการเรียนรู้จะเกิดทีละขณะ แต่เกิดอย่างรวดเร็วและซับซ้อนอย่างมากโดยมีกระบวนการทางมโนทวารเป็นใหญ่ในการเรียนรู้ ทั้งนี้การเกิดการเรียนรู้เกิดได้หลายระดับ โดยระดับสูงสุดคือการมีปัญญารู้สิ่งต่าง ๆ ได้ถูกต้องตามความเป็นจริง (เกิดวิชชา) ทำให้สามารถจัดการแก้ปัญหาใด ๆ ได้ การเรียนรู้เป็นไปได้ด้วยดีถ้าผู้เรียนตั้งใจ มีศรัทธา เพียรพยายาม มีสติ สมาธิ และปัญญาเป็นพื้นฐาน โดยแต่ละบุคคลมีวิธีการเรียนรู้ได้แตกต่างกัน ตามความแตกต่างของบุคคล สิ่งแวดล้อมที่ดี เช่นที่มีความเป็นสัปปายะต่อการภาวนาจะส่งผลดีต่อการเรียนรู้โดยเฉพาะสิ่งแวดล้อมที่เป็นกัลยาณมิตร ส่วนการประเมินผล ผู้เรียนตรวจสอบและประเมินตนเองมีโอกาสประเมินได้ตรงตามความเป็นจริง ถ้ามีระบบวิธีการที่ดี เพราะเป็นการตรวจสอบจากผลการเรียนรู้โดยตรงซึ่งอยู่ที่ภายในจิตใจ ส่วนการที่ผู้อื่นตรวจสอบและประเมินให้เกิดจากการตรวจสอบทางอ้อม การสอนเป็นการจัดกิจกรรมทางกาย วาจาได้เหมาะสม องค์ประกอบการสอนที่สำคัญกำหนดได้ 7 อย่างคือ 1. ผู้สอนซึ่งมีบทบาทชี้แนะผู้เรียน ผู้สอนที่ดีควรมีพื้นความรู้ที่ดี มีศรัทธาต่อการสอน มีเมตตามุ่งให้ประโยชน์ผู้เรียน สอนตามลำดับ สอนอย่างมีเหตุผล 2. ผู้เรียนที่ดีควรมีความเพียร ศรัทธา และตั้งใจเรียน อย่างไรก็ตามผู้เรียนแต่ละคนจะแตกต่างกัน 3. ความมุ่งหมายการสอนเพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งในปัจจุบันภายหน้า และประโยชน์สูงสุด ทั้งส่วนด้านร่างกาย ศีล จิตใจ และด้านปัญญา 4. เนื้อหาจำเป็นต้องมีการคัดเลือกและจัดให้สอดคล้องกับความมุ่งหมาย พุทธศาสตร์สามารถสรุปขอบเขตเนื้อหาทั้งหมดลงในอริยสัจ 4 ได้ 5. บริบทแวดล้อมต้องการความเป็นกัลยาณมิตร และส่วนที่เป็นสิ่งแวดล้อมทางวัตถุจำเป็นต้องจัดการด้วยหลักสันโดษและการรู้ประมาณในการบริโภค 6. กระบวนการสอนควรจัดเป็นไปโดยลำดับ มีเหตุผล ยืดหยุ่นหลากหลาย โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง 7. การประเมินผลยึดความมุ่งหมายเป็นเกณฑ์โดยควรจะสนับสนุนให้ผู้เรียนประเมินตนเอง นอกจากหลักการสอนทั่วไปที่จัดอธิบายตามองค์ประกอบดังกล่าวแล้ว ยังสามารถกำหนดหลักการสอนอื่นได้อีก คือ 1) หลักการสอนวินัย ที่เน้นสอนแนววิธีการอยู่ร่วมกัน และ 2) หลักการสอนปฏิบัติภาวนา ที่เน้นสอนแนวการฝึกปฏิบัติพัฒนาสมาธิและปัญญา
Other Abstract: The purpose of this research study was to analyze the principles and process of human learning and teaching in Buddhism based on the Tepitaka. The analysis findings can be summarized as the followings: Learning is the experience occurred from the contact to the six senses, when the consciousness is the main mental impression of what being learnt (the Four Ultimates and Designation). The learning process can be explained by the process of cognition and mental impression. Learning is the change within mind. Learning, through the mind-door, occurs one at a time, rapid and is complicated. There are several levels of learning. The highest level is insight at which can solve any problems. Attention, faith, diligence, mindfulness, concentration, and wisdom are the bases of effective learning. Individuals have different learning styles according to learner differences. Good environment enables learning. In the higher level of learning, the learner evaluates himself /herself which yield better results because learning occurred within one’s mind. Evaluated by the other is the indirect evaluation. Teaching is systematic activities at which learners develop wisdom and good action. There are seven major teaching components : teacher, learner, purposes, content, environment, teaching process and evaluation. 1) Teacher has the role as the advisor the the learner. Good teacher should have sound knowledge, faithful to teaching, good wishes to the learner, good sequences of teaching, and be logical in teaching. 2) Good learner should be diligent, faithful, and attentive to learning. Learners are different to each other. 3) Learning purposes are aimed to present, future and ultimate goal for physical body, moral conduct, mind and wisdom. 4) Content should be selective and arranged to coincide to the purposes. Content in Buddhism can be summarized as the Four Noble Truths. 5) Social environment should be associated with virtue. Physical environment should be contentment and intelligently used. 6) Learning process should be systematic, logical, flexible, and varied. Learner should be the center of the learning process. 7) Evaluation is made in view of the purposes, and should be self-evaluation. Besides the above mention teaching components, teaching can also be identified by 1) principles of teaching the code of monastic discipline which emphasize the conduct of living together, and 2) principles of teaching the acts of meditation and contemplation for develop concentration and insight.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: หลักสูตรและการสอน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49660
ISBN: 9746365223
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pirach_su.pdf4.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.