Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50251
Title: การศึกษาการถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ร่วมกับการใช้สารเพิ่มความชัดภาพ และการกำเนิดหลอดเลือดในเนื้องอกช่องปากของสุนัข
Other Titles: THE STUDY OF COMPUTED TOMOGRAPHIC CONTRAST ENHANCEMENT AND TUMOR ANGIOGENESIS IN CANINE ORAL TUMORS
Authors: อุราภา กลั่นเสนาะ
Advisors: แนน ช้อยสุนิรชร
วิจิตร บรรลุนารา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
[email protected],[email protected]
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาระดับการเพิ่มขึ้นของสารเพิ่มความชัดภาพในภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ เปรียบเทียบกับระดับความหนาแน่นของหลอดเลือดขนาดเล็กเพื่อประเมินความรุนแรงของเนื้องอกช่องปากของสุนัขจากสุนัขป่วยตัวอย่างจำนวน 20 ตัว คละเพศ สุนัขมีอายุระหว่าง 8 ปีถึง 17 ปี น้ำหนักตัวอยู่ระหว่าง 3.6 กิโลกรัมถึง 40 กิโลกรัม พบเนื้องอกช่องปาก 4 ชนิด ได้แก่ มะเร็งเม็ดสี 13 ตัว มะเร็งเซลล์สความัสเซลล์ 4 ตัว และมะเร็งเส้นใย 3 ตัว พบว่าสารเพิ่มความชัดภาพเดินทางไปถึงจุดสนใจใช้เวลามากในสุนัขที่มีน้ำหนักตัวมาก โดยระยะเวลาที่สารเพิ่มความชัดภาพเดินทางไปถึงจุดสนใจมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับน้ำหนักตัวสุนัขอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) บริเวณเนื้อเยื่ออ่อนเนื้องอกมีค่าเฉลี่ยความหนาแน่นรังสีภายหลังการฉีดสารเพิ่มความชัดภาพเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 127.09 ± 38.58 โดยกลุ่มมะเร็งเซลล์สความัสมีค่าความหนาแน่นรังสีบริเวณเนื้อเยื่ออ่อนของเนื้องอกหลังฉีดสารเพิ่มความชัดภาพเพิ่มขึ้นมากที่สุด รองลงมาคือกลุ่มมะเร็งเม็ดสี และกลุ่มมะเร็งเส้นใย คือเฉลี่ยร้อยละ 161.88 ± 23.47, 122.78 ± 37.90 และ 99.37 ± 31.58 ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานความหนาแน่นของหลอดเลือดขนาดเล็กบนเนื้อเยื่อตัวอย่างจากสุนัขตัวอย่างทั้งหมดมีค่าเท่ากับ 36.9 ± 11.7 หลอดเลือดต่อตารางมิลลิเมตร ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือกลุ่มมะเร็งเซลล์สความัสรองลงมาคือกลุ่มมะเร็งเม็ดสี และกลุ่มมะเร็งเส้นใยคือ 47.58 ± 5.37, 35.38 ± 11.64 และ 27.23 ± 6.59 หลอดเลือดต่อตารางมิลลิเมตร ตามลำดับ พบว่าค่าร้อยละความหนาแน่นรังสีที่เพิ่มขึ้นมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความหนาแน่นของหลอดเลือดขนาดเล็กบนเนื้อเยื่อตัวอย่างอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.01)
Other Abstract: The correlation between intratumoral post-contrast houndfield unit (HU) enhancement on dynamic computed tomography (CT) and microvessel density (MVD) in canine oral tumor for predicting the tumor malignancy was investigated. Among 20 dogs with oral tumors of which age ranging from 8 to 17 years old and weight ranging from 3.6 to 40 kilograms, there were 13 dogs affected with melanoma (MM), 4 dogs affected with squamous cell carcinoma (SCC), 3 dogs affected with fibrosarcoma. The duration starting since contrast medium had injected until the contrast medium returned to the mid cervical external jugular vein was significantly correlated to the body weight (p < 0.01). The increased percentage of intratumoral HU at post-contrast enhancement was 127.09 ± 38.58 which the maximal HU was detected in SCC (161.88 ± 23.47), following by MM (122.78 ± 37.90) and fibrosarcoma (99.37 ± 31.58), respectively. The MVDs of overall tumors were 36.9 ± 11.7 vessel per millimeter2 which the maximal value was detected in SCC (47.58 ± 5.37 vessel per millimeter2) following by MM (35.38 ± 11.64 vessel per millimeter2) and fibrosarcoma (27.23 ± 6.59 vessel per millimeter2), respectively. The increase of intratumoral MVD was significantly correlated to the increase of intratumoral HU on post-contrast CT enhancement (p < 0.01)
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศัลยศาสตร์ทางสัตวแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50251
Type: Thesis
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5575324631.pdf3.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.