Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49898
Title: | การปรับปรุงสมรรถนะเทคนิคการปกป้องแบบ p-Cycle สำหรับโครงข่าย WDM ที่ใช้อัตราสายผสม |
Other Titles: | Performance improvement of p-cycle protection technique for WDM networks with mixed line rates |
Authors: | พุฒิพงศ์ ศรแผลง |
Advisors: | ลัญฉกร วุฒิสิทธิกุลกิจ ภูมิพัฒ แสงอุดมเลิศ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected],[email protected] [email protected] |
Subjects: | การสื่อสารด้วยแสง การมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความยาวคลื่น Optical communications Wavelength division multiplexing |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาปัญหาการจัดสรรเส้นทางและการกำหนดอัตราบิตโดยใช้การปกป้องโครงข่ายแบบ p-cycle สำหรับโครงข่ายอัตราสายผสม (Mixed line rate: MLR) ปัญหาถูกกำหนดไว้อยู่ในรูปแบบทางคณิตศาสตร์โดยโปรแกรมเชิงเส้นแบบจำนวนเต็ม (integer linear programing) อันดับแรกได้นำเสนอการปรับปรุงเทคนิคการปกป้อง p-cycle แบบดั้งเดิม โดยใช้แต่ละ p-cycle ปกป้องเส้นทางแสงทำงานที่อัตราสายใด ๆ และเรียกเทคนิคนี้ว่าการปกป้องอัตราบิตของไซเคิลผสม จากนั้นได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างวิธีการปกป้องอัตราบิตของไซเคิลผสมและอัตราบิตของไซเคิลคงที่ ซึ่งอนุญาตให้แต่ละ p-cycle ปกป้องเส้นทางแสงทำงานที่อัตราสายคงที่ร่วมกัน ผลจากทดสอบแสดงว่าวิธีการปกป้องอัตราบิตของไซเคิลผสมมีประสิทธิภาพที่ดีกว่าสำหรับความจุการปกป้องและต้นทุนของทรานสปอนเดอร์เมื่อมีการเพิ่มขึ้นของทราฟฟิกโดยเปรียบเทียบกับวิธีการปกป้องอัตราบิตของไซเคิลคงที่ ในอันดับที่สองได้นำเสนอการกำหนดโปรแกรมเชิงเส้นแบบจำนวนเต็มแบบใหม่เพื่อแก้ปัญหาการจัดสรรเส้นทางและกำหนดอัตราบิตสำหรับโครงข่ายอัตราสายผสม โดยใช้เทคนิคการปกป้อง extended p-cycle ซึ่งเป็นการขยายการปกป้องของ p-cycle แบบดั้งเดิมและให้สมรรถนะที่สูงกว่า แนวคิดหลักของการปกป้องคือการให้ p-cycle แบบดั้งเดิมสามารถปกป้องเส้นทางแสงใด ๆ ที่ไม่เพียงแต่ปกป้องส่วนของไซเคิลหรือ straddling link เท่านั้นยังสามารถปกป้องเส้นทางหรือส่วนประกอบของเส้นทางได้อีกด้วย ผลการทดสอบแสดงว่าสมรรถนะของ extended p-cycle ให้ประสิทธิภาพสำหรับโครงข่าย WDM พร้อมกับอัตราสายผสมที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับการปกป้อง p-cycle แบบดั้งเดิม |
Other Abstract: | This thesis considers the problem of routing and rate assignment for mixed line rate (MLR) using p-cycles. The problem is formulated mathematically using integer linear programing (ILP). First, the thesis proposes a modification of the conventional p-cycle protection technique using each p-cycle to protect any working lightpath at any line rate, and refers to this case as the mixed cycle rate (MCR) approach. Then, a comparative study is performed between MCR and fixed cycle rate (FCR), which allows each p-cycle to protect working lightpaths at a common fixed line rate. The results show that MCR is more efficient in term of protection capacity as well as transponder cost as the traffic increases when compared to FCR. Second, a novel ILP formulation is proposed to solve the routing and rate assignment problem for MLR networks using extended p-cycle protection. The extended p-cycle protection is an extension of the conventional p-cycle protection, and is more efficient than the conventional p-cycle protection. The main concept is to employ conventional p-cycles, not only to protect on-cycle or straddling link, but also to provide path and segment protection. The results show that the performance of extended p-cycle protection is more efficient for WDM network with MLR than the conventional p-cycle protection. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมไฟฟ้า |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49898 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1318 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.1318 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5570320121.pdf | 2.7 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.