Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50156
Title: | การพัฒนาแบบทดสอบความสามารถในการเคลื่อนที่ตามตำแหน่งการเล่นในกีฬาฟุตบอล |
Other Titles: | A development of movement ability test for positions role in soccer |
Authors: | ปธานศาสน จับจิตร |
Advisors: | เฉลิม ชัยวัชราภรณ์ จุฑา ติงศภัทิย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา |
Advisor's Email: | [email protected],[email protected] [email protected] |
Subjects: | นักฟุตบอล ฟุตบอล -- การฝึก ฟุตบอล -- การทดสอบความสามารถ Soccer players Soccer -- Coaching Soccer -- Ability -- Testing |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแบบทดสอบความสามารถในการเคลื่อนที่ตามตำแหน่งการเล่นในกีฬาฟุตบอล และสร้างเกณฑ์มาตรฐานความสามารถในการเคลื่อนที่ตามตำแหน่งการเล่นในกีฬาฟุตบอล กลุ่มตัวอย่างนักกีฬาฟุตบอลทีมไทยพรีเมียร์ลีกปี 2556 จำนวน 6 ทีมๆ ละ 6 ตำแหน่ง การวิเคราะห์ขั้นตอนที่ 1 ทำการสรุปรูปแบบการเคลื่อนที่และระยะทางการวิ่งตามตำแหน่งการเล่นฟุตบอล ด้วยการวิเคราะห์ระยะทางการวิ่งเร็วระยะสั้นโดยใช้โปรแกรม TRAK PERFORMANCE ขั้นตอนที่ 2 ทำการสร้างเครื่องมือทดสอบความสามารถในการเคลื่อนที่ตามตำแหน่งการเล่นในกีฬาฟุตบอล จากการศึกษาค้นคว้ารูปแบบการเล่นฟุตบอลตามตำแหน่งต่างๆ ผนวกกับผลการวิเคราะห์ในขั้นตอนที่ 1 มาสร้างแบบทดสอบภาคสนาม 3 แบบทดสอบ ได้แก่ แบบทดสอบความสามารถในการเคลื่อนที่ของ 1)ตำแหน่งกองหน้า 2) ตำแหน่งกองกลางตัวรับและเซ็นเตอร์แบ็ค และ 3) ตำแหน่งกองกลางตัวซ้าย-ขวาและแบคซ้าย-ขวา โดยวัดความสามารถของนักกีฬาฟุตบอลด้านความเร็ว ความแคล่วคล่องว่องไว และความอดทนแบบพิเศษ ในคราวเดียวกัน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ( Pearson’s Product Moment Correlation) และ One-way ANOVA ซึ่งพบว่า การหาความตรง ( Validity ) ของแบบทดสอบทั้ง 3 แบบนี้ เปรียบเทียบกับ ความเร็ว ความแคล่วคล่องว่องไว และอดทนแบบพิเศษอยู่ในระดับ ดี และดีมาก ในขณะที่ ความเที่ยง (Reliability ) อยู่ในระดับ ดี และดีมาก และความเป็นปรนัย ( Objectivity ) อยู่ในระดับ ยอมรับ และดี รวมทั้งความแตกต่างระหว่างความสามารถในการเคลื่อนที่ตามตำแหน่งการเล่นในกีฬาฟุตบอล มีความนัยสำคัญที่ระดับ .05 ขั้นตอนที่ 3 ทำการสร้างเกณฑ์มาตรฐานความสามารถในการเคลื่อนที่ตามตำแหน่งการเล่นในกีฬาฟุตบอล โดยใช้แบบทดสอบที่สร้างขึ้น กับนักกีฬาฟุตบอลทีมไทยพรีเมียร์ลีกดีวีชั่น 1 และดีวีชั่น 2 จำนวน 360 คน ประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมของการวิจัยนี้ คือแบบทดสอบภาคสนามที่มีความแม่นยำและเชื่อถือได้ รวมทั้งเกณฑ์มาตรฐาน ที่ใช้ในการประเมินและจำแนกความสามารถตามตำแหน่งการเล่นของนักกีฬาฟุตบอล และจับคู่สมรรถนะพิเศษส่วนบุคคลให้เข้ากับตำแหน่งการเล่นที่เหมาะสม และวางแผนการฝึกซ้อมพิเศษเฉพาะเพื่อเสริมสร้างไปสู่วิถีอาชีพที่ดีที่สุดในอนาคต |
Other Abstract: | The purposes of this research were to develop soccer position-specific movement ability test protocols and establish their norms. Samples were six different position soccer players per team from six Thai Premier League 2013 teams. The first step was to identify position-specific movement patterns and their corresponding running distances analyzed by TRAK PERFORMANCE software. The second step was to develop soccer position-specific movement ability test protocols by integrating typical soccer position-specific movement patterns and analysis results from the first step into three test protocols for 1) Attackers, 2) Central Midfielders and Central Defenders and 3) Wide Midfielders and Full Back, with respect to their abilities in speed, agility and speed endurance simultaneously. Analyses were made by using Pearson’s Product Moment Correlation and One-way ANOVA and it was found that the validity of these 3 test protocols with respect to speed, agility and speed endurance were “good” and “very good”, whereas the reliability with respect to same were “good” and “very good”, while the objectivity were “acceptable” and “good”. And the movement ability differences among positions were statistically significant at .05 level. The third step was to establish soccer position-specific movement ability norms from 360 Division I and Division II Thai Premier League soccer players.The usefulness and practicality of this research are accurate and reliable field test protocols and norms which can be used to assess and discriminate position-specific movement ability among soccer players and match individual salient performance characteristics to appropriate playing position, and plan proper specific training to enhance their best possible career in the future. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์การกีฬา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50156 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.896 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.896 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Spt - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5378955039.pdf | 7.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.