Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50280
Title: การนําเสนอรูปแบบการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือและการจัดการความรู้เป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะทางปัญญา
Other Titles: A proposed model of health education learning management using collaborative learning and knowledge management to enhance cognitive skills
Authors: เกษม ชูรัตน์
Advisors: เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์
ธำรงค์ อุดมไพจิตรกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: [email protected],[email protected]
[email protected]
Subjects: สุขศึกษา -- การศึกษาและการสอน
การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
การบริหารองค์ความรู้
Health education -- Study and teaching
Participatory learning
Knowledge management
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) นำเสนอรูปแบบการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือและการจัดการความรู้เป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะทางปัญญา และ 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือและการจัดการความรู้เป็นฐานที่มีต่อการพัฒนาทักษะทางปัญญา ขั้นตอนการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ 1) การสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือและการจัดการความรู้เป็นฐาน และ 2) การประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ทดลองเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรามคำแหง จำนวน 30 คน ดำเนินการทดลองเป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์ โดยมีการทดสอบทักษะทางปัญญาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษาด้านความรู้ เจตคติและการปฏิบัติ ก่อนและหลังการทดลอง นำข้อมูลที่ได้มาหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยด้วยค่า “ที” และประเมินประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ (Efficiency) ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือและการจัดการความรู้เป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะทางปัญญา ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) แนวคิดและหลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ และ 4) การประเมินการเรียนรู้ ซึ่งกระบวนการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การทำงานเป็นกลุ่มย่อย 2) การแบ่งกลุ่มคละความสามารถ 3) การร่วมมือและช่วยเหลือกัน 4) การจัดกิจกรรมเน้นความรับผิดชอบและมีเป้าหมายการทำงานร่วมกัน 5) การคิดและการทำงานร่วมกันในกลุ่ม 6) การจัดการทรัพยากรความรู้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 7) มีการจัดกระบวนการในการสร้างและรวบรวมความรู้ และ 8) การให้คุณค่าแก่ทรัพยากรความรู้ โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องโดยรวมเท่ากับ 0.92 และผลการประเมินประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้อยู่ในเกณฑ์ 81.11/80.8 2. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือและการจัดการความรู้เป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะทางปัญญา พบว่า 2.1 กลุ่มทดลองมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะทางปัญญาสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 กลุ่มทดลองมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษาสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this research were; 1) to propose model of health education learning management using collaborative learning and knowledge management to enhance cognitive skills and 2) to examine the efficiency of the model of health education learning management using collaborative learning and knowledge management to enhance cognitive skills. The study was divided into two phases. The first phase was to study and develop the model of health education learning management using collaborative learning and knowledge management to enhance cognitive skills. The second phase was to examine the efficiency of health education learning management model. The participants were 30 undergraduate students from Ramkhamhaeng University. The Experiment was conducted over a period of 10 weeks. Data were collected before and after experiment, analyzed by using mean, standard deviation, t-test and also evaluated the efficiency of health education learning management model. The following research findings were: 1. The model of health education learning management using collaborative learning and knowledge management to enhance cognitive skills consisted of 4 components: i.e., 1) Principles and Concepts, 2) Objectives, 3) Learning process, and 4) Learning assessment. The learning process steps were composed of 8 steps:, 1) Group working 2) Mixed ability segmentation 3) Cooperation 4) Activities focus on responsibility and collabolation 5) Thinking and group working 6) Organizing knowledge resources for the most benefit 7) Managing the processes of creating and knowledge collection and 8) Valuable the knowledge resources. The model had an aggregate IOC (Item Objective Congruence) of 0.92 and 81.11/80.8 efficiency criterion of health education learning management. 2. The results of the effectiveness of the health education learning management model using collaborative learning and knowledge management to enhance cognitive skills were found as follows : 2.1 Mean scores of cognitive skills were higher significantly than before experiment at the .05 level. 2.2 Mean scores of Health Education Achievement (Knowledge, Attitudes and Practice) were higher significantly than before experiment at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: สุขศึกษาและพลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50280
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1161
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.1161
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5584202127.pdf4.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.